Wonder gay วันเดอร์เกย์ เด็กไทย เต้นโนบอดี้ คนดูเป็นล้านผ่าน Youtube ค่ายเพลงไทย จองตัวออกอัลบั้ม
เมื่อเอ่ยถึงวงนักร้องเกาหลี สาวสวย คงไม่มีใครไม่รู้จัก Wonder girl เพราะนักร้องทั้งสวย น่ารัก เสียงดี และเพลงเพราะมาก
ภาพจาก https://content.mthai.com
แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งของไทยที่ชื่นชอบการแสดงออก ด้วยการเต้นรำ ร่วมกันเต้น Cover เพลง Nobody ทั้งชุดนักเรียน ก่อน Post ให้เพื่อนกลุ่มเดียวกันมาดู แต่กลับกลายเป็นกระแสฮอต คนเข้ามาดูเป็นล้านผ่านYoutube ล่าสุด ค่ายเพลงวัยรุ่นของ RS Zheza เชิญมาออกเทป เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้กับคนฟัง จึงได้พยายามปลุกปั้นพวกเขาให้ได้ออกอัลบั้มสักหนึ่งชุด ภายใต้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Wonder Gay
ภาพจาก www.i.ytimg.com
สำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็นผลงานการเต้น Cover ของพวกเขา วันนี้ เรานำเอา Clip การแสดงของพวกเขามาให้ชมกันพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็ Click ไปได้เลย
เนื้อหากลุ่มสระการเรียนรู้ศิลปะ เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นม.4-6
หลักในการออกแบบลีลาสร้างสรรค์
บุคคลที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้จะต้องเป็นผู้ที่สั่งสมประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ บูรณาการความรู้ต่างๆ แล้วเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ อันเป็นกระบวนการในการประดิษฐ์ลีลาท่าเต้น ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งแปลกใหม่ หรือเป็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ลีลท่าเต้นที่มีอยู่เดิมให้แปลกออกไป
หลักในการออกแบบลีลาสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
1) ความคิดรวบยอด (Concept) หมายถึง สาระสำคัญของเรื่องราวที่ใช้เป็นตัวกำหนดในการสร้างสรรค์ลีลา
2) ดนตรี (Music) ดนตรีเป็นปัจจัยหลักที่ผูประดิษฐ์ลีลาสร้างสรรค์จะต้องคำนึงถึง จังหวะช้า - เร็ว ต้องผสมกลมกลืนกับความคิดรวบยอดและลีลาท่าเต้น
3) ท่าเหมือน (Symmetry) ในการประดิษฐ์ลีลาสร้างสรรค์ ผู้ประดิษฐ์อาจใช้ท่าเหมือน คือ ลักษณะท่าทางที่ผู้เต้นในกลุ่มเต้นท่าเดียวกัน เช่น มีผู้เต้นในกลุ่มเต้นท่าเดียวกันหมด ในจังหวะเดียวกัน
4) ท่าไม่เหมือน (Asymmetry) ผู้ประดิษฐ์อาจเลือกใช้ท่าไม่เหมือน คือ การที่ผู้เต้นทำท่าต่างกันในจังหวะเดียวกัน เช่น มีผู้เต้น 5 คน ผู้เต้น 3 คนจะทำเหมือนกันแต่อีก 2 คน จะทำท่าแตกต่างจากกลุ่มแรก เป็นต้น
5) ลำดับท่า (Step in Exercise) หมายถึง การเรียงลำดับท่าเต้นจากท่าหนึ่งไปศุ่อีกท่าหนึ่ง จะต้องให้สอดคล้องกันอย่างกลมกลืน ไม่ขัดตา
6) การใช้พื้นที่บนเวที (Stage Space) หมายถึง การจัดตำแหน่งผู้เต้นบนเวทีหรือพื้นที่ในการแสดง ผู้ประดิษฐ์ลีลาการเต้นจะต้องใช้พื้นที่ให้หมดทุกส่วน ทิศทางการเคลื่อนไหว การจัดระยะคู่เต้น การกำหนดช่องไฟระหว่างคู่ ระหว่างแถว เป็นต้น
7) การแปรแถว (Floor pattern) คือ การจัดรูปแบบแถวต่างๆ เช่น แถวตอน แถวหน้ากระดาน แถวสลับฟันปลา แถวรูปตัววี แถวปิรามิด เป็นต้น
ตัวอย่างในการจัดรูปแบบการแปรแถว
แถวตอนลึก
แถวสลับฟันปลา
แถวปิรามิด
แถวรูปตัววีหงาย
แถวรูปตัววีคว่ำ
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย
1) นักเรียนคิดว่าการเต้นไม่ว่าจะเลียนแบบหรือคิดท่าเต้นเองมีประโยชน์ต่อเราในด้านใดบ้าง
2) บุคคลที่จะสามารถสร้างสรรค์ลีลาต่างๆได้นั้นต้องมีลักษณะอย่างไร
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้พละศึกษา สุขศึกษา
โดยสามารถนำไปใช้กับกิจกรรมเข้าจังหวะได้
อ้างอิงแหล่งที่มาจาก
สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์และสุมนรตี นิ่มเนติพันธ์ หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ศิลปะ นาฏศิลป์ม.4-ม.6.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=599