เหตุการณ์ที่ราชประสงค์ จะเป็นอย่างไรน่ะ ? เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองในวันนี้มีความวุ่นวายทำให้ไม่สามารถทราบข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยท่านได้ขณะนี้คือการเข้าไปค้นหาข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บ Google
เหตุการณ์ที่ราชประสงค์ จะเป็นอย่างไรน่ะ ?
การใช้งาน Google
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับช่วงชั้นที่ 2 - 3
เหตุการณ์ที่ราชประสงค์ จะเป็นอย่างไรน่ะ ?
เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองในวันนี้มีความวุ่นวายทำให้ไม่สามารถทราบข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยท่านได้ขณะนี้คือการเข้าไปค้นหาข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บ Google
จะทราบได้อย่างไรว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไรก็ต้องมารู้จักเว็บ Google ว่าจะใช้งานได้อย่างไร
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1
เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com,
www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base)
ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th เมื่อเราพิมพ์ที่อยู่ www.google.co.th ลงในช่อง Addres
แล้วกด Enter จะปรากฏหน้าแรกของ Web Site ดังรูป
.jpg)
รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าค้นหาของ www.google.co.th โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ
1) เป็น Logo ของ www.google.co.th
2) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บ(Web Site)
3) เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหา ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ
4) เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usenet
5) เป็นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business, Gomes เป็นต้น ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็นแถบเข้ม
ที่เราเลือกไว้ โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกำหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ
6) เป็นช่องสำหรับใส่ค่า (keyward) ที่เราต้องการค้นหา
7) เป็นปุ่มกดสำหรับเริ่มการค้นหา
8) เป็นปุ่มสำหรับค้นหาเว็บอย่างด่วน โดยการค้นหาจะนำเว็บที่อยู่อยู่ในลำดับแรกที่อยู่ในลำดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิดให้ในหน้าถัดไปเลย
9) เป็นตัวเลือกสำหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาษา, ชนิดไฟล์, วันที่ เป็นต้น
10) เป็นตัวเลือกสำหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สำหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือในการค้นหา เช่น จำนวน เว็ปที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า
11) เป็นตัวเลือกสำหรับเครื่องมือเกี่ยวกับภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา
การใช้งาน Google ถ้าเราต้องการค้นหา คำว่าฟิสิกส์ เราทำได้โดยพิมพ์คำว่า ฟิสิกส์ ลงในช่องสำหรับใส่คำที่ต้องการค้นหา ( keyword) แล้วกดปุ่ม ค้นหาโดย Google
ประเด็นเสนอแนะ
1. ในนักเรียนศึกษาเว็บ Google ถึงส่วนประกอบต่าง ๆ
2. ให้นักเรียนลองค้นหาข้อมูล ประเภทต่าง ๆ เช่น แผนที่ตั้ง ภาพต่าง ๆ ข้อมูลข่าวสาร
การบูรณาการกับกลุ่มสาระ
1. สังคมศึกษา
2. ภาษาต่างประเทศ
แหล่งที่มาของข้อมูล
www.prc.ac.th/WORK/HANdy/.../การใช้งาน%20%20Google.doc
www.manacomputers.com/use-google-translate-better-performance
atcloud.com/stories/27804
arts.kmutt.ac.th/call/doc/google_in_thai.ppt
plynoi.exteen.com/20070312/google
ที่มาของรูปภาพ
https://www.komchadluek.net/media/img/size1/2010/04/06/ab576ajfhbh96b9fcchbb.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2540