เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้


1,549 ผู้ชม


ไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่ง หรือตัดทิ้งนำมาเพาะเห็ดหูหนูเผือกได้   

การเพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

       เห็ดหูหนูเผือก  เหมือนกับเห็ดหูหนูดำ เพียงแต่ดอกเห็ดสีขาว สามารถนำมาเพาะในไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้แค  ไม้มะม่วง ไม้นุ่น ไม้ขนุน  ไม้ปอกระสา เป็นต้น

       วิธีการเพาะ  ทำได้โดยการตัดท่อนไม้ให้มีขนาดความยาว 1 เมตร เจาะรูท่อนไม้ด้วยสว่านไฟฟ้า ขนาดดอกสว่าน 4 หุน ระยะห่างระหว่างรู 15 ซม. เจาะ 4-6 แถวแล้วแต่ขนาดของท่อนไม้ นำเชื้อเห็ดหูหนูมาใส่ให้เต็มรูที่เจาะ  ปิดรูด้วยจุกพลาสติก แล้วนำท่อนไม้ไปพักไว้ในที่ร่ม 1 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วนำท่อนไม้มาแช่น้ำ 1 คืน นำเข้าโรงเพาะเห็ด รดน้ำเช้า เย็น เห็นหูหนูจะชอบความชื้นสูงมาก เห็ดจะงอกภายในเวลา 15 วัน ท่อนไม้ 200 ท่อนจะเก็บเห็ดหูหนูได้ประมาณ  30-50 กก./สัปดาห์  ระยะเวลาที่ออกดอกมากกว่า 1 ปี

       การบริโภค  เห็ดหูหนูเผือกนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่นแกงจืดวุ้นเส้น  ยำ  ผัดผัก  ไก่ผัดขิง  กระเพาะปลา ฯลฯ

       ประโยชน์ เห็ดหูหนูเผือกจะแก้ร้อนใน

       สิ่งที่ต้องระวัง  ไม้ที่ใช้เพาะเห็ด  ควรจะเป็นไม้จากการตัดแต่งกิ่ง หรือต้นไม้ที่จะตัดทิ้ง  ไม่ควรตัดไม้ในป่ามาเพาะเห็ด เพราะจะเป็นการทำลายป่า ต้นน้ำลำธาร

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

ตัดท่อนไม้มะม่วง ยาว 1 เมตร

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

เจาะรูท่อนไม้ด้วยสว่าน 4 หุน

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

กรอกเชื้อเห็ดให้เต็มรูที่เจาะ

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

ปิดรูด้วยจุกพลาสติกให้แน่น

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

พักท่อนไม้ไว้ในที่ร่ม 1 เดือน

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

เมื่อครบ 1 เดือน นำท่อนไม้มาแช่น้ำ 1 คืน

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

นำท่อนไม้เข้าโรงเพาะเห็ด

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

รดน้ำเช้าเย็น หรือมากกว่านั้น

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

เห็ดหูหนูเผือกเริ่มออกดอก

เพาะเห็ดหูหนูเผือกในท่อนไม้

เก็บดอกเห็ดหูหนูเผือกได้ทุกวัน

      ข้อดีของการเพาะเห็ดในท่อนไม้ เมื่อเทียบกับการเพาะเห็ดในถุงก้อนเชื้อเห็ด คือ     

     (1) เพาะได้ในไม้เกือบทุกชนิด 

     (2) อายุการเก็บดอกเห็ดจะเก็บดอกเห็ดได้นานกว่า

     (3) ลงทุนน้อยกว่า

     (4) ผลผลิตสูงกว่า

     (5) นำไม้ที่จะตัดทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน 

1. ในหมู่บ้านของนักเรียนมีไม้อะไรที่จะนำมาเพาะเห็ดได้บ้าง

2. จะเกิดผลเสียอย่างไรหากตัดไม้ในป่ามาเพาะเห็ด 

กิจกรรมเสนอแนะ

  นักเรียนควรปรึกษากับครูเกษตรเรื่องการทำโครงการเพาะเห็ดในโรงเรียน

 การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา  เรื่อง  ประโยชน์ของการบริโภคเห็ด

   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง ชีววิทยาของเห็ด

หนังสืออ้างอิง

     เขียนจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนที่เพาะเห็ดมามากกว่า 30 ปี

 ภาพประกอบ  ถ่ายเอง

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=447

อัพเดทล่าสุด