ดังทางแข่งแต่ไม่ได้ใช้ หุ่นยนต์ไทย


573 ผู้ชม


นักศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์สมัยที่ 4 นี่น่าจะถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญของ “หุ่นยนต์ไทย”แต่เอาเข้าจริงเราจะก้าวไปได้ถึงไหนยังต้องลุ้น   

ดังทางแข่งแต่ไม่ได้ใช้ หุ่นยนต์ไทย'สมองไหล'เสียของ!
“องค์การสหประชาชาติเคยประเมินไว้ว่า ปลายปี 2550 หุ่นยนต์จะยิ่งมีบทบาทสูง ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ทั่วโลกจะมีหุ่นยนต์รูปแบบต่าง ๆ ในบ้านราว 4.1 ล้านตัว ซึ่งแม้ไทยจะยังมีการใช้งานหุ่นยนต์ไม่สูงเท่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องหุ่นยนต์เพื่อให้ทันโลก ซึ่งในการเรียนรู้ก็ต้องพึ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการสนับสนุนของคนรุ่นเก่า” 
...เป็นเนื้อความส่วนหนึ่งจากสกู๊ปเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์” ที่  “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” นำเสนอไปตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. 2550 และแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยก็ได้ชื่อเสียงด้านหุ่นยนต์อีก จาก “ความสามารถของเยาวชนไทย” นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย สมัยที่ 4 และนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็ก สมัยที่ 2 ขณะที่นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รางวัลที่ 3 ซึ่งนี่มิใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมาเยาวชนไทยก็ทำได้มาแล้วหลายครั้ง
    
นี่น่าจะถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญของ “หุ่นยนต์ไทย”    แต่เอาเข้าจริงเราจะก้าวไปได้ถึงไหนยังต้องลุ้น ?!?

ข่าวจาก Daily News Online : https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=23&contentID=7439

นักเรียน นักศึกษาไทย ได้อะไรจากหุ่นยนต์

แนวคิดในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบยั่งยืนตลอดชีพผ่านสื่อหุ่นยนต์

        นักเรียนมีความรู้  ความสามารถพื้นฐาน ด้านคอมพิวเตอร์  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และด้านวิศวกรรม  มีความคิดสร้างสรรค์  ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์  สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์  ฝึกการใช้ทักษะต่าง ๆ  ในการแก้ปัญหา  นำทักษะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  และการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
        นักเรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรม การออกแบบหุ่นยนต์ตามความสนใจ  เน้นทักษะกระบวนการกลุ่ม  ครูเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุน หรือเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น  นักเรียนต้องฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองจากคู่มือ  จากการลองผิดลองถูก  หรือจากครูที่ปรึกษา  ทำให้นักเรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหา  เกิดการสร้างองค์ความรูขึ้นด้วยมาเอง  ตามแนวคิดของทฤษฎี  Constructionism

กระบวนการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้แบบยั่งยืนตลอดชีพผ่านสื่อหุ่นยนต์
(ขับเคลื่อนกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน)

1.ขั้นทบทวนความรู้เดิม(คิดเชิงมโนทัศน์)
        -ครูกระตุ้น
        -นักเรียนตั้งสมมติฐาน ตั้งคำถามและคิดทบทวนว่า  ความรู้เดิมของตนคืออะไร (ความรู้เดิมเป็นพื้นฐาน ขององค์ความรู้ใหม่)
2.ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน(คิดวิเคราะห์, คิดอย่างมีวิจารณญาณ)
        -นักเรียนระดมสมอง
        -มีการเรียนรู้ร่วมกัน(ครูต้องเน้นกิจกรรมที่จะให้นักเรียนปฏิบัติ)
3.ขั้นนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้(คิดวิพากษ์, คิดประยุกต์)
        -นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  เป็นการแสดงผลของการเรียนรู้ และผลของกระบวนการคิด  นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออก โดยการนำเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน
4.ขั้นปรับปรุงและพัฒนาผลงาน(คิดเปรียบเทียบ, คิดสังเคราะห์, คิดประยุกต์)
        -หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนแล้ว  นักเรียนก็จะนำสิ่งที่ได้รับมาประชุม ปรึกษา ปรับปรุง  สร้าง และพัฒนาความรู้ขึ้นมาใหม่  นักเรียนจะเกิดความคิดที่ลึกซึ้ง  เกิดการคิดวิเคราะห์ และหาทางพิสูจน์ความคิดของตน
5.ขั้นนำเสนอผลงานที่ได้ปรับปรุงพัฒนา(คิดวิพากษ์, คิดประยุกต์)
        -นักเรียนจะนำเสนอผลงาน ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาแล้ว  โดยมีครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมประเมิน  โดยใช้แบบประเมินที่ครู และนักเรียนจัดทำร่วมกัน
6.ขั้นสรุปองค์ความรู้(คิดประยุกต์, คิดสร้างสรรค์)
        -นักเรียนร่วมกัน สรุปองค์ความรู้ ที่ได้จากการนำเสนอผลงานของตนเอง และของเพื่อนลงในสมุดบันทึก และเพิ่มเติมความคิด หรือคำถามที่ตนเองสงสัยลงไป เพื่อนำไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ     บูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ

        Daily News Online : https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=23&contentID=7439
        สุวิทย์  มูลคำ.  "ครบเครื่องเรื่องการคิด"  พิมพ์ครั้งที่ 9-กรุงเทพฯ : ห้างหุ่นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.  2551.

เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2-4 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1209

อัพเดทล่าสุด