สัญญาณ รายการเชื่อมั่นประเทศไทย "หายไปไหน"


648 ผู้ชม


การขัดข้องในการการแพร่ภาพรายการ"เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์"ต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ   

สัญญาณ รายการเชื่อมั่นประเทศไทย "หายไปไหน"   
ภาพจาก www.ndc.prd.go.th

        เมื่อวันที่ 25 เม.ย.น.ส.รัตนา เจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังได้รายงานเหตุการขัดข้องในการการแพร่ภาพรายการ"เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์"ต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์  
                              แหล่งข่าว นสพ.ไทยรัฐ  https://www.thairath.co.th/content/pol/78966     
                         
                                                     สัญญาณ รายการเชื่อมั่นประเทศไทย "หายไปไหน"
                                                                               ภาพจากเว็บไซต์   www.voicetv.co.th

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้น ม.1                                  

สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 


 ความเป็นมาเบื้องต้นของระบบดาวเทียม
                   การสื่อสารดาวเทียมนับว่าเป็นวิธีการในการส่งข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันที่นิยมกันมาก ซึ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้อย่างก้วางขวาง และรวดเร็ว เป็นการสื่อสารที่มีวิวัฒนาการมาจากการสื่อสารแบบไมโคเวฟ และมีผู้ที่เขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ขึ้นเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน และต่อมาก็สามารถทำขึ้นได้จริง ๆ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มาจนมีเทคโนโลยีในการสื่อสารที่สูงมากขึ้น ในช่วงแรกๆ ดาวเทียมได้ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการทหาร และได้พัฒนามาใช้ทางด้านการพยากรณ์อากาศ การค้นหาทรัพยกรธรณี และการสื่อสาร ซึ่งจะกล่าวถึงในที่นี้คือ " ดาวเทียมสื่อสาร " ที่ใช้ในกิจการระบบโทรทัศน์ (DTH: DIRECT TO HOME)  ดาวเทียมสื่อสารที่ส่งขึ้นไปครั้งแรกเมื่อปี 2508 โดยยองค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS SATELLITE ORGANIZATION) หรือเรียกย่อว่า INTELSAT หลังจากนั้น INTELSAT ก็ได้ทำการส่งดาวเทียมในปีต่างๆ ต่อไปเรื่อยๆ 
สำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2536 ประเทศไทยเราก็มีโครงการสร้างดาวเทียมของตนเองขึ้น และเรามีดาวเทียมมาใช้ภายในประเทศอย่างแท้จริงเมื่อปี 2538 ในนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันว่า " ไทยคม " (THAICOM)
 
  ระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น มี 2 แบบ                                                             

สัญญาณ รายการเชื่อมั่นประเทศไทย "หายไปไหน"

 แบบ C - Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเซีย และยุโรปบางส่วน

ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศใหญ่ๆ เพราะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทียมหนึ่งดวง ก็ถ่ายทอดสัญญาณได้ทั่วประเทศและยังถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย เช่น จีน, อินโดนีเซีย, เวียดนาม เป็นต้น

ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ ความเข็มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จาน 4 - 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณภาพจึงจะคมชัด

 สัญญาณ รายการเชื่อมั่นประเทศไทย "หายไปไหน"

แบบ KU - Band จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ

ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาเล็กๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับสัญยาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLE TV (UBC)

ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน

อ้างอิงจาก https://telecom.212cafe.com/archive/2008-03-21/60-dth-direct-to-home-2508-international-telecommunications-satellite-organization-intelsat-intelsat/
      
   
   คำถาม

   1.การสื่อสารระบบดาวเทียม  เป็นการสื่อสารที่มีวิวัฒนาการมาจากการสื่อสารแบบใด
   2.ข้อดีและข้อเสียของระบบ  แบบ C - Band  มีอะไรบ้าง
   3.ข้อดีและข้อเสียของระบบ  แบบ ku - Band  มีอะไรบ้าง

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2164

อัพเดทล่าสุด