การละเล่นที่ใช้แสดงในงานพระราชพิธ๊
ความหมายการละเล่นของหลวงฉบับสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 หมายถึงการละเล่นของหลวงที่มีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์หมายถึง การละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่ได้หมายความว่า แสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้ เท่าที่ปรากฏในหนังสือต่างๆ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ระเบ็ง โมงครุ่ม กุลาตีไม้แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิง คือ นางเถ้าแก่เล่นระเบ็งแทนชาย ในงานโสกันต์ พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ ๕ พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์
เนื้อหาสำหรบกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่ 2
ที่มาภาพ www.img231.imageshack.us
บทร้องประกอบกุลาตีไม้
ศักดานุภาพล้ำ แดนไตร
สิทธิครูมอบให้ จึงแจ้ง
ฤทธาเชี่ยวชาญชัย เหตุใคร นาพ่อ
พระเดชพระคุณปกเกล้า ไพร่ฟ้าอยู่เย็น
กุลาตีไม้ ไม่มีดนตรีประกอบ ผู้เล่นจะแบ่งเป็นกลุ่มจำนวนคู่ นั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหากันล้อมเป็นวงกลม มีไม้กำพตประกอบการแสดง เริ่มเล่นด้วยการร้องแล้วตบมือให้เข้ากับจังหวะ แล้วจะหยิบไม้กำพตตีเป็นจังหวะ แล้วลุกขึ้นแล้วหันไปตีกับคนซ้ายและขวา ท่าที่ขยับย่างเท้าและใช้ไม้กำพตตีกันจะเป็นไปตามจังหวะเพลงที่ร้อง ทำซ้ำๆ เรื่อยๆ
การแต่งกาย ผู้เล่นแต่งกายเหมือนกันทุกคน ท่อนล่างนุ่งสนับเพลา นุ่งผ้าเกี้ยวทับสนับเพลาท่อนบนสวมเสื้อคอตั้งแขนยาว ปล่อยชายไว้นอกผ้านุ่ง มีผ้าคาดพุง ศีรษะสวมเทริด
ที่มาภาพ www.pics.manager.co.th/Images
โมงครุ่ม เป็นการละเล่นมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้เล่นถือกระบองสั้นแต่มีด้ามยาว มีกลองประกอบการเล่น แต่งกายการแต่งกาย ผู้เล่นแต่งกายเหมือนกันทุกคน ท่อนล่างนุ่งสนับเพลา นุ่งผ้าเกี้ยวทับสนับเพลาท่อนบนสวมเสื้อคอตั้งแขนยาว ปล่อยชายไว้นอกผ้านุ่ง มีผ้าคาดพุง ศีรษะสวมเทริด
เมื่อเริ่มเล่นคนตีโหม่งจะร้อง"อีหลัดถัดทา" และตีโหม่ง ๒ ทีแล้วบอกท่าต่างๆ ผู้เล่นจะยักเอวซ้ายที ขวาที จะร้อง "ถัดถัดท่า ถัดท่าท่าถัด" จนกว่าคนตีโหม่งจะให้สัญญาณเปลี่ยนท่า ผู้ตีโหม่งจะรัวสัญญาณให้ผู้เล่นหยุดยืนอยู่กับที่ด้วยวิธีร้องบอกว่า "โมงครุ่ม" ตีโหม่ง ๒ ที ผู้เล่นจะใช้ไม้กำพตตีหนังกลอง ซ้ายที ขวาที ผู้ตีโหม่งจะรัวสัญญาณให้ผู้เล่นหยุด แล้วบอกท่าต่อไป
ประเด็นคำถาม
การละเล่นกุลาตีไม้ และโมงครุ่ม มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1) ให้นักเรียนลองฝึกหัดการละเล่นกุลาตีไม้
2) ให้นักเรียนตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว
บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ด้านการอ่าน การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
www.guru.sanook.com
www.kanchanapisek.or.th
www.newswit.com/
แหล่งอ้างอิงภาพ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=588