ละครแบบสร้างสรรค์


781 ผู้ชม


สาระ และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ละครแบบสร้างสรรค์   

           จากบทความพบกันวันอังคาร ของเลขากพฐ. วัน อังคาร ที่ 2 มิ.ย. 52 
         
  หน่วยงานการศึกษาของเราสามารถทำงานด้านนี้ได้อย่างดี เริ่มจากโครงการนำนักเรียนทัศนศึกษาที่จะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนหน้า ตลอดไปจนถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ เกี่ยวกับมัคคุเทศก์น้อย การพัฒนาศิลปะการแสดง  ผลผลิต หรือ การดูแลอนุรักษ์ชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้สะอาดงดงาม
(ที่มา พบกันทุกวันอังคาร )
             
           จากคำกล่าวของเลขา กพฐ. ในเรื่อง การพัฒนาศิลปะการแสดง ให้แก่ผู้เรียนนั้น เราสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์)  เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตรได้ ดังนี้

มาตรฐานการเรียนรู้ 
        สาระที่  3 :  นาฏศิลป์
                   มาตรฐาน ศ 3.1 :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์  ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิด     อย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                    มาตรฐาน ศ. 3.2  :   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์  และ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม   ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

คลิกเพื่อดาวน์โหลดแผนจัดการเรียนรู้ เรื่อง สะครแบบสร้างสรรค์ 

สาระการเรียนรู้
    
         ละครแบบสร้างสรรค์   แบ่งได้เป็น  5  ประเภท ได้แก่ 
              1. ละคร
              2. หุ่น
              3. ละครใบ้
              4. การแสดงละครโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า
              5. การแสดงบทบาท
          
          
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำละครแบบสร้างสรรค์มาใช้เกี่ยวกับการเรียนการสอนมีมากมายหลายประการ    เช่น  ทำให้บทเรียนน่าสนใจช่วยให้เรื่องที่เรียนเป็นจริงเป็นจังขึ้น และช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
                                              ละครแบบสร้างสรรค์
                                                                    ที่มาภาพ

  
          1. ละคร    คือ  การแสดงที่เป็นเรื่องราว  เกิดจากความขัดแย้งของมนุษย์  ซึ่งแสดงออกมา ในรูปของการ สนทนา  และถ่ายทอดไปสู่ผู้ดูโดยการพูดและการแสดงท่าทางบทเวที

ละครแบบสร้างสรรค์
ที่มาภาพ

        2. หุ่น   แยกประเภทได้หลายอย่างคือ  หุ่นหนังตะลุง  หุ่นเสียบไม้  หุ่นกระบอก หุ่นสวมมือ  และหุ่นสวมนิ้ว

ละครแบบสร้างสรรค์
ที่มาภาพ

         3. ละครใบ้   คือ  การแสดงโดยใช้ท่าทางและส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายแทนคำพูด  หรือการกระทำของตัวละครนั้น ๆไม่มีการพูด (บทสนทนา)  ในละครประเภทนี้เลย

ละครแบบสร้างสรรค์
ที่มาภาพ

         4. การแสดงละครโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า   การแสดงละครแบบนี้  ผู้แสดงแต่งบทสนทนาเอาเอง  การแสดงมักแสดงเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 – 6  คน  ให้เวลาที่จะแต่งบทสนทนาประมาณ 8 – 10  นาที และแสดงตามบทซึ่งเตรียมไว้

                                             ละครแบบสร้างสรรค์
                                                                        ที่มาภาพ
       
           5.   การแสดงบทบาท   เป็นการแสดงที่ไม่มีการซ้อม  หรือการเตรียมตัวมาก่อนโดยที่ผู้แสดงลืมตัวเองไปชั่วขณะ  แสดงบทบาทไปตามลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่องและเรื่องที่แสดงนั้นมักมีปัญหาซึ่งตัวผู้แสดงต้องหาวิธีแก้ปัญหานั้นให้ได้ 
          เช่น  ครูอ่านเรื่องที่เป็นปัญหาในนักเรียนฟัง  เริ่มเรื่องว่ามีเด็กชายหรือเด็กหญิงคนหนึ่ง  ซึ่งพบกับปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ  จนกระทั่งถึงจุดสุดยอดของเรื่อง ซึ่งสมมติให้เด็กคนนั้นจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกหนทางให้พ้นจากปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้  เรื่องที่ครูอ่านยุติไว้เท่านั้น  
        ต่อไปต้องเป็นเรื่องของนักเรียน ครูกำหนดตัวผู้แสดงตามเรื่องแทนเด็กคนนั้น  แทนตัวที่ก่อปัญหาขึ้นและอื่น ๆ  พอลงมือแสดงนักเรียนก็แสดงไปตามบทบาท ที่คิดว่าเป็นหนทางแก้ปัญหาที่ทิ้งค้างไว้นั้นให้ได้  เมื่อแสดงเสร็จผู้ดูก็อภิปรายติชม   วิธีแก้ปัญหาของตัวนำในเรื่องตามที่เขาดูถ้าทุกคนลงความเห็นว่า  การแก้ปัญหาตามที่ผู้แสดงไปนั้นใช้ไม่ได้    ก็ต้องแสดงใหม่โดยนักเรียนคนเดิมหรือเปลี่ยนคนแสดงใหม่
                                      ********************************


ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  แนวความคิดใดบ้างที่สามารถนำมาทำกิจกรรมละครแบบสร้างสรรค์
         -  เราจะมีวิธีการเลือกตัวละครให้ความเหมาะสมของบทละครอย่างไร
         -  เราจะพัฒนาความสามารถในการแสดงละครได้อย่างไร
         -  เราสามารถสร้างบุคลิกภาพและความเชื่อมั่นในตนเองได้อย่างไร
        -  เราจะนำความรู้ละครแบบสร้างสรรค์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
        
 เชื่อมโยงในองค์ความรู้
        สาระการเรียนรู้ศิลปะ     
                 (ทัศนศิลป์)  วาดภาพ สร้างสรรค์งาน ตามจินตนาการ 
                 (ดนตรี) เครื่องดนตรี เพลงประกอบการแสดง
                 (นาฎศิลป์) ท่าทาง อากัปกริยาในการแสดง
         สาระการเรียนรู้ภาษาไทย        การพูดต่อหน้าชุมชน  การอ่าน และเขียนบทละคร  
         สาระการเรียนรู้สังคมฯ              สภาพสังคม  วัฒนธรรมประเพณี 
         สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์      ทักษะกระบวนการคิด และทำงานแบบวิทยาศาสตร์
         สาระการเรียนรู้กอท.                การประดิษฐ์อุปกรณ์ประกอบฉากที่ใช้ในการแสดง


 
เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
        -  นำนักเรียนศึกษาเรียนรู้ ประสบการณ์รับชมการแสดง
        - ให้นักเรียนช่วยกันเขียนบทละครแบบสร้างสรรค์
         - ให้นักเรียนช่วยกันเลือกตัวละครตามความเหมาะสมของบทละคร
         - ให้นักเรียนช่วยกันออกแบบเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดงอย่างง่าย ๆ  ตามความเหมาะสม
        -  จัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันการแสดงละคร
        -  จัดกิจกรรมการแสดงละครสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนในโอกาสสำคัญในโรงเรียน
 

 อ้างอิงข้อมูล
แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปะชช.2
 https://www.obec.go.th 
https://img114.imageshack.us 
https://158.108.70.5/2550 
https://www.bangkoktheatrefestival.com 
https://talk.mthai.com
https://www.abpl.ac.th

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=576

อัพเดทล่าสุด