เตรียมพบการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ชิงแชมป์ประเทศไทยเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่ทีมเด็กไทยไปแข่งฟุตบอลหุ่นยนต์ชิงแชมป์โลก Robocup มาตั้งแต่ปี 2545 จนได้แชมป์โลกในรุ่น small size ไปในปีที่แล้ว ล่าสุดซีเกท, สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยและเนคเทคก็ตัดสินใจ ผลักดันวงการวิชาการด้านหุ่นยนต์ของไทยให้ก้าวไปอีกระดับ โดยจะจัด การแข่งขันแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ ฮิวแมนนอยด์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นลีคการแข่งขันที่ใหญ่ขึ้น ใช้ความรู้ด้านเทคนิคที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นกว่าหุ่นยนต์ลีค small size ที่เคยจัดแข่งมาก่อนหน้านี้ จากการอ่านเรื่องนี้ ทำให้รู้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก ถ้าใครไม่ติดตาม อาจจะกลายเป็นคนตกยุคไปก๋ได้ ดังนั้นเรามาเรียนรู้หรือศึกษาเกี่ยวกับ หุ่นยนต์กันดีกว่า ว่าคืออะไร ทำงานได้อย่างไร... สอดคล้องกับสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มาตรฐานที่ ง 4.1 เข้าใจคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงานและ อาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม นักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 3 หุ่นยนต์ หรือ โรบอต (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะ โครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่ การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุม ระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดย ทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มี ความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจ ดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ใน ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมี การนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่ หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์จนกระทั่ง ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ ในชีวิตระจำวัน หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์2. หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้ง อยู่กับที่ เพราะสามารเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อหรือการใช้ขา ซึ่งหุ่นยนต์ประเภทนี้ปัจจุบันยังเป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาอยู่ภายในห้องทดลอง เพื่อพัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่นหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร ขององค์การนาซ่า ปัจจุบันมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เพื่อให้มาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ IBO ของบริษัทโซนี่ หรือแม้กระทั่งมีการพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่แบบสองขาได้อย่างมนุษย์ เพื่ออนาคตจะสามารถนำไปใช้ในงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายแทนมนุษย์ ในประเทศไทย สถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งหรือองค์กรของภาครัฐ และเอกชน ได้เล็งเห็นถึงประโยนช์ของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และร่วมเป็นแรงผลักดันให้เยาว์ชนในชาติ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการจัดให้มีการแข่งขันหุ่นยนต์ขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เพื่อให้นักศึกษาได้สามารถ นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานได้ เป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาประเทศในอนาคต กลับด้านบน แหล่งที่มาของภาพ พัฒนากระบวนการคิด หุ่นยนต์คืออะไร และสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างไร บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อุตสาหกรรม แหล่งที่มาของข้อมูล วิกิพีเดีย ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ทั้งนี้ทุกทีมที่สมัครเข้าร่วม การแข่งขันต้องเข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อคัดเลือก ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย โดยจะประกาศผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2552 และแข่งรอบชิงชนะเลิศ ประเทศไทย ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553 สามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันโดยการดาวน์โหลด ใบสมัคร และดูกติกา รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.trs.or.th ชิงแชมป์ประเทศไทยที่จะมีขึ้นเร็ว ๆ นี้ ผู้ที่สนใจในการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ อ่านต่อ.. ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=418 |