ชื่อหน่วย การจัดและออกแบบบรรจุภัณฑ์งานดอกไม้ประดิษฐ์ เรื่อง การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยม บูรณาการกับรายวิชาการจัดดอกไม้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชา งานดอกไม้ประดิษฐ์สาระเพิ่มเติม ช่วงชั้นที่ 4 ( มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 )
หน่วยที่ 5 ชื่อหน่วย การจัดและออกแบบบรรจุภัณฑ์งานดอกไม้ประดิษฐ์ หน่วยย่อยที่ 5.3
เรื่อง การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยม เวลา 2 ชั่วโมง
ผู้สอน นางเนาวรัตน์ ตั้งยะฤทธิ์
1. สาระสำคัญ
การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า สามารถจัดให้เกิดความสมดุลย์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมจัดกันมาก สะดวกต่อการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ นอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงรูปแบบการจัดได้อีกมากมายหลายแบบ เป็นทรงที่นิยมมาแต่โบราณ และในปัจจุบันทรงนี้ยังขายดีมาตลอด
มาตรฐาน ง 1.1
ข้อ 1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน
การจัดการ ประเมินและปรับปรุงพัฒนางาน
ข้อ 2 เลือกใช้ ซ่อมแซม ดัดแปลง เก็บ บำรุงรักษา เครื่องใช้
ข้อ 3 สร้างแนวคิดใหม่ในการทำงาน
ข้อ 4 ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ขยัน ซื่อสัตย์ อดออม มุ่งมั่น
ข้อ 5 ใช้พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี
มาตรฐาน ง 1.2
ข้อ 1 สามารถวิเคราะห์งาน วางแผนการทำงาน ปฏิบัติตามแผน ปรับปรุงและ
พัฒนางาน
ข้อ 2 ทำงานในกระบวนการกลุ่ม สร้างสัมพันธภาพและความเข้มแข็งของกลุ่ม
ข้อ 3 วิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกใช้ข้อมูลการทำงานจากแหล่งความรู้ต่างๆ
ข้อ 4 วิเคราะห์และแก้ปัญหา การตัดสินใจเลือกที่เหมาะสม
ข้อ 5 มีความมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ มีจิตสำนึกที่ดีต่องาน ทำงานอย่างมีความสุข
มาตรฐาน ง 2.1
ข้อ 2 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์งานอาชีพสุจริต
มาตรฐาน ง 4.1
ข้อ 11 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของงาน
3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนสามารถจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้
1. อธิบายการจัดดอกไม้ ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้
2. จัดดอกไม้ ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้
4. สาระการเรียนรู้
1. องค์ประกอบและขั้นตอนในการจัดดอกไม้
2. ข้อควรระวังในการจัด
3. การจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
4. ปฏิบัติการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าได้
5. กระบวนการเรียนรู้
1. ครูนำแจกันดอกไม้ ที่จัดเป็นทรงสามเหลี่ยมด้านเท่านักเรียนดู แล้วให้นักเรียนสังเกตรูปทรงหรือเส้นรอบรูป และตั้งคำถามว่าการจัดดอกไม้รูปทรง ที่นักเรียนเห็นอยู่นี้ เป็นรูปทรงอะไร( สามเหลี่ยม ) และมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
2. ครูแจ้งเรื่องที่จะเรียนและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มหยิบอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการจัดดอกไม้ และซักถามถึงอุปกรณ์ที่ควรเพิ่มเติม
4. สาธิตการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาวิธีการจัดดอกไม้ ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ซักถามและลงมือปฏิบัติ
6. ครูสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติและบันทึกลงในแบบปฏิบัติ
7. เมื่อนักเรียนส่งผลงานที่ปฏิบัติ ครูตรวจผลงาน ติ ชม และเสนอแนะ
8. ทบทวนเรื่องการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
6. สื่อการเรียนรู้/อุปกรณ์
1. แจกันดอกไม้สรงสามเหลี่ยมด้าน
2. ดอกไม้ประดิษฐ์หรือดอกไม้สด
3. บทเรียนคอมพิวเตอร์เสริมความรู้สาธิตการจัดดอกไม้สำหรับยืมเรียน
4. ใบความรู้ เรื่องการจัดดอกไม้ทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
7. การวัดผลประเมินผล
1. วัดตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนสามารถจัดดอกไม้สดทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า
2. วิธีวัด
2.1 ตรวจผลงาน
2.2 สังเกตพฤติกรรม
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
3.1 แบบตรวจผลงาน
3.2 แบบสังเกตพฤติกรรม
4.เกณฑ์การวัดและประเมินผล
4.1 ผ่านเกณฑ์การตรวจผลงาน โดยต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 70 %
4.2 ผ่านเกณฑ์การสังเกตพฤติกรรม
8. แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
1. ร้านดอกไม้
2. ตำรา หรือ เอกสารที่มีความรู้เรื่องการจัดดอกไม้
9. บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้/วิชา
9.1 รายวิชาการจัดดอกไม้ของครูเนาว์ ที่
https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1107
และมีสื่อให้ดูด้วยค่ะ
9.2 สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา ในเรื่องเทคนิคการออกแบบ
10. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือวารสารต่าง ๆ เช่น หนังสือประดิษฐ์ประดอย หนังสือขวัญเรือน หนังสือสกุลไทย ฯลฯ ฝึกทักษะการออกแบบและ การจัดแจกันหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ
11. บันทึกหลังการสอน
1. ผลการสอน ผลการประเมินผลงานผ่านเกณฑ์การประเมินและมาตรฐานการเรียนรู้
(ตารางผลการจัดการเรียนรู้และผลงานผู้เรียนแนบท้ายแผนการจัดการเรียนรู้)
2. ปัญหาและอุปสรรค -
3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข -
ลงชื่อ……………………………….ผู้สอน ลงชื่อ……………………………….ผู้ตรวจ
(นางเนาวรัตน์ ตั้งยะฤทธิ์) (.........................................)
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1973