บิ๊กซี (C) สาขาใหญ่ : ประวัติความเป็นมาของภาษาซี


612 ผู้ชม


ประวัติความเป็นมาของภาษาซี : ภาษาโปรแกรม (Programming Languages) ที่มีการคิดค้นขึ้นมาใช้กับคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายพันภาษา แต่ภาษาที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมใช้ทั่วไปนั้นอาจจะมีเพียงหลายสิบภาษา   

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) ระดับชั้น ม.4


วิชาการโปรแกรม
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
   
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ   เห็นคุณค่า    และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้  การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณธรรม

          
          ภาษาโปรแกรม (Programming  Languages)  ที่มีการคิดคนขึ้นมาใชกับคอมพิวเตอรนั้นมีหลายพันภาษา แตภาษาที่เปนที่รูจักและเปนที่นิยมใชทั่วไปนั้นอาจจะมีเพียงหลายสิบภาษา  เชน  โคบอล (COBOL) ปาสคาล (Pascal) เบสิก (Basic) ซี (C) จาวา (Java) เปนตน  ซึ่งแตละภาษาสรางขึ้นดวยวัตถุประสงคที่แตกตางกันและมีจุดเดนของภาษาที่ตางกัน ภาษาซี(C Language) เปนภาษาเชิงโครงสรางที่มีการออกแบบโปรแกรมในลักษณะโมดูลที่มีจุดเดนในเรื่องของประสิทธิภาพการ ทํางานที่เร็ว มีความยืดหยุนในการเขียนโปรแกรมสูง เนื่องจากมีผูผลิตคอมไพเลอรเพื่อใชแปลภาษาซีหลายบริษัท ในที่นี้จะขอใชคอมไพเลอรของ Turbo C เวอรชัน 3.0 ของบริษัทบอรแลนด  เพื่อให้ไดเห็นภาพการพัฒนาโปรแกรมเชิงโครงสรางอยางชัดเจน
ประวัติความเป็นมาของภาษาซี
          ภาษาซีไดรับการพัฒนาขึ้นโดยเดนนิส  ริทชี (Dennis  Ritchie)  ขณะที่ทํ างานอยูที่เบลแล็บบอราทอรี (Bell Laboratories) โดยพัฒนาขึ้นจากหลักการพื้นฐานของภาษาบี (B) และบีซีพีแอล (BCPL) ในชวงป ค.ศ. 1971 ถึง1973  แตไดเพิ่มชนิดขอมูลและความสามารถอื่นๆ ใหมากขึ้น  และนําภาษาซีไปใชพัฒนาระบบปฏิบัติ การยูนิกซ (UNIX) บนเครื่องคอมพิวเตอร DEC PDP-11  และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า “The C Programming Language” โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆ ได้ ภาษาซีเปนที่นิยมใชอยางแพรหลายในชวงตนทศวรรษ ที่ 1980 จนกระทั่งมีความพยายามกํ าหนดมาตรฐานของภาษาเพื่อใหสามารถใชภาษาซีไดบนเครื่องคอมพิวเตอร ใดๆ ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า “ANSI C”  ในป ค.ศ. 1990  จากความมีประสิทธิภาพ และสามารถทํางานบนเครื่องคอมพิวเตอรใดๆ ของภาษาซีจึงไดมีการนํ าภาษาซีไปใชในการพัฒนาระบบปฏิบัติ การตาง ๆ และใชเปนตนแบบของภาษาอื่น ๆ ที่สําคัญในปจจุบัน  เชน ซีพลัสพลัส (C++)  ซีชาป (C#) จาวา (Java) เปนตน 

  
Dennis Ritchie                                         Brain Kernighan


คำถาม
         1. โปรแกรมภาษาแบบโครงสร้างได้แก่ภาษาอะไรบ้าง ?
         2. ตัวแปลภาษามีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีการทำงานอย่างไร ?
         3. ภาษามนุษย์จะสามารถนำมาสร้างเป็นภาษาระดับสูงในการเขียนโปรแกรมได้หรือไม่ ?
กิจกรรม
         1. นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาอภิปรายหน้าชั้นเรียนที่ละกลุ่ม
         2. แต่ละกลุ่มเขียนสรุปลงกระดาษ A4 ส่งครูผู้สอนในชั่วโมง
         3. นักเรียนร่วมกับครู ช่วยกันสรุป
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
         วิจักษณ  ศรีสัจจะเลิศวาจา และดุษฎี  ประเสริฐธิติพงษ. การเขียนโปรแกรมภาษาซี.ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร คณะวิทยาศาสตร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม. 2545. หน้า 1.
          PUPASOFT BLOG . ประวัติภาษาซี. ออนไลน์ : https://blog.pupasoft.com/2008/09/10/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2-c/. 2553. 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2279

อัพเดทล่าสุด