“ปุ๋ยตัวหลัง” หมายถึงตัวท้ายสุดจากปุ๋ยสูตรเรียง ๓ ตัว ไม่เล่นโต๊ด เช่น ๐-๐-๖๐, 0-0-48 ฯลฯ (แสดงว่าปุ๋ยสองสูตรนี้ไม่มีตัวหน้าและตัวกลาง) ตัวหลังการค้าบอกรูป K2O จากสูตรแสดงว่าหนัก ๖๐ และ ๔๘ % K2O ตามลำดับ มุมเกษตร...................................................................................................................ดินเหนียว ปุ๋ยตัวหลังและทางเลือก
“ปุ๋ยตัวหลัง” หมายถึงตัวท้ายสุดจากปุ๋ยสูตรเรียง ๓ ตัว ไม่เล่นโต๊ด เช่น ๐-๐-๖๐, 0-0-48 ฯลฯ (แสดงว่าปุ๋ยสองสูตรนี้ไม่มีตัวหน้าและตัวกลาง) ตัวหลังการค้าบอกรูป K2O จากสูตรแสดงว่าหนัก ๖๐ และ ๔๘ % K2O ตามลำดับ ถ้าคำนวณจะได้กระสอบละ ๓๐ และ ๒๔ ก.ก. K2O เป็นอย่างต่ำขาดไม่ได้ ถ้าเกินถือเป็นแถมขาดถือเป็นปลอม ปุ๋ยตัวหลังอีกชื่อหนึ่ง คือ “ปุ๋ยโพแทส” หรือ “ปุ๋ยโปแตช” ไม่ควรเรียก “ปุ๋ยโพแทสเซียม” เพราะเขาขายบวกออกซิเจนเบ็ดเสร็จ เหมือนเราถอยภรรยาติดรถมาเราต้องจ่ายค่ารถมัสแตงให้เขาด้วย รถมัสแตงเรายังพอขอยืมภรรยาขี่เล่นได้บ้าง แต่ ออกซิเจนที่ขายพ่วงนี่เราไม่รู้จะเอาไปทำ (พระแสง) อะไร ปุ๋ยตัวนี้เมื่ออยู่ในพืชจะเคลื่อนย้ายได้ บางทีย้ายแล้วขนเอาอย่างอื่นตามไปด้วยไม่ไปมือเปล่า ดูคล้ายพวกมือบอนแต่มีศีลธรรมกว่า คือ ช่วยพืชลำเลียงอาหารไปสะสมที่เมล็ด ผล หัว ในรูปแป้ง น้ำตาล น้ำมัน ฯลฯ เราจึงควรเอาเป็นเยี่ยง (เล็กเช่อร์ทับซ้อน) ดังนั้นปุ๋ยตัวหลังเราจึงใส่เพื่อ เพิ่มน้ำหนัก และ เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ถ้าใส่พอดีเมล็ดถั่วจะเคี้ยวมันใส่น้อยเมล็ดลีบหนักไปทางโปรตีนเคี้ยวเหม็นเขียว พืชหัว พืชน้ำมัน ต้องการโพแทสเซียมมากเป็นพิเศษ จึงต้องหนักที่ตัวหน้าและหลัง ตัวหน้าต้องแบ่งใส่ ตัวหลังแบ่งได้ก็ดี ใส่ครั้งแรกควรรองก้นหลุมให้ต้นพืชได้สะสมตั้งกะยังเล็กรู้จักอดออม (อีกแล้ว) พวก อ้อย แตงโม ที่ต้องการความหวาน เน้นตัวหลังให้สมดุลกับตัวหน้า ถ้าตัวหน้ามากตั้งกะเริ่มปลูกมันจะปรุงโปรตีน หรือ ออกใบมาให้เราดูต่างหน้าเต็มไปหมดแทนที่จะได้ชิมลูกหวาน ๆ การผลิตปุ๋ยตัวหลังมีทั้งจากผลพลอยได้อุตสาหกรรม และ ผลิตโดยตรง ผลิตตรงแบบง่ายใช้วิธีละลายแร่ แลงไบไนต์ ( K 2SO 4.2MgSO 4 ) คาร์นัลไลต์ ( KCl.MgCl 2.6H 2O ) และ ซิลวาไนต์ ( KCl.NaCl) ด้วยน้ำและตกผลึกแยกออกทีละส่วน แร่ซิลวาไนต์มีมากที่อีสานบ้านเสี่ยว (เพื่อน) ถ้ารู้วิธีแยกเสี่ยวน่าจะทำน้ำปุ๋ยโพแทสใช้เองได้แต่ต้องรู้จักแร่ก่อน..แป่ว! มีบางคนเชียร์ขายแร่เพอไรต์แทนปุ๋ยโปแตช ผู้เขียนก็ยังงงตามไม่ทันเพราะเท่าที่เช็คตามขี้ปากผู้รู้ เพอไรต์เป็นแร่ดินเหนียวชนิดหนึ่ง เทียบกับแร่ดินเหนียวตัวอื่นแล้วไม่น่าสู้เขาได้ แร่ดินเหนียวมีโพแทสเซียมเกาะตามผิว หรือ แทรกตามชั้นในผลึก ดินบ้านใครเหนียวก็มักไม่ต้องใส่ปุ๋ยโปแตช ปุ๋ยโปแตชสุดนิยม คือ สูตร 0-0-60 ชาวบ้านเรียกปุ๋ยพริกกะเกลือ ราคาตอนนี้กู่ไม่กลับ ๓ ปีก่อนลูกละไม่ถึง ๖๐๐ บาท ตอนนี้ ๑,๔๐๐ บาท คงต้องใช้ขี้เถ้า (หว่านกลบไม่ใช่ยัดปาก) แก้ขัดก่อน ขี้เถ้าเป็นด่างต้องระวังหน่อย แต่ดินเปรี้ยวชอบ และ เราก็ต้องรีบหาแหล่งทดแทนให้เร็วที่สุด ขนดินเหนียวมาใช้ก็ลำบาก ดินเหนียวที่แตกระแหงมากในหน้าแล้งจะอุดมกว่าพวกระแหงน้อย ตะก่อนเราไม่คิดเตรียมรับมือวิกฤติโปแตชแพง เพราะที่ขายอยู่เห็นมีความเข้มข้นสูง แพงนิดก็ใช้น้อย แต่นี่มันดันหูฉี่ไปซะทุกรายการเลยเจอทางตันต่อไปช็อปผลไม้นอกกินเอาสบายกว่า ในดินเหนียวโพแทสเซียมที่พืชดูดใช้ได้ประมาณ ๙๐% เกาะอยู่ที่ผิวอนุภาคดินเหนียว
ต้นข้าวขาดธาตุโพแทสเซียมจะแคระแกร็น ใบเหลืองและค่อยแห้งกรอบเริ่มจากปลายและขอบนอกใบเข้ามายังกลางใบ
แม่ปุ๋ยโพแทส สูตร ๐-๐-๖๐ ได้จากสารเคมีรูปโพแทสเซียมคลอไรด์ ปุ๋ยคลอไรด์ไม่เหมาะที่จะใช้ในแปลง ยาสูบ มันฝรั่ง และ ถั่วบางชนิด
กิจกรรมเสนอแนะ ทำตามลำดับขั้นตอน การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ คณิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เขียนโดย อาจารย์วิจัย ไชยยงค์ ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1101 |