การเลือกอาหารมารับประทานในวันหนึ่งๆ เราต้องเอาใจใส่เพื่อที่จะให้ร่างกายได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
การเลือกรับประทานอาหารให้ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองไม่สิ่งที่ไม่ยากเกินไปเพียงแต่ให้เรามีเวลามาประกอบอาหารรับประทานเอง
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 เมษายน 2553 ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับ มูลนิธิชีววิถี หรือ Biothai เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ชุมชนคนรักป่า และสถาบันต้นกล้า ได้จัด "โครงการรณรงค์กินเปลี่ยนโลก" (Slow Food Thailand) เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจเรื่องวิกฤตของอาหาร เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของเรา โดยได้แนะนำการกินเปลี่ยนโลก โดย เพียงกินอาหารตาม 3 เงื่อนไขหลัก ๆ ดังนี้ คือ อาหารดีมีคุณค่า (Good)วัตถุดิบคุณภาพดี สดใหม่ใส่ใจในทุกขั้นตอนการปรุงเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ สะอาด (Clean)วัตถุ ดิบมาจากระบบการผลิตที่ปลอดสารเคมี และไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นธรรม (Fair) ราคาเป็นธรรมต่อผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อ โดย การมาปลูกกินเอง
และมาทำกินเอง
ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที่ 6 เมษายน 2553
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง การปลูกผักสวนครัว
มากิน...เปลี่ยนโลกกันเถอะ..ตอนที่ 1 จะนำเสนอเรื่องการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง คือ การปลูกผักบุ้งจีน
การปลูกผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีนเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกฤดูกาล แต่หากลงมือปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือช่วงต้นฤดูหนาวจะได้ผักบุ้งจีนที่ต้นอวบโตน่ารับประทานมาก
การเตรียมดิน
1. ขุดดินลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร
2. พลิกดินขึ้นตากแดด 7 -15 วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงย่อยดินให้ร่วนซุย
3. ก่อนปลูก 3 วัน ควรรดน้ำแปลงปลูกทั้งเช้าและเย็น
4. ก่อนลงมือปลูกควรหว่านปุ๋ยคอกในอัตราส่วนปุ๋ย 2 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตร และหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 -15 ในอัตราส่วน ปุ๋ย 30 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดให้เข้ากันดี
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
1. นำเมล็ดพันธุ์ที่คัดเลือกแล้วแช่น้ำประมาณ 12 ชั่วโมง
การปลูก
1. ทำร่องตื้น ๆ ตามแนวยาวหรือแนวขวางลงในแปลงปลูกให้มีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร
2 เมล็ดผักบุ้งจีนมาหยอดอย่างต่อเนื่องลงในร่อง
3. กลบดินทับเมล็ดผักหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
4. จากนั้นจึงหว่านปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 21 %(n) ตารางเมตร 15 กรัม
5. จึงค่อยรดน้ำให้ชุ่มตลอดทั้งแปลง
การดูแล
รดน้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งเช้าเย็น เพียง 3 วัน ผักบุ้งจะเริ่มงอก ถอนต้นผักบุ้งที่อ่อนแอออกจากแปลงให้เหลือเพียงต้นที่แข็งแรงและขยายระยะห่างของแต่ละต้นให้ห่างประมาณ 3 เซนติเมตร และหมั่นพรวนดินให้ร่วนโปร่งอยู่เสมอ
ศัตรูพืช
โรคราสนิมขาวเชื้อราชนิดนี้จะทำให้เกิดจุดสีขาวที่ใต้ใบและลำต้น
การรักษา ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียนกันไปเรื่อย ๆ เช่น คะน้า ผักกาดหอม ต้นหอม อย่าปลูกผักบุ้งเพียงอย่างเดียว
ระยะเก็บเกี่ยว
ผักบุ้งใช้เวลาเติบโตเพียง 22 วัน ก็สามารถนำมาบริโภคหรือนำไปจำหน่ายได้ นับว่าผักบุ้งเป็นผักที่ให้ผลผลิตได้เร็วมากอีกชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
วิธีการเก็บเกี่ยว
ก่อนการเก็บเกี่ยวควรรดน้ำให้ชุ่มแล้วถอนทั้งต้นและราก เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด ตัดแต่งใบและแขนงให้มีความยาว 10 – 12 นิ้ว จัดวางเรียงมัดเป็นกำบรรจุภาชนะจัดส่งตลาดต่อไป
คุณประโยชน์ของผักบุ้ง
ผักบุ้งนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง เช่นผัดผักบุ้งไฟแดง แกงส้ม เป็นต้น
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1.การปลูกผักบุ้งมีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไร
2.ผักบุ้งมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
- ศึกษาค้าคว้าเกี่ยวกับ การปลูกผักสวนครัวชนิดอื่นและทำรายงานส่งคนละ 1 เรื่อง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ที่มา
https://www.manager.co.th/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2343