https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
จะหลับตาลงไปได้อย่างไรถ้าใช้ไอทีก่อนนอน MUSLIMTHAIPOST

 

จะหลับตาลงไปได้อย่างไรถ้าใช้ไอทีก่อนนอน


870 ผู้ชม


ผลการใช้ไอทีก่อนนอน   

        จะหลับตาลงไปได้อย่างไรถ้าใช้ไอทีก่อนนอน

        จากการสำรวจมาก่อนแล้วเกี่ยวกับผลของการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ
 แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่นที่มีการแสดงผลทางจอภาพ ว่าแสงที่ออกมาจากหน้าจออุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ มีผลต่อ
สุขภาพของมนุษย์เรา โดยล่าสุดมีผลวิจัยการใช้อุปกรณ์ไอทีก่อนนอนมีผลต่อการนอนหลับและเกิดปัญหา
ต่อสุขภาพของตามมา
  
                                           จะหลับตาลงไปได้อย่างไรถ้าใช้ไอทีก่อนนอน
                                                       ที่มารูปภาพ:สำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ

ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ โดย kittipanan | วันที่ 9 มีนาคม 2554
  
ประเด็นจากข่าว
     พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ไอทีก่อนนอนมีผลต่อการนอนหลับของมนุษย์

                                 จะหลับตาลงไปได้อย่างไรถ้าใช้ไอทีก่อนนอน
                                                   ที่มารูปภาพ:สำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ

เนื้อหาสำหรับ    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ทุกระดับชั้น

        ผลการสำรวจของมูลนิธิ National Sleep Foundation ของสหรัฐฯพบว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีปัญหาการนอนหลับ 
โดย 43% ของกลุ่มตัวอย่างมีปัญหานอนไม่หลับอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์  60% มีปัญหาตื่นนอนเร็ว นอนกรน และรู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน โดยสาเหตุของปัญหาการนอนหลับ นอกจากจะมาจากปัญหาชีวิต สภาพครอบครัว และหน้าที่การทำงาน สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ดร. ชาร์ลส์ ไซสเลอร์ ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 1,508 คน ช่วงอายุ13 ถึง 64 ปี พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้งานอุปกรณ์ที่มีหน้าจอเรืองแสงในช่วงเวลาก่อนเข้านอน จึงพอสรุปได้ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีก่อนเข้านอนเป็นประจำทำให้เวลาการในการนอนน้อยลง
        การศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่า 95% ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดย 6 ใน 10 ระบุว่าใช้คอมพิวเตอร์เป็นบางวัน แต่ในกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นถึงอายุ 30 ปี มากกว่าร้อยละ 50  ใช้งานเกือบทุกวัน
        จากการสำรวจ ทำให้เกิดการรับรู้ปัญหาที่อาจตามมาจากการใช้งานเทคโนโลยี ทำให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้ปรับพฤติกรรมส่วนตัวเพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่เสี่ยงต่อการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
        ต้นเหตุสำคัญคือพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่น ราว 1 ใน 10 คนไม่ยอมปิดเครื่อง จึงทำให้เวลานอนหลับลดลงเนื่องจากการโทรศัพท์คุยกับเพื่อนในช่วงกลางคืน  สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือปัญหาด้านการงาน การเรียน อารมณ์ ครอบครัว การขับขี่ พฤติกรรมทางเพศ และด้านสุขภาพสอดคล้องผลงานวิจัยการมองแสงไฟในเวลากลางคืนจะนำไปสู่ภาวะความดันเลือดสูง และมีความเกี่ยวพันกับสาเหตุการเกิดมะเร็ง
        ถึงแม้ผลการศึกษาจะเกิดจากชาวอเมริกันแต่ก็น่าเชื่อได้ว่าทุกประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีคงจะมีสภาพไม่ต่างกัน หากเราทราบแล้วว่าปัญหาที่จะตามมาจากการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมีอะไรบ้าง เราก็จะมีวิธีแก้หรือป้องกันปัญหานั้นอย่างไรทำให้คนเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น โดยที่เราไม่ต้องตกยุคกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
 

ที่มาวิดีโอ:https://youtu.be/hUh4JxwPfVk

ประเด็นคำถาม
 1.  อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์หรือไอทีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามีอะไรบ้าง?
 2.  สถิติปัญหาการนอนไม่หลับ?
 3.  เกิดปัญหาใดบ้างจากการใช้อุปกรณ์ไอทียุคปัจจุบัน?
 4.  การนอนหลับไม่เพียงพอมีผลต่อสุขภาพอย่างไร?
 5.  วัยรุ่นควรใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างไรจึงได้ชื่อว่าใช้อย่างฉลาด?

กิจกรรมเสนอแนะ
 1.  แบ่งกลุ่มศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีแต่ละชนิดให้หมาะสมกับวัยแล้วนำเสนอผลการศึกษา
 2.  ทำแผ่นพับความรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีแต่ละชนิด
 3.  ให้ทำสื่อCAI นำเสนอความรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีแต่ละชนิด

การบูรณาการกับวิชาอื่น
 1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
 3.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 4.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
 5.  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(แนะแนว)

แหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.thaihealth.or.th/sites/default/files/users/user-12897/5-2fewe12.jpg
https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTH_9uLKGPfpml5ggS4wZHu9kfc0HH8isqyLcvlM4JH8KXFXEJH
https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/21117 
หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

ผู้จัดทำ   ครูธาฏี  กองเจริญ  อุโมงค์วิทยาคมลำพูน

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3746

อัพเดทล่าสุด