แกงเลียง เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านและป้องกันเชื้อไข้หวัดได้
ครั้งที่แล้วได้นำเสนอแกงส้มปักษ์ใต้และต้มยำซึ่งเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อ
ไข้หวัดได้ คราวนี้เป็นการนำเสนอการทำแกงเลียง ซึ่งเป็นอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีส่วนผสมของสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ต่อต้านและป้องกันเชื้อไข้หวัดได้ด้วย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงฃั้นที่ 2
เรา มารู้จักส่วนผสม เครื่องปรุง ของแกงเลียงกันก่อน
ใบย่านนาง
ใบย่านนาง ใช้ใบอ่อนจนถึงยอดเพื่อนำมาปรุงอาหาร มีสรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ไข้ร้อนเย็น ไข้ป่า
แก้หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด
ภาพและข้อมูลจากwww.tungsong.com/NakhonSri/
หอมแดง
ภาพจาก www.mcot9725.com/news/view
หอมแดง รับประทานแก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิตินและสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้นอกจากนี้ หอมแดงยังมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้ และ ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki
กระชาย
กระชาย มี แคลเซียม เหล็กมากนอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วย
ข้อมูลจากwww.samunpai.com/samunpai/show
พริกไทย
พริกไทย ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์ ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki
ข้าวโพดอ่อน
ข้าวโพดอ่อน สรรพคุณ มีคาร์โบไฮเดรด ใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร หัวใจ ปอด ช่วยให้เจริญอาหาร
ข้อมูลจาก www.pk-siam.com/website/mart
ฟักทอง
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่และมี“กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง ในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki
ฟักเขียว
ฟักเขียว ป้องกันริดสีดวงทวาร-ไตอักเสบ ช่วยดับร้อนแก้กระหายน้ำ ลดอาการบวมอักเสบได้ เป็นผักชนิดแรกที่เด็กเริ่มหัดกิน ยิ่งเด็กแรกเกิดเมื่อได้กินแล้วก็จะดีมาก เพราะจะช่วยในเรื่องระบบย่อยอาหารให้แก่เด็กได้ แถมช่วยบำรุงร่างกายได้อย่างดีอีกด้วย ข้อมูลจาก variety.teenee.com/foodforbrain/2765.html
บวบ
บวบ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้พิษแมลงกัดต่อย ช่วยบำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน และเป็นยาขับพยาธิตัวกลม ข้อมูลจากwww.tungsong.com/samunpai/Garden
ผักหวาน
ผักหวาน รับประทานเป็นยาถอนพิษร้อน พิษไข้ พิษทราง ถอนพิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ แก้ขัดเบา
แก้ไอ แก้คางทูม คอพอก แผลฝี ข้อมูลจากwww.kroobannok.com/blog/8219
ใบแมงลัก
ใบแมงลักช่วยขับเหงื่อ ขับลม แก้ไอ แก้โรคทางเดินอาหาร หรือโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ แก้ไข้หวัดในเด็ก
ใบใช้ทาถายนอกแก้โรคผิวหนัง น้ำมันแมงลักมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรค
ข้อมูลจาก61.19.145.8/student/web42106/509
แกงเลียง
ภาพจากwww.horapa.com/content.php
เครื่องปรุง
1. ฟักทอง หั่นชิ้นพอคำ จำนวน 1/2 ถ้วย
2. ฟักเขียว หั่นชิ้นพอคำ จำนวน 1/2 ถ้วน
3. บวบ ประมาณ 1 ลูก ปอกเปลือกออก แต่ไม่ควรปอกจนเกลี้ยงเกลาให้เหลือเปลือกไว้บ้าง
หั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำ ประมาณ 1/2 ถ้วย
4. ใบย่านนาง ประมาณ 1 ถ้วย
5. ผักหวาน ประมาณ 1 ถ้วย
6. ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
7. กระชาย 2 หัว ทุบเบา ๆ แล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
8. ใบแมงลัก เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อน ๆ ประมาณ 2 กิ่ง
9. กุ้งแม่น้ำ 10 ตัว ปอกเปลือก เอาเส้นดำออก
10. น้ำซุป 5 ถ้วยตวง
11. น้ำปลาดี 3 ช้อนโต๊ะ
เครื่องปรุงพริกแกง
1. กระชาย 5 หัว
2. หอมแดงหัวขนาดกลาง 6 หัว
3. พริกไทยดำ 15 เม็ด
4. กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีด
5. กุ้งสด 3 ขีด
วิธีทำ
1. นำเครื่องปรุงพริกแกงโขลกให้ละเอียด
2. นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงคนให้เครื่องแกงละลาย ปรุงรสด้วยน้ำปลา
3. ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิด ๆ พอน้ำแกงเดือดอีกที ใส่ผักชนิดสุกยากลงก่อน เช่น ฟักทอง ฟักเขียว
ข้าวโพดอ่อน
4. ใส่กุ้งลงไป รอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้ว ใส่ใบผักหวาน ใบย่านนาง และใบแมงลักคนให้เข้ากัน
5. ตักเสิร์ฟในขณะร้อน ๆ
คำถามอภิปราย
1. การทำแกงเลียงรับประทานเองที่บ้านมีผลดีอย่างไร
2. การปรุงแกงเลียงถ้าไม่มีกุ้งสดจะใช้อะไรแทนได้
3. ผักสำหรับแกงเลียงควรซื้อของที่แม่ค้าหั่นรวมๆกันหลายๆอย่างแล้วนำมาขายหรือไม่ เพราะเหตุใด
ข้อเสนอแนะ
1. หากชอบแกงเลียงมีรสเผ็ด ให้ใส่พริกขี้หนูสดบุบพอแตก ใส่ลงไป 4-5 เม็ด
2. ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นใช้เนื้อปลาสุกโขลกรวมกับเครื่องปรุงพริกแกง
บูรณาการ
1. กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องการชั่ง ตวง
2. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชสมุนไพร
3. กลุ่มสุขศึกษา เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่
เอกสารอ้างอิง
www.tungsong.com/NakhonSri/
th.wikipedia.org/wiki
www.samunpai.com/samunpai/show
th.wikipedia.org/wiki
www.pk-siam.com/website/mart
th.wikipedia.org/wiki
variety.teenee.com/foodforbrain/2765.html
www.tungsong.com/samunpai/Garden
www.kroobannok.com/blog/8219
61.19.145.8/student/web42106/509
www.horapa.com/content.php
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1373