เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์


710 ผู้ชม


MOU (Memorandum Of Understanding) ข้อตกลง บันทึกความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างครูกับผู้บริหาร   
https://radio.sanook.com/music/player/ไม่มีเธอจะบอกรักใคร-หญิง-ธิติกานต์/99946/

         เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์         วันนี้อากาศเย็นกว่าวันก่อน ๆ ใกล้เปิดเทอมแล้วนะ เหตุการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรรึ ครูเนาว์หยิบหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันมานั่งอ่านที่หน้าห้องพักครู เบื่อการเมืองจึงพลิกไปดูข่าวอื่นก็ยังเจอข่าวสารบ้านเมืองอีกจนได้ มาสะดุดข่าวที่กล่าวว่า  อัด "ระนองรักษ์" อืดยกเลิกสัญญาไทยคม จึงตั้งใจอ่านว่ามันคือสัญญาอะไร ระหว่างใครกับใคร

           เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ เมื่ออ่านจบจับใจความได้ว่า เมื่อวันที่27 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้สั่งการให้กระทรวงไอซีที พิจารณาร่วมกับกฤษฎีกาเพื่อยกเลิกสัญญาสัมปทานดาวเทียมกับบริษัท ไทยคม เพราะไทยคมกระทำผิดสัญญาข้อ 43ในการออกอากาศของพีเพิล ชาแนลการ กระทบด้านความมั่นคง และการยิงสัญญาณยิงไอพีสตาร์โดยมิชอบแต่ไทยคมไม่ดำเนินการ ทั้งนี้รัฐต้องพิจารณา2 ด้าน คือ คำนึงถึงประเด็นที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ไทยคมเป็นต่างชาติ และรัฐจะต้องสามารถชี้แจงเหตุผลการยกเลิกสัญญาสัมปทานให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่จนถึงขณะนี้เวลาผ่านไป 2-3 เดือนแล้วไอซีทีก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปใดๆ ได้ (คงต้องไปถามท่านรมว.ไอซีที) ส่วนรายละเอียดของข่าวนี้ต้องติดตามที่ หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน ประจำวันที่ 29เม.ษ.53หรือที่

เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์

ที่มา :  https://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=255924

เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ประเด็นของข่าว   เป็นประเด็นที่ครูเนาว์จะนำมาใช้ เกี่ยวกับการทำสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างผู้สอนกับฝ่ายบริหารในการปฏิบัติงาน ที่เรียกว่า MOU (Memorandum Of Understanding)ที่กำลังจัดทำและขยายผลสู่ครูที่สนใจ

เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้/ระดับชั้น  สำหรับครูเนาว์นำไปใช้สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และคิดว่าสามารถใช้ได้อีก7กลุ่มสาระฯ รวมถึงใช้ได้กับการปฏิบัติงานของครูอีกด้วย

เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์เนื้อเรื่อง  เนื้อหาสาระของMOU (Memorandum Of Understanding) เป็นอย่างไร มาคุยกัน ตามมาซิคะ

         เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์   หนูเล็ก   "สวัสดีค่ะครูเนาว์"
          เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ ครูเนาว์  "สวัสดีจ้ะหนูเล็ก หอบอะไรมากมายยังกะจะย้ายห้องแน่ะ"
         เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์   หนูเล็ก "เปล่าค่ะ หนูทำแผนการสอนยังไม่เสร็จจะเอากลับไปทำที่บ้าน จึงหอบไปใส่รถ เออ...ครูเนาว์ขา หนูมีเรื่องปรึกษา ได้ยินท่านผู้อำนวยการท่านพูดว่า MOU ของครูเนาว์ทันสมัย อยากให้เผยแพร่น้อง ๆ  หนูได้ยิยบ๊อย บ่อย แต่มีนคืออะไรล่ะคะ"
            เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ครูเนาว์  "อ๋อ  MOU (Memorandum Of Understanding)หมายถึง   ข้อตกลง  บันทึกความเข้าใจให้ตรงกัน ต้องประกอบด้วยสองฝ่าย  รายละเอียดเดี๋ยวเราคุญกันทีหลัง แต่สำหรับของพี่ พี่คิดว่า เราจะดำเนินการปฏิบัติงานแต่ละภาคเรียน เราต้องมีการเตรียมความพร้อม สำหรับพี่ ยึดหลัก PDCA คือ
          1. วางแผนการทำงาน เราเป็นครู ต้องวางแผนการสอน เตรียมหลักสูตร เนื้อหาวิชา สื่อการสอน แผนการสอน แหล่งเรียนรู้และเตรียมการวัดประเมินผล แนวทางในการแก้ปัญหา
          2. ดำเนินการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานสอน ให้สัมฤทธิ์ผลตามที่วางแผนไว้ 
          3. ตรวจสอบงานที่เราปฏิบัติ ถ้าเกิดปัญหา เราก็ดูว่ามาจากอะไร หาทาง แก้ปัญหา
          4. รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา
        เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์  หนูเล็ก " แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ MOU หรือข้อตกลงล่ะคะ"
         เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ครูเนาว์ " พี่ยังพูดไม่หมดจ้ะ  การปฏิบัติงานตามขั้นตอน PDCA ของพี่ 4ข้อนั้น จะเกิดผลดี ต้องมีผู้รับรู้ การที่จะให้มีผู้รับรู้  หนึ่งคือตัวเรา(เป็นสัญญาใจ) สองผู้บริหาร ให้ท่านรับทราบการทำงานของเรา เป็นที่ปรึกษาให้เรา และประการสุดท้าย เป็นหลักฐานที่เราจะเก็บไว้ทำงานวิจัยและผลงานทางวิชาการได้ด้วยนะจ๊ะ"

       เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ หนูเล็ก " แล้วทำอย่างไรล่ะคะ"
        เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ครูเนาว์ "เอาของวางแล้วมาดูตัวอย่างของพี่"
  1. เมื่อเราเตรียมวางแผน เรียบร้อยแล้ว ดำเนินการขออนุญาตใช้แผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายวิชาที่เรารับผิดชอบ
 2. เขียนการดำเนินการการทำข้อตกลงความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU)เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายวิชาที่รับผิดชอบ ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
  2.1 ความสำคัญของการทำข้อตกลงความเข้าใจ เช่น รายวิชาโครงงานประดิษฐ์ เป็นรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี  จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ระดับช่วงชั้นที่ 4  (มัธยมศึกษาปีที่ 6)  มีจำนวนนักเรียน 5 ห้องเรียน จำนวน 231 คน  จัดการศึกษาโดยนำมาตรฐานการศึกษา           ขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1  มาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของรายวิชา  จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(Ordinary National Educational Test: O-net)ของนักเรียน  ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ  ประกอบกับโรงเรียนมีนโยบายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติเพิ่มขึ้น  การประชุมเพื่อการ   วางแผนการดำเนินการร่วมกันของผู้สอนและกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทำให้เกิดการจัดทำข้อตกลงความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายวิชาโครงงานประดิษฐ์ขึ้น  และเพื่อให้เห็นความสอดคล้องของแผนพัฒนาการศึกษา กับการทำข้อตกลงความเข้าใจ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  จึงเสนอข้อมูลและแผนดำเนินการดังต่อไปนี้ คือวิสัยทัศน์  พันธกิจ   เป้าประสงค์ แผนดำเนินงานงาน  จุดเน้นการบริหารและการจัดการศึกษา และนโยบายการจัดการศึกษาของรายวิชา
 3. ขั้นตอนการทำข้อตกลง
 4. วิธีดำเนินการพัฒนา
 5. กำหนดมาตรฐานผู้สอนในรายวิชาที่รับผิดชอบว่าเราต้องรู้อะไร ต้องสอนอย่างไร ต้องได้ผลการสอนเป็นเช่นไร โดยมีขั้นตอนอย่างละเอียด แล้วลงนาม ประกอบด้วย
      5.1 ผู้สอนคือผู้ให้ข้อตกลง
      5.2 หัวหน้ากลุ่มสาระฯและรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการคือผู้รับข้อตกลง
      5.3 ผู้อำนวยการ ลงนามรับทราบข้อตกลงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
       เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์หนูเล็ก " หนูขอตัวอย่างครูเนาว์ไปดูได้ไหมคะ"
         เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ครูเนาว์ "ได้เลย ถ้าทำเสร็จเอามาให้พี่ดูบ้างนะ แล้วจะแนะนำว่าเมื่อสิ้นภาคเรียน เราจะรายงานการปฏิบัติงานอย่างไรให้สอดคล้องกับ MOU ที่เราทำ ดีไหม"
      เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์หนูเล็ก "ดีค่ะ มาหาครูเนาว์ทีไรได้เรื่องทุกที เอ๊ย ได้ความรู้ทุกที ขอบคุณมากนะคะ อ้าว...ไหนMOUครูเนาว์" 
        เติมให้เต็มด้วย MOUกับครูเนาว์ ครูเนาว์  " ลืมไป นี่จ้ะ(สำหรับท่านที่สนใจโหลดทั้งหมดที่นี่ค่ะ)

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปายของครู
            1. ครูจำเป็นต้องทำMOUหรือไม่
            2. MOUช่วยการปฏิบัติงานของครูได้จริงหรือ
            3. MOU มีการเปลี่ยนแปลง/แก้ไขระหว่างปฏิบัติงานได้หรือไม่

กิจกรรมเสนอแนะ
        เราควรจัดตั้งศูนย์ประสานงานและเครือข่ายของครูในการจัดทำMOU

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
      บทสรุปของ MOU สามารถบูรณาการได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกงานทุกฝ่าย เพื่อเป็นข้อตกลงหรือเป็นสัญญาหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน แล้วดำเนินการไปสู้เป้าหมายนั้นอย่างมีคุณภาพ ที่สำคัญคือเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ

ข้อมูลข่าวจาก     https://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=255924 
                       หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน ประจำวันที่ 29เม.ษ.53

ภาพการ์ตูนจาก  https://www.zabzaa.com/cartoon/index.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2317

อัพเดทล่าสุด