มาเริ่มต้นใช้งานกับแผนการสอนครูเนาว์ ปี2555


781 ผู้ชม


การสร้างหลักสูตรเพิ่มเติม รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์   

สวัสดีค่ะ พี่น้อง เพื่อนครูชาวสหวิชาและผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมเยือนทุกท่าน

    ห่างหายไปนาน เนื่องด้วยภาระงานที่มากมาย แต่มิได้ลืมพวกเรา ขณะนี้พอมีเวลามาคุยกัน ก็ขอนำเรื่องราวดีๆมาฝาก  ปีการศึกษานี้ ครูเนาว์ได้รับมอบหมายงานสอนรายวิชาเพิ่มเติม งานดอกไม้ประดิษฐ์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 จึงได้ปรับและสร้างหลักสูตร นำเสนอมา เพื่อผู้สนใจสามารถนำไปใช้ ปรับใช้ พร้อมทั้งติชม เพิ่มเติม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นะคะ
พบกับการสร้างหลักสูตรของครูเนาว์ได้ ณ บัดนี้

ภาพที่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของความภูมิใจในผลงานของนักเรียน และก่อนที่จะเข้าสู่การสร้างหลักสูตร ขอนำท่านทำข้อตกลงกับฝ่ายบริหารถึงการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ของครูเนาว์ ก่อนนะคะ แล้วครั้งต่อไปจะเข้าสู่ส่วนที่เป็นการสร้างหลักสูตรและส่วนของแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไปค่ะ

การทำข้อตกลงความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU)

เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายวิชา ง30239 งานดอกไม้ประดิษฐ์
---------------------------------

  ความสำคัญของการทำข้อตกลงความเข้าใจ  (Memorandum of Understanding  : MOU)

             รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี  จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มัธยมศึกษาปีที่ 6  มีจำนวนนักเรียน 3 กลุ่ม จำนวน 129 คน  จัดการศึกษาโดยนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร   มาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของรายวิชา  จากการศึกษาวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(N.T.)ของนักเรียน  ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ  ประกอบกับโรงเรียน      มีนโยบายยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติเพิ่มขึ้น  การประชุมเพื่อการ      วางแผนการดำเนินการร่วมกันของผู้สอนและกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทำให้เกิดการจัดทำข้อตกลงความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์ขึ้น และเพื่อให้เห็นความสอดคล้องของแผนพัฒนาการศึกษา กับการทำข้อตกลงความเข้าใจ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  จึงเสนอข้อมูลและแผนดำเนินการดังต่อไปนี้

วิสัยทัศน์  พันธกิจ   เป้าประสงค์ แผนดำเนินงานงาน และนโยบายการจัดการศึกษาของรายวิชา
           แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2552-2555  ของรายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552  ได้กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และนโยบายการจัดการศึกษา ไว้ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)                                                                                                                                                   

         มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเกิดสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปฏิบัติจริง ให้คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่าง     ต่อเนื่อง

พันธกิจ  (Mission)
1.  พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
 2. จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเป็นคนดี  มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด  มีสมรรถนะในการ  สื่อสาร   การคิด  การแก้ปัญหา    การใช้ทักษะชีวิต  และด้านเทคโนโลยี                                                                          3.   กิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้ และมีค่านิยมที่พึงประสงค์                                                      4.    สร้างจิตสำนึกให้ผู้เรียนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5.   ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 
6.   นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์  (Cooperate Objective) ภายในปีงบประมาณ 2555  
            1.  ผู้เรียน ร้อยละ 90  มีคุณภาพตามมาตรฐาน ระดับดีขึ้นไป    
            2.  ผู้เรียนร้อยละ 80  มีผลการสอบ N.T. สูงขึ้น
            3.  ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย
                  -  มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  
                  -  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 
                  -  มีกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
                  -  มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการเรียนรู้
                  -  มีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้
            4.  ชุมชนและผู้ปกครองเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  การใช้แหล่งเรียนรู้  การสืบสานประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 
            5.   จัดการศึกษาบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จุดเน้นการบริหารและการจัดการศึกษารายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์  ปีการศึกษา 2555
1.การจัดทุกแห่งให้เป็นแหล่งเรียนรู้
 2.การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.การปลูกฝังคุณธรรม  นำความรู้ 
4.มุ่งงานสอนเป็นหลัก
5.การมีจิตเอื้ออาทร
6.การประหยัด
7. การรายงานผลงานทางวิชาการ

การทำข้อตกลงความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU)
            ผู้สอนจัดทำข้อตกลงเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระหว่างผู้สอนกับสาระการเรียนรู้แบ่งเป็น  2  ประเภท  ได้แก่
              1. ข้อตกลงความเข้าใจ เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นการนำเสนอข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกชั้น ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ระดับผลการเรียน 1.0 –4.0  ในปีการศึกษาที่ผ่านมา นำมาวางแผนกำหนดเป้าหมายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษาปัจจุบัน  ดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้  เมื่อดำเนินการวัดผลประเมินการศึกษาประจำปีแล้ว  จะนำผลการพัฒนามาเปรียบเทียบกับตัวเลขที่ตั้งเป้าหมายไว้    
              2. ข้อตกลงความเข้าใจ เกี่ยวกับผลการทดสอบ      N.T. ของผู้เรียน โดยนำผลการดำเนินการทดสอบในปีการศึกษาที่ผ่านมา  วางแผนกำหนดเป้าหมายการพัฒนา  ดำเนินการพัฒนาในปีการศึกษาปัจจุบัน  แล้วนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้

ขั้นตอนการทำข้อตกลง
            1. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร่วมกันวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบ N.T. กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในภาพรวม
            2. ผู้สอน  กำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบ O-net   
            3. จัดทำข้อตกลงความเข้าใจการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ กับโรงเรียน
           4. ดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่ทำข้อตกลงไว้
           5. กลุ่มสาระการเรียนรู้ติดตามผล  ประเมินผลการดำเนินการ 
           6. ผู้สอนและกลุ่มสาระฯ ร่วมกันวิเคราะห์ผลการพัฒนา เพื่อจัดทำรายงานและนำผลการพัฒนาไปปรับปรุงคุณภาพการศึกษาต่อไป

วิธีดำเนินการพัฒนา
             ตามข้อตกลง  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  และผู้สอนจะร่วมกันพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  วางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ได้แก่ 
           1. ผู้สอนศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล  หรือรายกลุ่ม  
           2. ผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน  
           3. ผู้สอนจัดทำ  จัดหา และใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้   
           4.  ผู้สอนจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เน้น  การสร้างวินัยเชิงบวก 
           5.  ผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research : CAR.) เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาผู้เรียน 

กำหนดมาตรฐานผู้สอนรายวิชางานดอกไม้ประดิษฐ์  เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   พึงพัฒนาคุณภาพของตนเองและการปฏิบัติงาน  ดังนี้
           1. มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายการจัดการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
               1.1  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2542
              1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาที่ตนรับผิดชอบ
          2. มีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล
              2.1 รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล
             2.2  วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
             2.3 จัดทำข้อมูลความพร้อม  ศักยภาพของผู้เรียนตามพัฒนาการ ความพร้อม  ความถนัดของผู้เรียน และนำไปประกอบการวางแผนการจัดการเรียนรู้ 
         3.  มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
             3.1  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน และที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้นั้น 
             3.2  ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  ดูแลช่วยเหลือ  เตรียมแหล่งเรียนรู้  เตรียมสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ให้บริการแก่ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้  
         4.  มีความสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน
              4.1 ใช้เทคโนโลยีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองและผู้เรียน
              4.2  ผลิตสื่อ และใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาผู้เรียน
         5. มีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการของผู้เรียน
               5.1  ประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน  คือ  ความรู้  กระบวนการ  เจตคติ
               5.2  ประเมินผลการเรียนตามสภาพจริง (มีคู่มือการวัดประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง)
               5.3  บันทึก และรายงานผลการจัดการเรียนการสอน 
         6. มีการนำผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
             6.1 นำผลการประเมินการเรียนการสอนมาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ
             6.2จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR.) ของครู
           7. มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน
                7.1 มีผลงานการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
                7.2 นำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

ลงชื่อ                                              ผู้ให้ข้อตกลง            ลงชื่อ                                               ผู้รับข้อตกลง

          ( นางเนาวรัตน์  ตั้งยะฤทธิ์)                                             ( นางเนาวรัตน์  ตั้งยะฤทธิ์)                                         

                         ผู้สอน                                          หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

คามคิดเห็นรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                          ลงชื่อ                                                      ผู้รับข้อตกลง

                                                                        (นายสุพจน์  รักธรรม )

                                                               รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ

คามคิดเห็นผู้อำนวยการ..........................................................................................................................................

                     (ลงชื่อ)

(นายนาวี  ยั่งยืน )

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี

วันที่       เดือน                   พ.ศ. 2555

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4668

อัพเดทล่าสุด