ปุ๋ยตัวกลางกับทางเลือก


662 ผู้ชม


ปุ๋ยตัวกลางตามสำมะโนครัวเรียก ปุ๋ยฟอสฟอริค มักเรียก ปุ๋ยฟอสเฟต เพราะรูปปุ๋ยในท้องตลาดมักเป็นฟอสเฟต ไม่เรียกปุ๋ยฟอสฟอรัสเพราะแท็คติกทางการค้าพ่อค้าไม่ขายเดี่ยว ๆ แต่พ่วงออกซิเจนมาเพียบคงเพื่อเอาไว้ให้อ็อกซิเย่นแก่เกษตรกรไม่ให้ลูกค้าตายง่าย ๆ   

      มุมเกษตร...................................................................................................................ดินเหนียว
                                                          ปุ๋ยตัวกลางกับทางเลือก

            ปุ๋ยตัวกลางตามสำมะโนครัวเรียก  ปุ๋ยฟอสฟอริค   มักเรียก ปุ๋ยฟอสเฟต เพราะรูปปุ๋ยในท้องตลาดมักเป็นฟอสเฟต ไม่เรียกปุ๋ยฟอสฟอรัสเพราะแท็คติกทางการค้าพ่อค้าไม่ขายเดี่ยว ๆ แต่พ่วงออกซิเจนมาเพียบคงเพื่อเอาไว้ให้อ็อกซิเย่นแก่เกษตรกรไม่ให้ลูกค้าตายง่าย ๆ เหมือนเราซื้อข้าวโพดเขาไม่ขายแต่ฝักแต่ชั่งขายทั้งต้นทั้งฝักคิดเงินเราเสร็จสรรพ     ธาตุฟอสฟอรัสพืชดูดใช้เพื่อ ให้ติดดอกง่าย  สร้างอาณาจักรราก  พืชผลเก็บเกี่ยวได้เร็วและสม่ำเสมอ   กระตุ้นการแตกกอ   สร้างสมดุลของธาตุอาหารในต้นพืช  ฯลฯ  แม่ปุ๋ยที่นิยมใช้  คือ  11-52-0 และ  18-46-0

            ปุ๋ยตัวกลางจากแม่ปุ๋ยสองชนิดนี้ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็เสียของ  เช่น สูญเสียเมื่อใช้ในดินด่าง หรือ ดินเปรี้ยว   ซึ่งปุ๋ยตัวกลางจะถูกดินตรึงไว้เร็วจนพืชดูดใช้ไม่ทันอาจต้องใช้ตัวกลางจำพวกอื่นแทน ซึ่งพระเอกยอดนิยมในดินเปรี้ยวคือ หินฟอสเฟต ถ้าเปรี้ยวจัดต้องใส่บ่อยใช้พระเอกเปลือง  ผลดีเห็นชัดถ้าใช้ร่วมกับปุ๋ยตัวหน้าตัวหลังเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แม่ปุ๋ย  11-52-0  หรือ 16-48-0  ในดินปกติปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ใช้ได้ดีแต่แพงหูฉี่   สมัยก่อนปุ๋ยตัวกลางแพงกว่าตัวหน้าและตัวหลังสุด ๆ  สมัยนี้หลังผ่านทวิภาคีมัดมือเกษตรกรชก และ ภาวะน้ำมันดีด  ปุ๋ยของเราก็ดัดจริตดีดราคาขึ้นลงไม่เป็น  เกษตรกรตาดำ ๆ เลยถูกดีดหลายทาง  ราคาปุ๋ยตัวหน้า-ตัวหลังแพงทิ้งโค้งแซงตัวกลางฉิว   ปุ๋ยหินฟอสเฟตที่ถูก ๆ ก็พอมีอุ่นใจให้เลือกใช้แต่ถ้าปริมาณมากก็ต้องดูตาแรงงานหน่อยเพราะพ่อโขกไม่เลี้ยง ลูกละเหนาะ ๆ ๓๐ ถ้วน  ถ้าเผลอก็เล่นลักไก่ใส่ปุ๋ยส่งเดช  ดังนั้นก่อนจ้างต้องลำเลิกบุญคุณให้มากเข้าไว้ หรือ จะชักแม่น้ำทั้งห้าได้แก่ น้ำมูก น้ำตา น้ำลาย  เป็นอาทิก็ได้ อย่าลืมกันงบค่าระวางขนส่งอีกล่ะ   ถ้าแก้ค่าโสหุ้ยตกล่ะก็ขอเชียร์ เพราะ ปุ๋ยหินฟอสเฟตเป็นพวก “น้ำซึมบ่อทราย”   ใส่ระยะหนึ่งนอนตีพุงได้หลายปีหยุดใส่อีกยาว

            หินฟอสเฟต (0-3-0)   เป็นแร่ธรรมชาติชื่อ  “อพาไทด์”     ในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นพวกแคลเซียมอพาไทด์    ส่วนน้อยเป็นพวกเหล็กอพาไทด์    แถวบ้านของผู้เขียนราคากระสอบ (๕๐ ก.ก.) ละ ๑๑๐ บาท  เป็นปุ๋ยตัวกลางน่าใช้เพราะสิริรวมมีประมาณ ๒๐%  แต่อยู่ในรูปที่พืชดูดใช้ได้ทันใจประมาณ  ๓%  ไม่มีชักเปอร์เซ็นต์  คุณสมบัติเป็นปูนเพราะแคลเซียมมาก และเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการ  ควรใส่โดยวิธีหว่าน และ คราดกลบ ครั้งละ ๒๐๐-๕๐๐ ก.ก. ต่อไร่ เว้นช่วงใส่สะสมในระยะข้ามปีให้ได้สัก ๑ ตัน ขึ้นไป  ดินเปรี้ยวใส่มากหน่อย  หยุดใส่ได้อีกหลายปีเพราะใส่ตุนไว้เยอะ แหล่งปุ๋ยตัวกลางอื่นที่เป็นตัวเลือกได้แก่ กระดูกป่น และ มูลค้างคาว  ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง    มูลค้างคาวมีฟอสฟอรัสสะสมจากแมลงที่ค้างคาวชอบกิน  แหล่งปุ๋ยตัวกลางที่ดีอีกตัวหนึ่ง คือ มูลนกนางแอ่นเพราะนกพวกนี้ชอบกินปลา แต่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นรายงานผลวิเคราะห์เป็นเอกสาร จึงไม่ขอยืนยัน ปุ๋ยแพงมาก ๆ ก็คงต้องหายาถ่ายให้พวกนกพวกนี้กินบ้างแล้ว จะได้ถ่ายเยอะ ๆ

                                 ปุ๋ยตัวกลางกับทางเลือก            

                                 ปุ๋ยตัวกลางกับทางเลือก
   
                      ปุ๋ยหินฟอสเฟตเกิดปฏิกิริยาในดินได้สารละลายฟอสเฟตในดินซึ่งพืชดูดใช้ได้

                                   ปุ๋ยตัวกลางกับทางเลือก              

                                                  ปุ๋ยตัวกลางกับทางเลือก

     
                      อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสของพืชตระกูลถั่วใบเป็นสีม่วงแดง กล้าพืชแคระแกร็น

กิจกรรมเสนอแนะ

   ทำตามลำดับขั้นตอน
 

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
    คณิศาสตร์  วิทยาศาสตร์

เขียนโดย
                อาจารย์วิจัย ไชยยงค์

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=866

อัพเดทล่าสุด