หุ่นยนต์ไม้ไผ่


652 ผู้ชม


หุ่นยนต์ไม้ไผ่ที่ไม่ใช่ไม้ไผ่ธรรมดา แต่สามารถนำพากระบวนการคิดเข้าสู่ห้องเรียนได้เป็นอย่างดี   

หุ่นยนต์ไม้ไผ่ให้อะไรกับเด็ก

        ถ้าพูดถึงคำว่า "หุ่นยนต์" คนเรามักจะนึกถึงหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำงานเลียนแบบมนุษย์ และจินตนาการถึงหุ่นยนต์ที่เดินได้ วิ่งได้ พูดได้ ที่มีโครงสร้างที่ทำจากวัสดุที่แข็งแรงสวยงาม แต่จากการที่ได้ไปเห็นผลงานหุนยนต์ที่ทำจากไม้ไผ่โดยฝีมือเด็กนักเรียนที่มาจากโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลความเจริญได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์จากไม้ไผ่และสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง ถึงแม้จะเป็นเพียงการเริ่มต้นอย่างง่ายๆ แต่ลึกๆลงไปแล้วเด็กเหล่านั้นเขาได้อะไรจากการประดิษฐ์หุ่นยนต์ไม้ไผ่

หุ่นยนต์ไม้ไผ่

ภาพประกอบจาก : เดลินิวส์ออนไลน์ 

        นักเรียน จากโรงเรียน ตชด.ศรีสมวงศ์ จ.เชียงราย โชว์ผลงานหุ่นยนต์ไม้ไผ่สู่การเรียนรู้ ในส่วนของนิทรรศการในงานประชุมวิชาการประจำปี 2552 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ซึ่งเรียกความสนใจจากผู้เข้าชมงานเพราะเป็นโครงการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคนิคการสร้างหุ่นยนต์อย่างง่ายตามจินตนาการและใช้อุปกรณ์ในท้องถิ่น ประดิษฐ์ออกมาเป็นหุ่นยนต์รูปแบบต่างๆ เช่นหุ่นยนต์เก็บขยะ ห่นยนต์ลากซุง [ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ 16 มีนาคม 2552]

แนวคิดในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผ่านสื่อหุ่นยนต์

        นักเรียนมีความรู้  ความสามารถพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และด้านวิศวกรรม  มีความคิดสร้างสรรค์  ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์  สามารถควบคุมหุ่นยนต์  ฝึกการใช้ทักษะต่าง ๆ  ในการแก้ปัญหา  นำทักษะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  และการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
        นักเรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมการออกแบบหุ่นยนต์ตามความสนใจ  เน้นทักษะกระบวนการกลุ่ม  ครูเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนหรือเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น  นักเรียนต้องฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองตามสถานการณ์  จากการลองผิดลองถูก  หรือจากครูที่ปรึกษา  ทำให้นักเรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหา  เกิดการสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยมาเอง  ตามแนวคิดของทฤษฎี  Constructionism

กระบวนการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อหุ่นยนต์

        1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม 
            - ครูกระตุ้น
            - นักเรียนตั้งสมมติฐาน  ตั้งคำถามและคิดทบทวนว่าความรู้เดิมของตนคืออะไร
              (ความรู้เดิมเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ใหม่)
        2. ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน
            - นักเรียนระดมสมอง
            - มีการเรียนรู้ร่วมกัน
              (ครูต้องเน้นกิจกรรมที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ)
        3. ขั้นนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
            - นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  เป็นการแสดงผลของการเรียนรู้และผลของกระบวนการคิด  นักเรียนได้มีการแสดงออกโดยการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน
        4. ขั้นปรับปรุงและพัฒนาผลงาน
            - หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนแล้ว  นักเรียนก็จะนำสิ่งที่ได้รับมาประชุม ปรึกษา ปรับปรุง  สร้างและพัฒนาความรู้ขึ้นมาใหม่  นักเรียนจะเกิดความคิดที่ลึกซึ้ง  เกิดการคิดวิเคราะห์และหาทางพิสูจน์ความคิดของตนให้ได้
        5. ขั้นนำเสนอผลงานที่ได้ปรับปรุงพัฒนา
            - นักเรียนจะนำเสนอผลงานที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาแล้ว  โดยมีครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมประเมิน  โดยใช้แบบประเมินที่ครูและนักเรียนจัดทำร่วมกัน
        6. ขั้นสรุปองค์ความรู้
            - นักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการนำเสนอผลงานของตนเองและของเพื่อนลงในสมุดบันทึกและเพิ่มเติมความคิดหรือคำถามที่ตนเองสงสัยลงไปเพื่อนำไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

        1. การสร้างหุ่นยนต์ฝึกทักษะอะไรให้กับเด็กนักเรียน
        2. เด็กนักเรียนได้ฝึกคิดจากการทำหุ่นยนต์จริงหรือไม่

กิจกรรมเสนอแนะ

       1. ควรให้เด็กนักเรียนได้ร่วมกำหนดปัญหาและแก้ปัญหาร่วมกัน
       2. ครูต้องไม่เป็นแต่เพียงผู้สอนควรร่วมกันเรียนรู้กับนักเรียน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

        สามารถบูรณาการความรู้เข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และบูรณาการในกลุ่มสาระเดียวกัน

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ

https://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/constructionism/constructionism2.html
https://gotoknow.org/blog/gasama/147804
https://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=193502&NewsType=1&Template=1

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=303

อัพเดทล่าสุด