ดนตรีในวิถีชีวิตของเรา


498 ผู้ชม


ในชีวิตประจำวันของเราล้วนมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา   

ดนตรีในชีวิต


ที่มาของภาพ : คาราบาว24

ชีวิตคนเราเกิดมาในช่วงระยะเวลาหนึ่งมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือว่าทุกอริยาบทที่แสดงออกทางอินทรีย์5 ก็มีความเกี่ยวข้องกับดนตรี ในชีวิตคนเราพูดถึงปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตแต่ในปัจจุบันอาจมีปัจจัย 5 เข้ามาเกียวข้องคือ โทรศัพท์มือถือก็มีเสียงเพลงเรียกว่าแสดงออกความเป็นอัตตาของตนเอง ในสังคมด้านธุรกิจเพลงก็สามารถทำรายได้มหาศาลให้กับผู้ประกอบการ  ทุกเทศกาลงานๆต่าง ชีวิตมีความสุข ความทุกข์ ดีใจ ฉลองความสำเร็จก็มีบทเพลงเข้ามาเกี่ยวข้อง
มาดูว่าความต้องการของของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ด้านใหญ่ๆคือ
1.ความต้องการทางกาย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย
2.ความต้องการทางจิตใจ ได้แก่ ชื่มชมความงามของธรรมชาติ ศิลปะต่างๆ นาฎศิลป์ ดนตรี
1.ดนตรีกับชีวิตประจำวัน  ในชีวิตประจำวันคนเราต้องเกี่ยวข้องกับดนตรีอยู่เสมอมีกจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของ    ชีวิต
เช่นตื่นนอน        เปิดเพลงฟังขณะทำงานต่างๆ  หรือเดินทาง
ถึงโรงเรียน        ร้องเพลงชาติ
ขณะเรียน          ใช้เพลงประกอบการเรียนโดยเฉพาะอนุบาลและประถมศึกษาต้องใช้มากกว่าบทร้องอื่นๆในโรงเรียนโดยเฉพาะใช้  
                          ดนตรีประกอบกิจกรรมต่างๆ
กลับบ้าน          พักผ่อนดูโทรทัศน์ฟังเพลง เพลงจากวิทยุรายการโทรทัศน์จะขาดเพลงหรือดนตรีไม่ได้
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
    1.นักเรียนที่เรียนดนตรี จะมีสมาธิและตรรกวิทยาดีขึ้น จนมีผลให้การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนสูงขึ้น
    2.ในด้านธุรกิจเสียงดนตรีในระดับที่พอดี  จะช่วยกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำงานอารมณ์ดีมีความขยันขันแข็ง ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น
2.ความสำคัญของดนตรี     อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    2.1ความสำคัญต่อบุคคล ได้แก่
        - เป็นเครื่องระบายอารมณ์ เช่น เพลงเศร้า เพลงรัก
        - เป้นเครื่องกระตุ้นและสร้างอารมณ์ เช่น เพลงมาร์ช เพลงประกอบภาพยนต์
        - เป็นอาชีพได้อย่างหนึ่ง
    2.2ความสำคัญต่อส่วนร่วมหรือสถาบัน ได้แก่
        -ใช้เป็นสัญลักษณ์ เช่น เพลวชาติ เพลงประจำโรงเรียน
        - เป็นเครื่องบำรุงจิตใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
        - ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การจัดมหกรรมคอนเสริตท์ต่างๆทำให้ผู้ที่มีรสนิยมดนตรีคล้ายกันมารวมตัว
          ก่อให้เกิดรายได้
        - เป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมมักจะมีเพลงเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ 
3.ดนตรีคืออะไร
    ดนตรี คือ เสียงต่างๆที่เกิดขึ้นโดยมีเจตนาและมีระบบ ระบบเสียงของดนตรีมีหลายระบบแต่ที่รู้จักกันมากคือ ระบบบันไดเสียง
 เสียงสัตว์ร้อง เสียงโรงงานอุตสาหกรรม เสียงรถยนต์  ไม่ถือเป็นเสียงดนตรีเพราะว่าไม่มีการจัดระบบของเสียง
4.การฟังดนตรี ควรมีลักษณะดังนี้
    4.1 ขยายขอบเขตการฟัง คือ แสวงหาการฟังดนตรีแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยฟังมาก่อนอยู่เสมอ
    4.2 รู้จักเลือกฟังเพลงที่มีคุณค่า มีรสนิยมที่ดีในการฟังเพลง
    วิธีฟังเพลง อาจแบ่งเป็น 3 ระดับได้ดังนี้
    4.3 การฟังโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปิดวิทยุเบาๆขณะทำงาน
    4.4 การฟังโดยความตั้งใจ ทำให้เกิดอารมณ์อ่อนไหวไปกับเพลง ทั้งนี้ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกับเพลงที่กำลังฟังอยู่
    4.5 การฟังโดยความเข้าใจ คือตั้งใจฟังและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีโดยทั่วๆไป เช่นความรู้ด้านวิวัฒนการของดนตรี และความรู้ทฤษฎีของดนตรี
5.มารยาทในการฟังดนตรี
    5.1ไม่ทำความรำคาญให้แก่ผู้อื่น
    5.2 ควรเข้านั่งที่ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มการแสดงดนตรี
    5.3 ไม่ควรนำเอาของขบเขี้ยวเข้ารับประทานด้วย
    5.4 ไม่ควรคุยหรือ กระซิบกระซาบกับเพื่อนที่ไปด้วย
6.ประเพณีการฟังดนตรี
    6.1 แต่งกายให้สุภาพ หรือตามที่นิยมแต่ล่ะประเทศแต่ล่ะสมัย
    6.2 ให้เกียรติและแสดงความชื่นชมแก่ผู้แสดงโดยการปรบมือเมื่อถึงจังหวะ
        6.2.1การปรบมือในการฟังดนตรี
            - เมื่อหัวหน้าวงเดินออกมาประจำที่
            - เมื่อผู้อำนวยเพลงหรือผู้แสดงเดี่ยวเดินออกมา
            - เมื่อจบเพลงแต่ล่ะเพลง
            - เมื่อการแสดงทั้งหมดสิ้นสุดลง
        6.2.2การปรบมือในการชมการแสดงอุปรากร ควรปรบมือในโอกาสต่อไปนี้
            - ขณะผู้อำนวยเพลงเดินออกมา
            - เมื่อวงดนตรีเล่นเพลงโหมโรงจบแล้ว
            - เมื่อร้องเดียวร้องเพลงเดี่ยวจบแต่ล่ะเพลง
            - เมื่อจบฉากแต่ละฉาก
            - เมื่อจบการแสดงทั้งสิ้น
        ดนตรีเป็นสิ่งที่สวยงามถ้าเราใช้ในทางสร้างสรรค์สังคมก็จะน่าอยู่เพราะโลกนี้จะเป็นสีชมพูไปที่แห่งไหนก็มีเสียงเพลงและความสุขกับรอยยิ้มของผู้คนที่สดใส
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์สาระที่ ๒   ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๑   เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก 
ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ระดับชั้น ม.3 หรือช่วงชั้นที่ 3
ประเด็นคำถาม
1.ความต้องการทางด้านจิตใจคืออะไร
2.ดนตรีหมายถึงอะไร
3.ดนตรีเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอะไรบ้าง
4.การฟังดนตรีมีกี่ระดับ
5.มารยาทในการฟังดนตรีมีอะไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนลองวิเคราะห์ดูว่ากิจกรรมดนตรีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมีอะไรบ้างเขียนมา 5 ข้อ
การบูรณาการ
สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาและวัฒนธรรม
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
แหล่งที่มาของข้อมูล
https://media.techeblog.com/images/pavement_1.jpg
https://www.carabao2524.com/board/images/2008/03/Carabao2524_00002428004.jpg 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=328

อัพเดทล่าสุด