แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)


1,122 ผู้ชม


แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการวาดภาพ "แสงและเงา" สามารถปรับใช้ได้เลย   

          
            ประชาสัมพันธ์โครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย  จาก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 18-21 มิ.ย. 2552 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   (ที่มา ข่าว)
  
          
  ก่อนที่เยาวชนผู้รักในศิลปะจะเข้าร่วมโครงการนี้ เราก็ควรมาทำความเข้าใจกับเนื้อหาของศิลปะ และฝึกปฏิบัติเพื่อความคุ้นชินและซึมซับสร้างสรรค์ จินตนาการสู่หัวใจศิลปะ  เรามาเรียนรู้ภาพศิลปะ แสงและเงากันต่อเลยครับ
         
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


สาระการเรียนรู้   การวาดภาพแสง เงา

คลิกเพื่อดาวน์โหลดแผนการจัดกิจกรรมการวาดภาพแสงเงา   
  

                                           แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)
                                                                   
           ภาพแสงและเงา เป็นภาพที่เกิดจากการนำเอาแสงและเงามาประกอบภาพโดยวางตำแหน่งของแสงและเงาให้มีความสมดุลกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดภาพที่สวยงามได้

                                              แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)
                                                                         ที่มาภาพ
   
 
          แสงช่วยทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ  ได้อย่างชัดเจน  นอกจากนั้น  แสงยังทำให้เกิดเงาของวัตถุ  ซึ่งเงานี้ จะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแสงเสมอ   
           ทั้ง แสงและเงา  ช่วยทำให้เกิดระยะ  ความตื้นลึกของภาพ  ในการเขียนภาพระบายสี  เราสามารถใช้ สีต่าง ๆ แสดงแสงและเงาได้

 

                                                   แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)    
                                                                           ที่มาภาพ      
  
           ดังนั้น แสงและเงาและสี จึงเป็น องค์ประกอบสำคัญของการเขียนภาพระบายสี ส่วนของวัตถุที่ไม่ถูกแสงจะมืด 
 เรียกว่า  เงามืดของวัตถุ  และ เงาของวัตถุที่ตกลงยังพื้น  เรียกว่า  เงาตกทอด 

                                                   แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)     
                                                                          ที่มาภาพ 
           
             เงาตกทอด  จะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น ๆ  เช่น  วัตถุรูปสี่เหลี่ยม  เงาตกทอดก็เป็นสี่เหลี่ยม  เหมือนรูปร่างของวัตถุนั้น  ๆ  เงาจะชัดหรือไม่ชัดอยู่ที่แสง  ถ้าแสงสว่างจัด เงาก็จะชัด  ถ้าแสงสว่างน้อย เงาก็ไม่ชัด
                                                แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)
  
                                                                      ที่มาภาพ      

           แสงที่ส่องมายังวัตถุมีด้วยกัน  2   ชนิด  คือ  แสงจากดวงอาทิตย์ และ  แสงจากดวงไฟ  แสงที่ส่งจากดวงอาทิตย์จะส่องเป็นเส้นขนาน   ส่วนแสงที่ส่องมาจากดวงไฟจะเป็นแสงกระจายรอบตัวเป็นรัศมี

                                           แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)  
                                                                          ที่มาภาพ     

            ในการเขียนภาพระบายสี สิ่งต่าง ๆ  นั้น  จำเป็นต้องมี แสงและเงา ด้วยเสมอ  เพื่อให้ภาพนั้นเหมือนจริงตามธรรมชาติ วัตถุด้านที่ถูกแสงจะสว่างการระบายสีต้องใช้สีอ่อน    วัตถุด้านที่ไม่ถูกแสงจะมืด  เรียกว่า  เงามืด  การระบายสี  ต้องใช้สีแก่   
         ถ้าวัตถุนั้นกลม ก็จะต้องระบายสีจากอ่อนไปหาแก่  ส่วนเงาของ วัตถุ ที่เรียกว่า  เงาตกทอด  ต้องระบายสีเข้ม  เงาตกทอด จะสั้นหรือยาวนั้น  อยู่ที่ความสูงของแสงจากดวงอาทิตย์ ถ้าในตอนเช้าหรือเย็น  เงาตกทอดก็จะยาวดวงอาทิตย์สูงขึ้น  เงาตกทอดก็จะสั้นลง  ในเวลาเที่ยง  เงาตกทอดจะมีน้อยที่สุด

                                            แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2) 
                                                                         ที่มาภาพ

           ความงดงามของภาพแสงและเงา  เกิดจากการจัดวางวัตถุให้ได้รับแสงที่พอเหมาะ  และอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงพอสมควร
           ดังนั้น  การเขียนภาพแสงและเงาที่ดี  ต้องแสดงน้ำหนักของแสงและเงาให้เหมาะสมได้สัดส่วน
 
          
วิธีเขียนภาพแสงและเงาให้สวยงาม  

         1.  วาดภาพลายเส้นของภาพถ่ายหรือภาพต้นแบบ
                                               แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2) 
                                                                                ที่มาภาพ
  
          2.   เขียนน้ำหนักแสงและเงาตามที่เห็นจากภาพต้นแบบ  โดยไล่น้ำหนักจากอ่อนไปเข้ม  ดังนี้
                          1)  ส่วนที่เป็นแสงสว่างของภาพหรือส่วนที่โดนแสง   ให้เขียนเส้นหรือแรเงาเบาบาง
                          2)  ส่วนที่เป็นเงามืดของภาพ  ให้เขียนเส้นหรือแรเงาเข้มตามลำดับ

          3.  เขียนเงาของภาพให้ทอดนอนไปกับพื้นตามแนวการส่องของแสงโดยเงาต้องมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับภาพต้นแบบ

                                              แสงและเงา_ความสมดุลแห่งศิลป์ (2)
                                                                             ที่มาภาพ

ข้อคำถามสานต่อความคิด  
         -  แสงและเงามีความสำคัญต่อภาพวาดอย่างไร
         -  ความคิดและจินตนาการมีผลต่อการลงแสง และเงาของภาพวาดอย่างไร
         -  เราจะพัฒนาทักษะทางทัศนศิลป์ได้อย่างไรบ้าง
  
เชื่อมโยงในองค์ความรู้  
        
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย         เขียนเรื่องราวจากภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยถ่ายทอดเป็นบทความ
          สาระการเรียนรู้สังคมฯ             วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิตของชาวไทยที่เกี่ยวข้อง นำมาเป็นแนวคิดในการวาดภาพระบายสี
         ทุกสาระการเรียนรู้                   วาดภาพระบายสีในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้นั้น ๆ
      

 เพิ่มเติมเต็มกันและกัน  
        -  จัดกิจกรรมค่ายศิลปะ อย่างสร้างสรรค์ 

        -  จัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันทักษะการวาดภาพ  นำเสนอผลงานนักเรียน
        -  ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ  หอศิลป์  พิพิธภัณฑ์

 

  อ้างอิงข้อมูล  
www.cri4.waenlor.com 
www.thaigoodview.com 
https://nuxanime.exteen.com 
 https://i572.photobucket.com 
www.klongdigital.com 
www.mood.in.th 
https://images.wit76.multiply.com 
www.artgazine.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=633

อัพเดทล่าสุด