การจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการวดภาพระบายสี
ประชาสัมพันธ์โครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมจัดโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ในเขตภาคเหนือ 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 18-21 มิ.ย. 2552 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัย 4 สาขา ได้แก่ สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาการวาดภาพแสดงเรื่องราว สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์)และสาขาการขับร้องประสานเสียง (ที่มาข่าว)
ก่อนที่เยาวชนผู้รักในศิลปะจะเข้าร่วมโครงการนี้ เราก็ควรมาทำความเข้าใจกับเน้อหาของศิลปะ และฝึกปฏิบัติเพื่อความคุ้นชินและซึมซับ สร้างสรรค์ จินตนาการสู่หัวใจศิลปะในลำดับต่อไป
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
สาระการเรียนรู้ " การวาดภาพระบายสี "
คลิกเพื่อดาวน์โหลดแผนการจัดกิจกรรมการวาดภาพ
การวาดภาพระบายสี หมายถึง การขูด ขีด เขียน ระบายด้วยสีชนิดต่าง ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน มีลักษณะสองมิติคือกว้างและยาว ส่วนมิติที่สามคือความตื้นลึกนั้นอยู่ที่ความรู้สึกของผู้ที่ได้ชมภาพนั้น ๆ การวาดภาพระบายสีแบ่งตามวิธีการสร้างภาพได้ดังนี้ คือ
ที่มาภาพ
1. ภาพลายเส้น เป็นการนำเสนอด้านการวาด ขีด ขูด เขียนลากให้เกิดเส้นหรือร่องรอยด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งลงบนวัสดุรองรับเพื่อสื่อความหมายหรือจินตนาการ ภาพลายเส้นนี้อาจมีความสมบูรณ์ในตัวหรือเป็นเพียงเส้นร่างก็ได้ และอาจแต่งเติมด้วยสีเพื่อสร้างแสงเงาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มนุษย์เรารู้จักการวาดภาพลายเส้นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว
ที่มาภาพ
2. ภาพระบายสี เป็นการนำสีมาระบายผสมกลมกลืนให้เกิดน้ำหนักแสงเงา และสีสันตามที่ต้องการ การวาดภาพระบายสียังรวมไปถึงการสร้างภาพ เช่น การหยดสี สลัดสี เป่าสี ขูดสี พับสี ฯลฯ
" รูปแบบการวาดภาพลายเส้นและภาพระบายสี "
ที่มาภาพ
1. รูปแบบเหมือนจริง เป็นการวาดภาพแบบเหมือนจริงหรือเหมือนธรรมชาติทั้งรูปร่าง รูปทรงแสงเงา และสีที่ปรากฏ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ ภาพคน ภาพทิวทัศน์ ภาพสัตว์ และภาพหุ่นนิ่ง
ที่มาภาพ
2. รูปแบบตัดทอนรูปทรง เป็นการวาดภาพ โดยการตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก และเพิ่มส่วนที่ต้องการเพื่อให้เกิดความงาม
ที่มาภาพ
3. รูปแบบจินตนาการ เป็นการวาดภาพตามจินตนาการของตน
" ขั้นตอนการวาดภาพระบายสี "
1. วาดแผน
- กำหนดเป้าหมายการวาดภาพ เช่น หัวข้อ เนื้อหา รูปแบบ
- ศึกษาวิธีการวาดภาพระบายสี
- วาดแผนกำหนดวิธีการวาดภาพระบายสี
2. ปฏิบัติ
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อุปกรณ์การวาดภาพระบายสี
- สี (สีน้ำ สีโปสเตอร์ ดินสอสี ฯลฯ)
- จานสี
- พู่กัน
- ดินสอร่างภาพ
- กระดาษวาดเขียน
- กระดานรองเขียน
- ภาชนะใส่น้ำ
- ผ้าเช็ดสี
วิธีการวาดภาพระบายสี
1. ออกแบบ ในการออกแบบชิ้นงานตามเป้าหมายที่กำหนดและความต้องการโดยร่างภาพลงบนกระดาษก่อน จนได้รูปแบบที่พอใจ
2. ร่างภาพ ร่างภาพตามที่ออกแบบไว้ลงบนกระดาษวาดเขียน
3. ปฏิบัติ ลงมือวาดภาพระบายสีตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สวยงาม
4. ตรวจสอบผลงาน วาดภาพระบายสีว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ตามกระบวนการดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายการตรวจสอบ
2. สำรวจชิ้นงาน
3. พิจารณาหาข้อบกพร่องของผลงาน ทบทวนกระบวนการทำงานว่าแต่ละขั้นตอนเป็นไปตามแผนหรือไม่
4. ปรับปรุงผลงาน
ซึ่งถ้าผลของการตรวจสอบพบข้อบกพร่อง ให้ปรับปรุงแก้ไขผลงานตามลักษณะที่พบ ตามกระบวนการดังนี้
1. พิจารณาขอบเขตของปัญหา ข้อบกพร่อง
2. คิดวิธีปรับปรุงแก้ไขที่จะเป็นไปได้
3. เลือกวิธีที่ดีที่สุด
4. ปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขผลงาน
5. ตรวจสอบผลของการปรับปรุงแก้ไข
เชื่อมโยงในองค์ความรู้
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เขียนเรื่องราวจากภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยถ่ายทอดเป็นบทความ
สาระการเรียนรู้สังคมฯ วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของชาวไทยที่เกี่ยวข้อง นำมาเป็นแนวคิดในการวาดภาพระบายสี
ทุกสาระการเรียนรู้ วาดภาพระบายสีในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้นั้น ๆ
เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
- จัดกิจกรรมค่ายศิลปะ
- จัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันทักษะการวาดภาพ นำเสนอผลงานนักเรียน
- ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์
ข้อคำถามสานต่อความคิด
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพมีอะไรบ้าง
- กระบวนการเตรียมตัวก่อนจะวาดภาพเป็นอย่างไร
- อธิบายขั้นตอนในการวาดภาพ
อ้างอิงที่มา
www.cri4.waenlor.com
www.tarad.com
www.oknation.net
https://learners.in.th
https://bric.exteen.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=597