นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ทำให้ ส.ป.ก. มีหน้าที่จัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกิน
นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้กล่าวถึง พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ทำให้ ส.ป.ก. มีหน้าที่จัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินที่ประชุมฯ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552 ได้ให้ ส.ป.ก. จังหวัดทั้ง 69 แห่ง ดำเนินการจัดทำทะเบียนเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน และผู้ยากจนที่ต้องการที่ดินทำเกษตรกรรม เพื่อสำรวจตัวเลข นำมาวางแผนบริหารจัดการด้านที่ดินต่อไป ทั้งนี้ หากมีเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือเรื่องที่ดินเป็นจำนวนมาก ทาง ส.ป.ก. คงต้องขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งเงินที่ช่วยเหลือเกษตรกรในโครงการดังกล่าวนี้ เกษตรกรต้องชำระคืนในรูปแบบการเช่าซื้อจาก ส.ป.ก.และจะกลับมาเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากไร้รายอื่นต่อไป ซึ่งคาดว่าหากการดำเนินงานประสบผลสำเร็จจะทำให้เกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินลด ปริมาณลง
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 28 เมษายน 2553
หากไม่มีที่ดินทำกิน ในการเกษตรสามารถปรับประยุกต์ในอาชีพการเกษตรได้ โดยการปลูกพืชไร้ดิน ได้ผลผลิตปลอดสารพิษ ปลอดภัย สะดวก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้น. ม 3 ช่วงชั้นที่ 3
มาตรฐานการเรียนรู้ ง 1.1
การปลูกพืชไร้ดิน (Soilless Culture)
ปลูกพืชไร้ดิน ถือว่าเป็นการปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับเกษตรกรบ้านเรา แต่เนื่องจากการปลูกพืชในดินติดต่อกันมาเป็นเวลานานมากทำ ให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งดินเค็ม, เดินเปรี้ยว, แมลงศัตรูพืช ทำให้ต้องใช้สารเคมี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการปลูกพืชไร้ดิน
การปลูกพืชไร้ดิน หมายถึง การปลูกพืชโดยใช้น้ำซึ่งมีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ อาจจะใช้สารละลายอย่าง เดียว หรือใช้ร่วมกับวัสดุปลูกต่างๆ ก็ได้โดยมีวิธีการต่างๆ ที่ทําให้ออกซิเจนละลายลงในสารละลายธาตุอาหารพืช เพื่อให้รากพืชหายใจ นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการป้องกันศัตรูพืชและโรคพืชโดยใช้วิธีผสมผสานทางชี ววิธีและมีการปรับ สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่างและความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารพืชที่ให้แก่พืช แต่ละชนิด
ข้อดีข้อจำกัดของการปลูกพืชแบบไร้ดิน
ข้อดี
1. สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ เพราะไม่ได้ปลูกลงบน ดิน
2. ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงกว่าและสม่ำ เสมอ
3. การใช้แรงงานต่อพื้นที่น้อย กว่า
4. ผลผลิตมีคุณภาพและปลอดภัยจากสาร พิษ
5. ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวสั้น ลง
6. ไม่มีปัญหาศัตรูพืชจากดิน สามารถปลูกได้ต่อ เนื่อง
7. ใช้น้ำและธาตุอาหารได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ เช่น น้ำลดลง 10 เท่า
8. ประหยัดเวลาและแรงงานในการเตรียมดินและกำจัด วัชพืช
9. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดแมลง 100 %
10. สามารถปลูกในเมืองได้เพราะใช้พื้นที่น้อย
11. ผลผลิตดีกว่าปลูกแบบ เดิม
12. เป็นการส่งเสริมอาชีพผู้ด้อยโอกาส คนพิการก็สามารถทำได้
ข้อจำกัด
1. ต้องมีความรู้และเข้าใจ เทคนิค
2. ลงทุนขั้นต้น สูง
3. เป็นเทคนิคใหม่สำหรับการเกษตรกรต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
ประเภทของการปลูกพืชไร้ดิน แบ่งออกได้ 3 ประเภท
1. ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponic Culture) การปลูกแบบนี้ สามารถปลูกได้ทั่วไปในภาชนะขังน้ำได้
โดยรากของพืชที่ปลูกจะแช่อยู่ในน้ำที่มีสารอาหารตลอดระยะเวลาปลูก มีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย ขนาดของพืช และขนาดของพื้นที่โรงเรือนปลูกพืชไร้ดิน
2. ปลูกในวัสดุปลูก ( substrate culture) ได้แก่ การปลูกในทราย ในกระบะ
3. การปลูกแบบแอโรโพนิกส์ (aeroponic culture) คล้ายกับการปลูกในสารละลายอาหารพืช
แต่ต่างกันตรงที่รากพืชที่ปลูกแทนที่จะจุ่มอยู่ในน้ำที่มีสารละลายอาหาร กลับปล่อยให้อากาศในกระบะปลูกหรือรางปลูกระบบปิด
ที่สามารถควบคุมความชื้นรอบรากพืชให้สูงถึงความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยรากพืชจะได้สารอาหารพืชจากการฉีดพ่นเป็นช่วง ๆ ตามเวลาที่ตั้งไว้
คำถามร่วมคิด
1. พืชไร้ดินเป็นอย่างไร
2. พืชไร้ดิน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร
3. มีพืชอะไรบ้างที่สามารถปลูกได้
4. พืชไร้ดินมีต้นทุนสูงอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ ค้นหาข้อมูลประวัติการปลูกพืชไร้ดิน ประเภท
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ - ภาษาไทย
อ้างอิง
นภดล เรียบเลิศหิรัญ. (2550) การปลูกพืชไร้ดิน. กรุงเทพมหานคร. สุวีริยาสาส์น
www. Thaime. hydrofarm.com
https://www.kroobannok.com/4822
https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=62307
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2301