ใครอ้างอิงข้อมูลจากวิกีพีเดียเข้าอ่านซักนิด


644 ผู้ชม


นายเชน ฟิตซ์เจอรัล วัย 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้านสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย" คอลเลจ ดับลิน" เขาได้เจตนาเข้าไปป้อนข้อมูลผิดๆในเว๊ปไซต์เอนไซโครปิเดียออนไลน์ "วิกิพีเดีย" ซึ่งมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับได้นำไปอ้างอิง   
              หนังสือพิมพ์"เดอะ ไอริช ไทมส์" รายงานเมื่อวันตามเวลาท้องถิ่น โดยอ้างการเปิดเผยของนายเชน ฟิตซ์เจอรัล วัย 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้านสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย" คอลเลจ ดับลิน" ที่ว่า เขาได้เจตนาเข้าไปป้อนข้อมูลผิดๆในเว๊ปไซต์เอนไซโครปิเดียออนไลน์ "วิกิพีเดีย" โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง ระหว่างที่เขากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับ"โลกาภิวัฒน์" และรู้สึกช็อคกับผลการทดลอง เพราะพบว่าถ้อยคำอ้างอิงที่เขาแต่งขึ้นเอง แต่ระบุว่าเป็นคำพูดของนายมอริส จาร์ นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส เจ้าของรางวัลออสการ์ ผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนมีนาคม ได้ถูกนำไปใช้อ้างอิงในข่าวมรณะกรรมของนายจาร์ ตามหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ในอังกฤษ อินเดีย และออสเตรเลีย 
               นายฟิตซ์เจอรัลกล่าวว่า เขาได้เลือกโพสต์ข้อความที่เขาแต่งขึ้นเองในเว๊ปไซต์"วิกิพีเดีย" เพราะเห็นว่าเป็นเว๊ปไซต์ที่ได้รับความนิยมจากผู้สื่อข่าว และเป็นเว๊ปไซต์ที่ใครๆก็สามารถเข้าไปแก้ไขหรือโพสต์ข้อความเพิ่มเติมได้ โดยเขาได้เข้าไปโพสต์ในช่วงไม่นานหลังจากนายจาร์เสียชีวิตอ้างว่านายจาร์เคยพูดไว้ว่า " อาจพูดได้ว่าชีวิตของผมเหมือนกับแผ่นซาวแทร็คขนาดยาวแผ่นหนึ่ง ดนตรีคือชีวิตของผม ดนตรีทำให้ผมมีชีวิต เพราะดนตรีจะช่วยให้ผมเป็นที่จดจำไปอีกนานหลังจากเสียชีวิต เมื่อผมเสียชีวิต ในหัวผมจะมีเพลงวอลซ์ที่มีเพียงผมคนเดียวที่ได้ยิน บรรเลงเป็นครั้งสุดท้าย"
             นายฟิจซ์เจอรัลยอมรับว่าได้ใช้คงวามระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะตะหนักดีเรื่องจริยธรรมที่จะใช้การเสียชีวิตของคนอื่นในการทดลองทางสังคมของตนเอง โดยเขาได้เลือกแต่งคำพูดของจาร์อย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้บิดเบือนหรือสร้างความเสื่อมเสียให้นายจาร์ เขาคาดว่าคงมีแต่บล๊อคกับเซ๊ปไซต์ต่างๆนำไปอ้างอิง แต่ต้องแปลกใจที่มันถูกใช้โดยหนังสือพิมพ์คุณภาพกระแสหลัก และหลายสัปดาห์หลังจากนั้น ก็ยังไม่มึใครรู้ความจริง ทำให้เขาส่งอีเมล์ถึงหนังสือพิมพ์ที่นำไปใช้ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้ตีพิมพ์ข้อความที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง พร้อมลบข้อความที่ใส่ไว้ออกจาก"วิกิพีเดีย" 
             "เดอะ ไอริช ไทมส์" รายงานว่า แม้หนังสือพิมพ์บางฉบับจะถอนคำอ้างอิงผิดๆออกจากเว๊ปไซต์ หรือแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ก็ยังมีบล็อก เว๊ปไซต์และหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับที่ยังไม่ได้แก้ไข  [ข่าวด่วน Breaking  new  7 พค. 2552 07:07 น.]
     จากข่าวข้างต้นอ่านแล้วก็ตกใจเหมือนกัน  เพราะผู้เขียนชอบใช้บริการของวิกิพีเดียทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จึงยิ่งทำให้มองเห็นว่าการนำเสนอข่าวและความรู้ในทุกวันนี้ต้องใช้วิจารณญาญในการนำข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมาใช้  คงต้องยึด
หลักพระพุทธศาสนาแล้วว่า จงอย่าเชื่อ ใน 10 อย่างต่อไปนี้ 1.อย่าเชื่อ  1.อย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา  2.อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา   3.อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินอย่างนี้ๆ  4.อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา  5.อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา
6.อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน   7.อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ  8. อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันลัทธิของตน   9.อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า  ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้  10.อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า  สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา     [พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 338 ๕.กาลามสูตร (เกสปุตตสูตร) อ้างอิง https://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=12148
)
 อารัมภบทมาตั้งนานกลับมาสู่เนื้อหากันก่อนน่ะ  (นอกเรื่องทีไรนักเรียนให้ความสนใจมากกว่าเนื้อหาที่ครูจะสอนอีก จริงไหมา!) 
2. ประเด็นจากข่าว
   2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
   2.2 ประเภทของข้อมูล
   2.3 วิธีการประมวลผลข้อมูล
   2.4    การจัดการสารสนเทศ     
3. เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี   ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่  4
4. เนื้อเรื่อง
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
            ข้อมูล  คือ    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นข้อความ  ตัวเลข หรือภาพก็ได้  ข้อมูลควรจะเป็นสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นความจริง
          สารสนเทศ  คือ   ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว  ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ 
 
สารสนเทศที่ดีจะต้องได้จากข้อมูลที่ดี  คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี มีดังนี้           
           1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง
หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้าง ข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
         2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้
         3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำ
สารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
         4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิว
เตอร์
        5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์
การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
ประเภทของข้อมูล
          
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
          
          1. ข้อมูลปฐมภูมิ  เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก เช่น การสอบถามอายุของเพื่อน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่  เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
          2. ข้อมูลทุติยภูมิ  เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว  ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้อง ไปสำรวจเอง  เช่น  ข้อมูลสถิติต่าง ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว  เช่น  สถิตจำนวนประชากร  สถิติการส่งสินค้าออก  สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้นำไปใช้งาน ได้ต่อไป 
 
 
การประมวลผลข้อมูล
           
การประมวลผลข้อมูล คือ   การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ  เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า "สารสนเทศ " 
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี
           1.  การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข  การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก  และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
           2.  การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing)  เช่น  เครื่องทำบัญชีด้วยบัตรเจาะรู   การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง  ที่มีข้อมูปริมาณปานกลาง  และต้องการความเร็วในการทำงานปานกลาง
               3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) ซึ่งหมายถึง  เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์  คือ  งานที่มีปริมาณมากๆ  ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว  มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ กัน  และมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล หรือขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้         
          1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input) : การลงรหัส , การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล , การแยกประเภทข้อมูล , การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
          2. ขั้นการประมวลผล (Processing) : การคำนวณ , การเรียงลำดับข้อมูล , การดึงข้อมูลมาใช้ , การรวมข้อมูล
          3. ขั้นการแสดงผลลัพธ์ (Output) : ผลสรุปรายงาน 
 
วิธีการประมวลผล
วิธีการประมวลผล แบ่งตามระยะเวลาออกได้เป็น 2 วิธี 
        1. การประมวลผลแบบแบทซ์ หรือแบบกลุ่ม (Batch Processing)
               เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงจะประมวลผลได้ เช่น การคิดเกรด ต้องเก็บรวบรวมคะแนนตั้งแต่ต้นเทอม จนถึงปลายเทอม แล้วจึงทำการรวบรวมประมวลผลได้เป็นเกรดตอนปลายเทอม
        2. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Online Processing)
            เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด ไม่ต้องรอระยะเวลา เช่น การถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็ม ไม่ต้องรอนาน เครื่องจะทำการจ่ายเงินออกมาทันที     [อ้างอิงจาก https://www.ds.ru.ac.th/Test1/Aj_palida/E-learning/Unit2/computer_ITunit2.htm]
    
ประเภทของข้อมูล
          
     ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
          
          1. ข้อมูลปฐมภูมิ  เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก เช่น การสอบถามอายุของเพื่อน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่  เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
          2. ข้อมูลทุติยภูมิ  เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว  ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้อง ไปสำรวจเอง  เช่น  ข้อมูลสถิติต่าง ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว  เช่น  สถิตจำนวนประชากร  สถิติการส่งสินค้าออก  สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้นำไปใช้งาน ได้ต่อไป 
 
การประมวลผลข้อมูล
 
           
การประมวลผลข้อมูล คือ    การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ  เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ที่เรียกว่า "สารสนเทศ " 
วิธีการประมวลผล จำแนกได้ 3 วิธี
           1.  การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เช่น ใช้ลูกคิด , เครื่องคิดเลข  การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก  และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
           2.  การประมวลผลด้วยเครื่องจักร (Mechanical Data Processing)  เช่น  เครื่องทำบัญชีด้วยบัตรเจาะรู   การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง  ที่มีข้อมูปริมาณปานกลาง  และต้องการความเร็วในการทำงานปานกลาง
               3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) ซึ่งหมายถึง  เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์  คือ  งานที่มีปริมาณมากๆ  ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว  มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำๆ กัน  และมีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล หรือขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้         
          1. ขั้นเตรียมข้อมูล (Input) : การลงรหัส , การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล , การแยกประเภทข้อมูล , การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
          2. ขั้นการประมวลผล (Processing) : การคำนวณ , การเรียงลำดับข้อมูล , การดึงข้อมูลมาใช้ , การรวมข้อมูล
          3. ขั้นการแสดงผลลัพธ์ (Output) : ผลสรุปรายงาน  (อ้างอิง https://www.ds.ru.ac.th/Test1/Aj_palida/E-learning/Unit2/computer_ITunit2.htm]
สารสนเทศสามารถแบ่งแยกประเภทออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้
          1. สารสนเทศที่ทำประจำ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานรายรับรายจ่ายประจำวันของโรงเรียน
          2. สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย เช่น การทำบัญชีงบดุลของบริษัทที่ต้องยื่นต่อทางราชการ  และเพื่อใช้ในการเสียภาษี 
          3. สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เช่น รายงานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
       ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง  ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ  
                  
             1. บุคลากร  
             2. ขั้นตอนการปฏิบัติ
             3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
             4. ซอฟต์แวร์
             5. ข้อมูล 
5. ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
    5.1  เราจะทราบได้อย่างไรว่าข้อมูลที่นักเรียนสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตสามารถนำไปใช้ได้เลย
    5.2  นักเรียนมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเลือกข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
    
    
6. กิจกรรมเสนอแนะ
    6.1  นักเรียนศึกษาข้อมูลตัวอย่างและรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือแบบเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ  ระดับช่วงชั้น  4-6
    6.2  ดาวน์โหลดสื่อการเรียนการสอนมาศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซต์    
7. การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
    7.1 สาระการเรียนรุ้ภาษาไทย  เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
    7.2 สาระการเรียนรู้่วิทยาศาสตร์  การนำข้อมูลมาใช้อย่างมีเหตุและผล
8. อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
    8.1 KT//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=378994&lang=&cat=
    8.2 https://www.ds.ru.ac.th/Test1/Aj_palida/E-learning/Unit2/computer_ITunit2.htm 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=360

อัพเดทล่าสุด