เปิดตำรับ "ข้าวแช่" อาหารดับร้อนของคนโบราณ


1,158 ผู้ชม


ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีสภาวะอากาศที่ร้อนจัด ดังนั้นในหน้าร้อน คนไทยเราก็จะหาวิธีการดับร้อนในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารการกินที่จะช่วยคลายร้อนได้ ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะเป็นอาหารประเภทเย็น ๆ จึงขอแนะนำ   
เปิดตำรับ "ข้าวแช่" อาหารดับร้อนของคนโบราณ

ที่มา  https://www.oknation.net/blog/artemis-inside/2007/11/18/entry-1
 
ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม  ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย  ทำให้ประเทศไทยมีสภาวะอากาศที่ร้อนจัด
ดังนั้นในหน้าร้อน คนไทยเราก็จะหาวิธีการดับร้อนในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารการกินที่จะช่วยคลายร้อนได้ ซึ่งส่วนใหญ่
ก็จะเป็นอาหารประเภทเย็น ๆ จึงขอแนะนำเมนูคลายร้อนแบบโบราณ คือ ข้าวแช่  ที่มีทั้งความหอม ความหวาน และความเย็น  
ทั้งยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเราอีกด้วย
เนื้อหาสำหรับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี   ช่วงชั้นที่ 4
เนื้อเรื่อง  
     ข้าวแช่เป็นอาหารที่มีมาแต่โบราณ มีทั้งตำรับชาววังและแบบบ้าน ๆ เป็นอาหารที่ศิลปะแฝงอยู่ในโภชนาการ  มีวิธีการปรุงที่ละเมียดละไม
ใช้ความประณีตบรรจง  และมีขั้นตอนในการทำหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพ อร่อยถูกปากและถูกใจ ประกอบไปด้วยข้าวสวยและเครื่องเคียง
ที่ใช้รับประทานคู่กัน ซึ่งวิธีการทำมีดังนี้
1. วิธีการหุงข้าว  เริ่มจากการเลือกใช้พันธุ์ข้าว โดยพันธุ์ข้าวที่ใช้จะใช้ข้าวจ้าวพันธุ์ชัยนาทผสมกับข้าวจ้าวพันธุ์ กข11  เพราะมีลักษณะของเมล็ดข้าวที่แข็งกว่าพันธุ์อื่น ๆ
เมล็ดยาว เรียว สวยงาม น่ารับประทาน  จากนั้นหุงข้าวโดยการต้มน้ำให้เดือด ใส่ข้าวลงไปในหม้อโดยไม่ต้องซาวน้ำ คนไปเรื่อย ๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง จนข้าวสุกพอดี
ระวังอย่าให้ข้าวสุกเกินไปหรือแข็งเกินไป  จากนั้นนำข้าวที่สุกแล้วมาล้างในน้ำเย็น และขัดเมือกรอบ ๆ เมล็ดข้าวออกให้หมด จนเมล็ดข้าวขาวเนียน  นำมาผึ่งให้แห้ง
โดยใส่ในผ้าขาวบาง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยพร้อมรับประทาน

2. วิธีการทำเครื่องเคียง  เนื่องจากการรับประทานข้าวแช่ให้อร่อยต้องรับประทานกับเครื่องเคียง คือ ปลาหวาน และกะปิผัด (ลูกกะปิ) ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้
  2.1 ปลาหวาน  จะใช้เนื้อปลากระเบนหั่นเป็นชิ้น ๆ นำไปต้มประมาณครึ่งชั่วโมงจนปลาสุก นำมาฉีกเป็นชิ้นลอกหนังและแกะก้างออกให้เหลือแต่เนื้อล้วน ๆ 
นำเนื้อปลาไปล้างน้ำ 4 น้ำให้หมดคาว นำไปโขลกหยาบ ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาเคี่ยวกับน้ำตาลโตนด ปรุงรสด้วยเกลือ เคี่ยวจนแห้ง
นำมาผัดกับน้ำมันก็รับประทานได้
  2.2  กะปิผัด  เริ่มจากการนำกะปิ  กระเทียม หอม กระชาย ตะไคร้และพริกไท มาปั่นรวมกัน นำไปผัดกับน้ำมัน  จากนั้นนำกุ้งแห้ง กุ้งสด ถั่วคั่ว มะพร้าวคั่ว
น้ำตาลโตนดและเกลือ ปั่นรวมกัน จากนั้นนำส่วนผสมทั้ง 2 ชุด มาผัดรวมกันจนส่วนผสมเข้ากันทุกอย่าง แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ
  2.3 ผสมแป้งหมี่ แป้งข้าวจ้าวและไข่เป็ด เข้าด้วยกัน นำกะปิผัดที่ปั้นเป็นก้อนไว้แล้วมาชุบแล้วนำไปทอดในน้ำมัน โดยใช้ไฟกลาง ๆ ให้เหลืองและ
มีลักษณะกรอบนอกนุ่มใน พร้อมรับประทาน

3. วิธีการทำน้ำแช่ข้าว  จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำอบควันเทียนและน้ำลอยดอกมะลิ 
 การทำน้ำอบควันเทียน คือ การ
นำน้ำใส่ภาชนะไปอบควันเทียนทิ้งไว้ข้ามคืน ตอนเช้านำมากรองเศษเทียนออก
การทำน้ำลอยดอกมะลิ คือ การนำน้ำใส่ภาชนะนำดอกมะลิลอยทิ้งไว้ข้ามคืน ตอนเช้านำมากรองเอาดอกมะลิออก
จากนั้นนำน้ำทั้งสองอย่างมาเทรวมกัน
ประเด็นคำถาม    ชื่อของ ข้าวแช่ น่าจะมีที่มาจากอะไร   ข้าวแช่จัดอยู่ในอาหารประเภทใด   ข้าวแช่ประกอบไปด้วยสารอาหารชนิดใดบ้าง
              การรับประทานข้าวแช่น่าจะมีอยู่ที่จังหวัดใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ   ลองรับประทานข้าวแช่กับเครื่องเคียงชนิดอื่น ๆ ดูบ้าง  เช่น หมูหวาน  หรือเนื้อสวรรค์ ผักต่าง ๆ
การบูรณาการกับสาระวิชาอื่น ๆ    1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
             2. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
             3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาของข้อมูล  ที่มา      https://www.thairath.co.th/content/life/169643
        https://www.oknation.net/blog/artemis-inside/2007/11/18/entry-1
ที่มาของภาพ https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/163/5163/images/130420748.jpg
                      https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/163/5163/images/pr_kao.jpg
                      https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/163/5163/images/kaochae_2.jpg
  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3814

อัพเดทล่าสุด