การทำยาหม่องบาล์ม


918 ผู้ชม


ยาหม่องบาล์ม เป็นยาขี้ผึ้งใช้ทาถูแก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดเมื่อย ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเป็นยาสมุนไพรประจำบ้าน   

        ยาหม่องบาล์มเป็นยาขี้ผึ้ง ซึ่งมีตัวยาสำคัญละลายอยู่ในยาพื้น ซึ่งมีลักษณะเป็นมัน ยาหม่องบาล์ม
จะแข็งตัวด้วยพาราฟิน และจะละลายเมื่อถูกความร้อน จึงควรเก็บในที่ห่างจากแสงแดด

กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วัสดุ อุปกรณ์

1. การบูรเกล็ด 3  กรัม  การบูรมีลักษณะรสร้อนแรง  สรรพคุณบำรุงธาตุทำให้อาการงวด แก้โรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลมให้ผาย กระจายลม
   

การทำยาหม่องบาล์ม


2. เมนทอล 12  กรัม  เมนทอลมีลักษณะเป็นผลึกสีขาว กลิ่นหอมเย็น

การทำยาหม่องบาล์ม 


3.   พิมเสน 3  กรัม  พิมเสนมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น สรรพคุณของพิมเสน  มีกลิ่นหอมเย็น ใช้สูตรดมแก้ลมวิงเวียน 
ทาภายนอกแก้เคล็ดขัดยอก

การทำยาหม่องบาล์ม


4. พาราฟิน 15  กรัม   ผสมพาราฟินลงไปเพื่อเป็นตัวช่วยให้น้ำมันแข็งตัว

การทำยาหม่องบาล์ม


5. วาสลีน 50  กรัม  วาสลีนเป็นตัวช่วยให้น้ำมันมีความมันลื่น สะดวกในการนำไปใช้ทา

การทำยาหม่องบาล์ม


6. น้ำมันระกำ  5  กรัม  น้ำมันระกำมีลักษณะเป็นน้ำมันใสๆ มีกลิ่นหอมฉุน สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยและเคล็ดขัดยอก

การทำยาหม่องบาล์ม
ภาพจาก  gotoknow.org/blog/pilanya/174970

7. น้ำมันสาระแหน่  2  กรัม น้ำมันระกำเป็นน้ำมันสีขาวใส  มีกลิ่นหอมเย็น สรรพคุณ  ใช้สูดดมแก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย และแก้อ่อนเพลีย

การทำยาหม่องบาล์ม
ภาพจาก  gotoknow.org/blog/pilanya/174970


8. น้ำมันอบเชย 2  กรัม  น้ำมันอบเชยเป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม  สรรพคุณ  แก้จุกเสียดขับลม

การทำยาหม่องบาล์ม
ภาพจาก  gotoknow.org/blog/pilanya/174970


9. น้ำมันกานพลู 2  กรัม  น้ำมันกานพลู เป็นน้ำมันใส  มีกลิ่นหอม  สรรพคุณ  แก้ปวดท้องและขับเสมหะ

การทำยาหม่องบาล์ม
ภาพจาก  gotoknow.org/blog/pilanya/174970


ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
        1. หั่นพาราพินเป็นแผ่นบางๆใส่หม้อต้มตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายเป็นน้ำ
        2. ใส่วาสลีนลงไปคนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
        3. ใส่การบูรเกล็ด เมนทอล พิมเสน คนให้ส่วนผสมทั้งหมดละลายยกลงจากเตา
        4. ใส่น้ำมันระกำน้ำ มันสาระสำคัญแหน่ น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู คนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน
        5. ตักน้ำมันขณะที่ยังร้อนใส่ขวดแก้ว ทิ้งให้เย็นปิดฝา


ข้อเสนอแนะ
        1. ยาหม่องบาล์มที่นำมาเสนอ เป็นสีขาวถ้าต้องการให้เป็นสีต่างๆก็สามารถเติมสีเทียน(สีที่นักเรียนใช้ระบายภาพ)หรือเทียนไขที่มีสีลงไปขณะต้มพาราพินก็ได้
        2. การละลายพาราพินต้องใช้ไฟอ่อนๆ เพราะถ้าไฟแรงเกินไปอาจทำให้ไฟติดในหม้อขณะต้ม
        3. ยาหม่องบาล์มสามารถเติมกลิ่นลงไป เพื่อให้ได้กลิ่นที่แปลกใหม่ เช่น กลิ่นมะลิ กลิ่นกุหลาบ เป็นต้น
        4. ผู้ผลิตอาจจะบรรจุยาหม่องบาล์มในขวดหรือภาชนะที่แปลกใหม่เพื่อเป็นการดึงดูดใจให้อยากซื้อหา


ข้อควรระวัง
        1. ขณะทำยาหม่องบาล์ม ไม่ควรให้น้ำหรือเหงื่อหยดลงไป ในหม้อต้มเพราะน้ำอาจทำให้เทียนในหม้อที่กำลังร้อนเกิดระเบิดเป็นอันตรายได้
        2. การใช้ยาหม่องบาล์ม ควรใช้อย่างระมัดระวังไม่ควรให้เข้าตา จะทำให้แสบตาได้
        3. ไม่ควรใช้ยาหม่องกับผิวที่อ่อนเพราะอาจทำให้ผิวร้อนไหม้หรือลอกได้


ประโยชน์ของยาหม่องบาล์ม
        1. ใช้ทาถูแก้เคล็ดขัดยอก ตามส่วนต่างๆที่ร่างกายต้องการ
        2. ใช้ทาถูแก้ปวดเมื่อย ตามบริเวณที่ต้องการ
        3. ทำเป็นของชำร่วย ใช้แจกในงายพิธีต่างๆ เช่น งานศพ
        4. เป็นการเพิ่มรายได้หรือทำเป็นอาชีพเสริม

การประเมินราคาผลงาน  (จะต้องคำนวณราคาทุน กำไร ราคาขาย)
        การคิดราคาคำนวณ ผู้ขายจะต้องคิดจากราคาสินค้าทั้งหมดรวมกับค่าสึกหรอของเครื่องใช้ ค่าแรง ค่าขนส่ง ค่าพาหนะ ค่าน้ำค่าไฟ
       การคิดกำไร ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต เช่น กำไร 40/50/หรือ60/
       การกำหนดราคาขาย จะต้องคิดต้นทุนทั้งหมดบวกด้วยกำไรที่ต้องการ ที่จะเป็นราคาขาย

 บูรณาการกับกลุ่มสาระ
        1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การชั่ง ตวง
        
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน                  
        3. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  เรื่อง ยาสามัญประจำบ้าน

 เอกสารอ้างอิง

        https://115.31.137.7/songkhla/freelance/cons0013.doc
        www.gotoknow.org/blog/pilanya/174970

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1568

อัพเดทล่าสุด