เกิดอะไรเมื่อคุณยายถูกจีบในวันสงกรานต์
อากาศสดชื่นยามเช้า แสงแดดค่อนข้างแรงสาดส่องเข้ามาถึงห้องนอนยายหนู เสียงเพลงจากนอกห้องนอนแว่วมา "สงกรานต์ สงกรานต์ สนุกสนาน.."
คุณยาย " ตื่นแล้วรึ เมื่อคืนนอนดึกมาก ยายเลยไม่ปลุก พ่อกับแม่ เขาเข้าครัวเตรียมอาหารไปวัด ลุกขึ้นอาบน้ำแต่งตัว แล้วยายจะเล่าเรื่องเพลงให้ฟัง"
ยายหนู " เรื่องอื่นๆด้วยนะคะ คุณยายกะคุณตาเล่าสนุ๊ก สนุก"
ในครัวเสร็จเรียบร้อย ทั้งอาหารคาวหวาน แกงเขียวหวานเนื้อ ขนมจีน และผักสดมากมาย ขนมหวานก็มี เมื่อยายหนูเสร็จเรียบร้อยก็เดินเข้ามาพร้อมคุณยาย หล่อนซักถามจนผู้ตอบตอบแทบไม่ทัน "ทำไมไม่มีขนมเคกล่ะคะ หนูชอบ
คณยายอธิบายว่า "เมื่อตื่นนอนถามยายว่าเพลงอะไร เป็นเพลงรำวงวันสงกรานต็ เขาจะเปิดกันทุกบ้าน ให้สนุกครื้นเครงไป อ้อ วันที่ 13 เมษายน ถือเป็นวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของคนไทย ยังเป็นวันครอบครัวและวันผู้สูงอายุ ทั้ง 3 วันนี้มีความผูกโยงเชื่อมร้อยกัน เป็นความงดงามของวัฒนธรรมไทย หนึ่งในนั้นคือวัฒนธรรมทางอาหาร เราเป็นคนไทย รู้ไหมว่าอาหารไทยมีประโยชน์มากมายอย่างไรอาหารไทยเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสมดุลครบ 5 หมู่อยู่ในสำรับหรือจานเดียว มีความสมดุลในเชิงรสชาติ เครื่องปรุง ส่วนประกอบของอาหาร เราไม่ได้โปรตีนจากเนื้อสัตว์มากเกินไปเหมือนสเต๊ก โดยได้สารอาหารหมู่ใดหมู่หนึ่งอย่างพอดี ไม่เกินมากไป
อาหารไทยมีเครื่องปรุงจากสมุนไพรมาก เช่น น้ำพริกกะปิ อีกทั้งยังรู้จักนำสมุนไพรมาปนกับเนื้อสัตว์ ออกมาเป็นแกง นึ่ง ยำ แจ่ว มีการผสมผสานได้อย่างลงตัว สมดุลรสชาติ เช่น แกงใส่มะเขือพวง ซึ่งมะเขือพวงมีสารทำให้กะทิลดความเลี่ยนลง กินแล้วไม่รู้สึกเลี่ยน และยังมีแคลเซี่ยมและธาตุเหล็กสูง และที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่อาหาร อยู่ที่เราอยู่ร่วมกัน กินข้าวด้วยกัน ครอบครัวก็มีแต่ความสุข เข้าใจไหมที่พูดมาตั้งยาว"
ยายหนู "เข้าใจค่ะ ก็ว่างั้นแหละ รู้แล้วว่าทำไมคุณแม่ดีใจ ตื่นเต้นก่อนวันสงกรานต์ตั้งหลายวัน อ๋อ จะได้มาบ้านคุณยายนี่เอง ส่วนคุณพ่ออยูฝ่ายเตรียมของใช้ เตรียมรถ แหะ ๆๆๆ เตรียมตังด้วย...หนูก็ได้เสื้อตัวใหม่ เอ มีของคุณยายกะคุณตาด้วยนี่นา"
.....เสียงหัวเราะอย่างมีความสุขของทุกคน ทำเอาคุณยายน้ำตาคลอด้วยความสุข และรีบบอกว่า " ไป ไป ไปวัดกันเถอะเดี๋ยวจะสาย"
ระหว่างทางคุณยายก็เล่าเรื่องวันสงกรานต์ให้ยายหนูฟัง
"สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปีการใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำการที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ"
ยายหนู " หนูเห็นเขาประกวดนางงาม (ทำไมไมีมีนางสาวงาม เด็กงามก็ไม่รู้..)"
คุณยาย " เขาเรียกนางสงกรานต์จ้ะ มีประวัติความเป็นมาอยากรู้รายละเอียดทำไมไม่เข้าไปอ่านในเว็ปไซต์ที่พ่อหล่อนเขียนล่ะจ๊ะ"
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C
ยายหนู " แล้ววันสงกรานต์เขาทำอะไรกันบ้างคะ"
คุณยาย" การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
การสรงน้ำพระการรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย
บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้
การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย
การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่
การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด
ยังมีแตกต่างกันไปแต่ละภาคอีกนะ"
คุณพ่อ" ยายหนูถึงวัดแล้ว เราทำบุญกันก่อนนะ กลับบ้านคุณยายจะเล่าให้ฟังใหม่ก็ได้"
คุณตาที่นั่งเงียบมาตลอด พูดขึ้นว่า "กลับบ้านตาจะเล่าให้ฟังสมัยคุณตายังหนุ่ม รู้จักกับคุณยายวันสงกรานต์"
ยายหนู"ตื่นเต้นจัง คุณตาจีบคุณยายอย่างไรรึ แหะๆๆๆ ฟังเขามาพูดค่ะ"
คุณแม่ ดุเอาด้วยเสียงขรึม"ยายหนูแก่แดดนะเรา พูดจาอะไรไม่รู้"
คุณพ่อ "จะไปดุแกทำไม่ก็เป็นเรื่องจริงเล่าสู่กันฟังก็ได้ เราสองคนก็จีบกันวันสงกรานต์มิใช่รึ สาดน้ำพ่อซะเปียกกลับบ้านไม่ได้ต้องมาเปลี่ยนเสื้อผ้า ตากให้แห้งบ้านคุณยายนี่ไง"
ทุกคนหัวเราะ
ยายหนูกระซิบข้างหูคุณยายว่า "อย่าลืมเพลงนะเจ้าคะคุณยาย"
คุณยาย " ได้เล้ย 555 ตอนนี้ร้องให้ฟังก่อน เดี๋ยวไปสอนกันที่บ้าน ฟังนะ...."
https://gotoknow.org/blog/goodsongs/176909
ขากลับจากวัด ระหว่างทางคุณยายก็เล่าเรื่องนางสงกรานต์ให้หลานรักฟัง(อ่านรายละเอียดได้ที่.....
อยากรู้ว่าช่วงบ่ายครอบครัวนี้มีอะไรมาฝาก
ติดตามในแผนการจัดสอนแทนที่ 8 ครั้งต่อไป คอยติดตามนะคะ
ขอบคุณ
https://www.thaifolk.com/doc/songkran.htm
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C
https://writer.dek-d.com/ok_bebe/story/view.php?id=227546
https://gotoknow.org/blog/goodsongs/176909
คุณยายกะคุณตาแห่งบ้านพระนครศรีอยุธยา
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3262