จุดประสงค์เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการประกอบหุ่นยนต์และออกแบบหุ่นยนต์ตามจินตนาการได้
สัปดาห์ก่อนมีโอกาสไปอบรมที่ โรงแรมรอยัลเจมส์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา วิทยากรหยิบหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งขึ้นมา และบอกผู้เข้ารับการอบรมว่า ตอนนี้มีครูหุ่นยนต์ขึ้นมาแล้วนะ สอนแทนครูได้ด้วย น่าจะเป็นนวัตกรรมที่ทำให้ครูวิตกพอสมควรเพราะ อนาคตจะมาแทนที่ครูหรือเปล่า..? ทำให้ผมอยากติดตามหารายละเอียดของข่าวนี้มาเล่าให้นักเรียนฟัง ว่าความสามารถของเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มันทำอะไรได้บ้าง ? และจะมีโอกาสเป็นไปได้ไหมที่จะนำมาใช้สอนนักเรียนจริง ? จะดีกว่าครูจริงหรือ? นักเรียนต้องติดตามดูนะครับ หุ่นยนต์ครูภาษาอังกฤษ เขียนว่า robot teacher เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า saya ออกเสียงว่า ซาย่า ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอน ระดับประถมศึกษา (primary school) คนที่สร้างชื่อว่า Hiroshi Kobayashi อ่านว่า ฮิโรชิ โคบายาชิ เป็น ศาสตราจารย์ (professor)สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยโตเกียว Fifteen years in the making แปลว่าใช้เวลาถึง 15ปี ด้วยกันในการพัฒนาเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ครับ น้องๆเห็นความพยายาม ของศาสตราจารย์ท่านนี้แล้วใช่ไหมครับ แล้วเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ทำอะไรได้บ้าง? เจ้าซาย่ามีความสามารถสอนนักเรียน (Saya is capable of teaching students) โดยแสดงอรมณ์ต่างๆได้เช่น มีความสุข(happiness) ประหลาดใจ(surprise) , เศร้าเสียใจ(sadness) หรือโกรธเมื่อเจอเด็กที่ดื้อ (for unruly children anger)เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถพูดได้หลายภาษา(multilingual) , ควบคุมชั้นเรียน(can take attendance) และยังให้การบ้าน ได้ด้วย (give textbook assignments) ก่อนที่เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้จะมาเป็นครู ได้ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่เป็นพนักงาน เช่น เป็นเลขานุการ (secretaries)แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงาน (to help businesses cut costs)
ในปี ค.ศ.2015 เขาว่า ประเทศญี่ปุ่นได้มีการวางแผนจะพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานต่างๆแทนคนได้ และมีประจำอยู่ทุกครัวเรือน เจ้า ซาย่าจึงถือได้ว่าเป็น หุ่นยนต์รายล่าสุดของญี่ปุ่นครับ ( Saya is the latest example of robots )
ก็จะพยายามแทรกคำศัพท์ในเนื้อข่าวด้วย นักเรียนจะได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ นักเรียนอ่านเนื้อข่าวนี้แล้วคงจะเห็นแล้วว่า หุ่นยนต์นั้นเริ่มจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ช่วยคนได้เยอะเลย แถมยังมีการแสดงอารมณ์ต่างๆได้คล้ายๆคน ต่อๆไปก็คงออกมาเดินขวักไขว่ ทำงานปะปน กับคน และอาจจะแยกไม่ออกเลยก็ได้ว่า เป็นคนหรือหุ่นยนต์ นั่นเป็นโลกในอนาคต ครับ
ก็จะพยายามแทรกคำศัพท์ในเนื้อข่าวด้วย นักเรียนจะได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ นักเรียนอ่านเนื้อข่าวนี้แล้วคงจะเห็นแล้วว่า หุ่นยนต์นั้นเริ่มจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ช่วยคนได้เยอะเลย แถมยังมีการแสดงอารมณ์ต่างๆได้คล้ายๆคน ต่อๆไปก็คงออกมาเดินขวักไขว่ ทำงานปะปน กับคน และอาจจะแยกไม่ออกเลยก็ได้ว่า เป็นคนหรือหุ่นยนต์ นั่นเป็นโลกในอนาคต ครับ
เรียนแปลภาษาจากข่าวต้นฉบับ https://dict.longdo.com/popthai-url.php?service=popthai&url=http%3A%2F%2Fwww.robotworldnews.com%2F100668.html
หรืออ่านเพิ่มเติมจาก วิชาการดอทคอม https://www.vcharkarn.com/vnews/152299
วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องของการเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ
เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ ยิ่งขึ้นก็จะหาเนื้อหามาอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
หุ่นยนต์คือการจำลองสิ่งมีชีวิตขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการนำไปใช้งาน, ดูเล่น , หรือเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นการนำเอาเครื่องจักรกลมาทำการควบคุมไม่ว่าจะทำโดยระบบ Manual หรือ Autometic ก็ตาม ซึ่งบางครั้งเราก็อาจเห็นหุ่นยนต์หน้าตาแปลกๆ ขัดแย้งกับความคิดของหุ่นยนต์ในจินตนาการของเราก็ตาม อาจจะคิดว่าหุ่นยนต์ต้องมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นแบบนั้น ส่วนมากจะถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการทำงานมากกว่า เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดรูปร่างหน้าตาของหุ่นยนต์นั้นว่ากันทีหลัง ในโลกของหุ่นยนต์ก็คล้ายๆกับมนุษย์เราคือถ้ามีการติดต่อสื่อสารกันจะต้องมีภาษา และรูปแบบการแปลภาษาของตัวเอง ซึ่งในกรณีของหุ่นยนต์นั้นเราเรียกกันว่าชุดคำสั่ง
หุ่นยนต์จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์อย่างไร?หุ่นยนต์จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ในด้านโปรแกรม ก็คือคอมพิวเตอร์นั้นเวลาเขียนโปรแกรมเราไม่ต้องสนใจหรอกว่า Hardware ภายในคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไร เพียงให้ Dataจาก Port input/output ตรงกับที่เราต้องการก็พอ แต่การเขียนโปรแกรมในตัวหุ่นยนต์นั้นต้องรอบคอบทุกจุด ไม่เช่นนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Hardware เกิดความเสียหายได้
คำจำกัดความคำว่าหุ่นยนต์ ความหมายของ "หุ่นยนต์" โดยสถาบันหุ่นยนต์อเมริกา (The Robotics Institute of America) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้"หุ่นยนต์ คือเครื่องจักรใช้งานแทนมนุษย์ ที่ออกแบบให้สามารถตั้งลำดับการทำงาน การใช้งานได้หลากหลายหน้าที่ ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ ตลอดจนการเคลื่อนที่ได้หลากหลาย ตามที่ตั้งลำดับการทำงาน เพื่อสำหรับใช้ในงานหลากหลายประเภท (อ้างอิงจาก:วิกิพีเดีย)
ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ทุกตัวมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน:
1.เซนเซอร์ (sensors) ซึ่งตรวจจับสถานะของสภาพแวดล้อม
2.แอคชูเอเตอร์ (actuators) ซึ่งแก้ไขสถานะของสภาพแวดล้อม
3.ระบบควบคุม (controller) ซึ่งควบคุม actuators ที่ขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ได้รับโดยเซนเซอร์ (อ้างอิงจาก:วิกิบุ๊ค)
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.จุดประสงค์ปลายทาง
มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการประกอบหุ่นยนต์และออกแบบหุ่นยนต์ตามจินตนาการได้
2.จุดประสงค์นำทาง
2.1.บอกความหมายและองค์ประกอบของหุ่นยนต์ได้
2.2.บอกหน้าที่อุปกรณ์ หุ่นยนต์ได้
2.3.ออกแบบหุ่นยนต์ตามจินตนาการได้
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน ครูแจกใบความรู้เช่น เรื่องมารู้จักหุ่นยนต์ กันเถอะ
2. ครูแนะนำเว็บไซต์เกี่ยวกับหุ่นยนต์ แล้วให้นักเรียนสืบค้น สรุปความรู้แล้วนำเสนอโดยใช้โปรแกรม powerpoint
3. แต่ละกลุ่มนำความรู้และภาพประกอบ โพสต์ขึ้นบนบล็อกของตนเอง
4. อาจจะมีการอภิปรายซักถาม เช่นหุ่นยนต์ในอนาคตจะเป็นเช่นไร?
5. ให้นักเรียนลองออกแบบหุ่นยนต์ตามจินตนาการของตนเองแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง
1.หุ่นยนต์จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์อย่างไร?
2.หุ่นยนต์ในความคิดจินตนาการของนักเรียนควรมีความสามารถอย่างไร?
ที่มาของภาพ https://www.robotworldnews.com/100668.jpg
อ้างอิงจาก: https://www.mut.ac.th/~c_micro/knowledge/principle/what_is_robot.html
อ้างอิงจาก:https://www.geocities.com/thaisci3000/Robot.html
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย
อ้างอิงจาก: วิกิบุ๊ค
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=464