การเรียนรู้ทางเชาว์ปัญญา (mental skills; Knowledge)


765 ผู้ชม



แอนเดอร์สันและคราธโว ( 2001) ได้เปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางเชาว์ปัญญา หรือ การเรียนรู้ด้าน พุทธิพิสัย ของบลูม  
การเรียนรู้ทางเชาว์ปัญญา (mental skills; Knowledge) แอนเดอร์สันและคราธโว ( 2001) การเรียนรู้ทางเชาว์ปัญญา หรือ การเรียนรู้ด้าน พุทธิพิสัย อ้างถึงใน สิริอร วิชชาวุธ. 2554: 136-137) ได้เปลี่ยนแปลงประเภทการเรียนรู้ ของบลูม เพื่อให้สามารถเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้ชัดเจนขึ้น และเป็นไปตามที่ปฏิบัติจริงมากขึ้น เป็น 6 ขั้น ดังนี้ 1. ความจำ (Remember) บุคคลจะสามารถค้นคืน สังเกตเห็น ระลึกข้อมูลหรือหลักการที่ตนเคยประสบมาได้จากความจำระยะยาว ได้แก่ การสังเกตรู้ได้ (recognizing) หรือชี้ตัวได้ (identifying) และระลึกได้ (recalling) 2. ความเข้าใจ (Understand) บุคคลสามารถที่จะสร้างความหมายจากคำพูด ข้อเขียนหรือข้อมูลจากกราฟ ผ่านการตีความ การจัดประเภท การย่อสรุป การอ้างอิง การเปรียบเทียบและการอธิบาย การยกตัวอย่าง การย่อความ 3. การประยุกต์ (Apply) บุคคลสามารถนำเอาความรู้ ข้อมูล หลักการหรือทฤษฎีไปใช้ในชีวิตจริง หรือนำเอาสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ในสถานการณ์ใหม่ ได้แก่ การดำเนินการได้สำเร็จ (executing) การนำไปใช้ (implementing) 4. การวิเคราะห์ (Analyze) การแตกองค์ประกอบของสิ่งที่รู้ออกเป็นส่วนย่อย ๆ รู้ว่าข้อมูลหรือหลักการนั้น ๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง 5. การประเมินผล (Evaluate) บุคคลสามารถประเมินตัดสิน ตรวจสอบและวิจารณ์ส่งที่เรียนรู้ข้อมูล หลักการ ทฤษฎีได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ การตรวจสอบ (checking) การตัดสินและการวิจารณ์ (critiquing) 6. การสร้างสรรค์ (Create) บุคคลสามารถนำสิ่งต่าง ๆ มารวมกันใหม่ให้สามารถทำหน้าที่ของมันได้จนเป็นผลผลิตต้นฉบับ ได้แก่ การก่อกำเนิด (generating) การสร้างสมมติฐาน (hypothesizing) การวางแผน (planning) การออกแบบ (designing) การผลิต (producing) การสร้างขึ้นมา (constructing) ที่มา : สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://www4.uwsp.edu/education/lwilson/curric/newtaxonomy.htm https://www.yimlamai.net/creative-space.html 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4693

อัพเดทล่าสุด