สื่อที่น่าสนใจต้องมีองค์ประกอบมัลติมีเดีย


724 ผู้ชม


องค์ประกอบมัลติมีเดียต้องมี ข้อความหรือตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวิดีโอ (Video)   
   องค์ประกอบมัลติมีเดีย
        องค์ประกอบมัลติมีเดีย (ทวีศักดิ์  กาญจนสุวรรณ, 2546 : 3-7)  สามารถจำแนกองค์ประกอบของสื่อต่างๆได้เป็น  5 ชนิด  ประกอบด้วย  ข้อความหรือตัวอักษร (Text) ภาพนิ่ง (Still Image)  ภาพเคลื่อนไหว (Animation)  เสียง (Sound)  
และวิดีโอ (Video)
         การนำเอาองค์ประกอบทั้งห้ามาผสมผสานเข้าด้วยกัน  เพื่อใช้สำหรับการปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบ(Interaction) ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้  ซึ่งถือได้ว่า  เป็นกิจกรรมที่ผู้ใช้สามารถเลือกกระทำต่อมัลติมีเดียได้ตามต้องการ  ตัวอย่างเช่น  ผู้ใช้ได้ทำการเลือกรายการและตอบคำถามผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์  จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะทำการประมวลผล  แล้วแสดงผลลัพธ์ย้อนกลับผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะทำการประมวลผล  แล้วแสดงผลลัพธ์ย้อนกลับผ่านทางจอภาพให้ผู้ใช้เห็นอีกครั้ง
สื่อที่น่าสนใจต้องมีองค์ประกอบมัลติมีเดีย
1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)
         ข้อความหรือตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย  ระบบมัลติมีเดียที่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้จะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกำหนดคุณลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ) ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย
2. ภาพนิ่ง (Still Image) 
        ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย  ภาพวาด  ภาพลายเส้น  เป็นต้น  ภาพนิ่งนับว่ามีบทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรทั้งนี้  เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า  นอกจากนี้  ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ้งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรนั่นเอง  ซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจำกัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา  แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้ทุกชนชาติ  ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ  เป็นต้น
3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
        ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เช่นการเคลื่อนที่ของอะตอมภายในโมเลกุล  หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม  การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์  ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง
4. เสียง (Sound)
        เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย  โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล  ซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้  โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียง  หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ  จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้  เนื่องจากเสียงจะมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งนั่นเอง  ดังนั้น  เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมค์โครโฟน  แผ่นซีดี  เทปเสียง  และวิทยุ  
เป็นต้น
5. วิดีโอ (Video)
        วีดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก  เนื่องจากวีดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความ  หรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม  ปัญหาหลักของการใช้วีดิโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง(Real Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second)  ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดสัญญาณมาก่อน  การนำเสนอภาพเพียง1 นาที  อาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ส่งผลให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินไป  ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยตามไปด้วย  จนกระทั่งเทคโนโลยีการบีบอัดขนาดของภาพได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ภาพวีดิโอสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)
ที่มา : ทวีศักดิ์  กาญจนสุวรรณ.  2546.  Multmedia. ฉบับพื้นฐาน.  กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์.  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3230

อัพเดทล่าสุด