การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา


1,838 ผู้ชม


พิธีกรรม ความเชื่อศรัทธา สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น   


                                                 การเลี้ยงดง  พิธีโบราณล้านนา
 
              เทศบาลต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ร่วมกับชาวบ้านได้จัดงานประเพณีสืบสานตำนาน "การเลี้ยงดง" ซึ่งเป็นพิธีกรรมบูชายัญด้วยกระบือ บวงสรวง  ดวงวิญญาณของ ปู่แสะ - ย่าแสะ  ผู้ปกป้องดอยคำ และเมืองเชียงใหม่   (ที่มา หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ ที่ 8 มิ.ย. 52 )

            จากข่าวสู่การศึกษาเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่หลายคนยังไม่ทราบ  ประเพณีความเชื่อ  ศรัทธา ของจิตใจ  เรามาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเปิดโลกทัศน์ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภายใต้หัวใจคนไทยด้วยกัน


สาระการเรียนรู้   
         
           พิธีกรรมความเชื่อทางศิลปวัฒนธรรม  (พิธีกรรมการเลี้ยงดง บูชาสังเวยผีปู่แสะ ย่าแสะ)

                                        การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                                                   ร่างทรง ปู่แสะ (ที่มาภาพ)

ความเป็นมา  และความสำคัญ ของพิธีกรรมเลี้ยงดง 
               สำหรับพิธีกรรมเลี้ยงดง ของชาวเชียงใหม่นั้นจัดขึ้นติดต่อกัน 100 กว่าปีแล้ว โดยตำนานปู่แสะย่าแสะ ในอดีตมีเมืองหนึ่งชื่อ บุพพนคร  เป็นเมืองชนเผ่าลัวะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง ชาวบ้านแห่งนี้อยู่กันแบบไม่เป็นสุขเพราะถูกยักษ์ 3 ตน ยักษ์พ่อแม่ลูก จับเอาชาวเมืองไปกินทุกวันๆ จนชาวเมืองต้องหนีออกจากเมืองเนื่องจากกลัวยักษ์ ต่อมาพระพุทธเจ้า รับรู้ความเดือดร้อนของชาวเมืองลัวะ จึงได้เสด็จมาโปรดและแสดงอภินิหาร แสดงธรรม 
ให้ยักษ์สามตนได้เห็น จนยักษ์สามตนนั้นเกิดความเลื่อมใส และให้ยักษ์ทั้งสามตนสมาทานศีลห้าสืบไป ต่อมายักษ์ทั้งสามตนนึกได้ว่าพวกตนเป็นยักษ์ต้องประทังชีวิตด้วยการกินเนื้อ จึงได้ขอพระพุทธเจ้ากินควายปีละ 1 ตัว พระพุทธเจ้าไม่ตอบ ยักษ์ทั้งสามตนจึงได้ไปขอกับเจ้าเมืองลัวะ ซึ่งทางเจ้าเมืองก็ได้นำควายมาถวายให้ปีละ 1 ตัว และยักษ์ก็จะดูแลชาวบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป ซึ่งยักษ์ตัวพ่อชื่อปู่แสะ ยักษ์ตัวแม่ชื่อย่าแสะ หลังสิ้นสมัยปู่แสะย่าแสะ
 แล้วชาวบ้านชาวเมืองก็ยังเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์อยู่และหวังให้ปู่แสะย่าแสะ ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา พร้อมช่วยกันดูแลชาวบ้านชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข  จึงได้มีพิธีเซ่นดวงวิญญานที่เรียกกันว่า เลี้ยงดง ตลอดจนถึงปัจจุบันนี้  
(ที่มาข้อมูล  https://chiangmainews.co.th  )
              และอีกตำนานกล่าวไว้ว่า  เป็นตำนานที่ปฏิบัติ ด้วยแรงศรัทธาและความเชื่อ พิธีบวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะ หรือ ประเพณีเลี้ยงดงการกินเลือดและเนื้อควายสดๆ ของร่างทรงปู่แสะ เป็นพิธีที่ชาว ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี โดยพิธีบวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะ หรือประเพณีเลี้ยงดงนั้น จะจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี

                                                การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา   
                                                                    อัญเชิญพระบฏ (ที่มาภาพ)    

            โดยพิธีกรรมเริ่มขึ้นที่ศาลปู่และย่าแสะ ที่เชิงเขาวัดดอยคำ เพื่ออัญเชิญพระบฏหรือ ภาพเขียนพระพุทธเจ้าและดวงวิญญาณปู่แสะย่าแสะผ่านร่างทรงที่เรียกว่า "ม้าขี่" ไปยังสถานที่จัดพิธีเลี้ยงดง บริเวณป่าเชิงเขาทางทิศตะวันออกของวัดพระธาตุดอยคำ
                                            
                                                              
               สำหรับเรื่องราวของปู่แสะ ย่าแสะนั้น เล่าสืบต่อกันมาว่า ปู่แสะย่าแสะคือยักษ์ 2 ตนที่อยู่ในตำนาน เป็นยักษ์นิสัยดุร้าย ชอบกินเนื้อคนและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์ ทราบความเข้าจึงห้ามยักษ์สองตนไม่ให้กินคน ยักษ์จึงต่อรองขอกินสัตว์หูยาวแทนและเมื่อละเว้นการฆ่าคนได้ พระพุทธเจ้าจึงให้ยักษ์ 2 ตน เป็นผู้ดูแลรักษาดอยคำและ ดอยสุเทพให้ผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่บนดอยนั้นอยู่เย็นเป็นสุข
              ต่อมาในสมัยของพระเมกุฏิ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนทุกข์เข็ญอย่างมาก จึงเชื่อกันว่าเพราะเจ้าเมืองไม่มีการทำพิธีเซ่นไหว้ปู่แสะ ย่าแสะ 
         การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนาการเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                 (ที่มาภาพ) 
                                                   ร่างทรงปู่แสะ ซดเลือดและเนื้อสดๆ        ที่มาภาพ
 
                                                                            
             กระทั่งในสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย ในราวปี พ.ศ.2452-2482 จึงได้มีการฟื้นฟูประเพณีเลี้ยงดงหรือ พิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะ ขึ้นอีกครั้งทำให้บ้านเมืองมีความเจริญ และปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน พิธีดังกล่าว จะใช้เครื่องเซ่นไหว้ คือ ควายรุ่น เขาเพียงหู กีบเท้าสีน้ำผึ้ง  กล่าวคือยังไม่เคยลงไถคราดดิน มาชำแหละเอาเครื่องในออกและนำตัวมานอนแผ่ไว้ในคอก โดยพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มขึ้นเมื่อดึงผ้าพระบฏหรือภาพวาดพระพุทธเจ้าที่มีอายุกว่าร้อยปีขึ้นสู่ต้นไม้และแกว่งไปมา
                                                           การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                                                          ที่มาภาพ
               ทั้งนี้มาจากตำนานที่เล่าไว้ว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้กับยักษ์ปู่แสะย่าแสะว่า ตราบใดที่เราตถาคตยังเคลื่อนไหวอยู่ ห้ามยักษ์นั้นกินเนื้อมนุษย์และทำร้ายมนุษย์ จากนั้นเมื่อปู่แสะลงร่างทรง ร่างทรงปู่แสะก็จะลงมากินเนื้อควายสดๆ และดื่มเลือดควายอย่างเอร็ดอร่อย พร้อมเดินไปรอบๆ เนื้อตัวเปรอะเปื้อนไปด้วยคราบเลือดและเศษเนื้อควาย นอกจากนี้ยังพูดคุยเสียงดังด้วยภาษาพื้นเมือง ซึ่งใจความว่า มนุษย์พวกนั้น ที่มันอยู่ที่นี่ แล้วเอาที่ไปขายกิน มันจงพินาศฉิบหาย กูจะไปกินมัน นอกจากนั้นร่างทรงปู่แสะ  ยังสั่งสอนเตือนสติชาวบ้านให้ประกอบแต่กรรมดีและรู้จักรักและหวงแหนผืนป่า

                                           การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                                          ร่างทรงดืมเครื่องเซ่นสังเวย (ที่มาภาพ)
           นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกอบต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในฐานะผู้จัดงานปีนี้เล่าถึงวัตถุประสงค์ของพิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะว่า ตั้งแต่เกิดจนถึงตอนนี้อายุ 41 ปี ก็ได้เห็นพิธีกรรมดังกล่าวมาโดยตลอด
 "พิธีกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชาวบ้าน ไม่แตกต่างจากพิธีกรรมอื่นๆ แต่ที่ดูแปลกและเป็นที่พูดถึงกันมาก
 คงเป็นเรื่องของเครื่องเซ่นไหว้ที่เป็นเนื้อควายสด เลือดควายสด" อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงหัวใจของพิธีก็เพื่อให้ผู้มาร่วมพิธีกรรมและทุกคนประกอบแต่กรรมดี และรู้สึกสำนึกรักษ์ป่าและผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัย
(ที่มาข้อมูล )

                                        การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                                                   <ที่มาภาพ>

ขั้นตอนพิธีกรรม
              เริ่มจากการเตรียมจัดหาร่างทรง และกระบือดำ หรือควายและจัดซื้อข้าวของสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมใน ประเพณีเลี้ยงดง   โดยมีเครื่องสักการะ ได้แก่ หม้อดินเผา 4 ใบ สุรา กล้วย 4 หวี มะพร้าว 2 คู่เสื้อผ้าหมากพลู ข้าวตอกดอกไม้ ซึ่งประเพณีเลี้ยงดงนี้เป็นประเพณีที่ชาวบ้านต้องฆ่าควายเพื่อถวายให้ผียักษ์ 2 ตน คือ" ผีปู่แสะ"และ"ย่าแสะ" เพราะเชื่อกันว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่ดีกินดี ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล หากปีไหนไม่ฆ่าควายเซ่นผี เชื่อว่าจะทำให้เกิดโรคระบาดและเกิดทุกข์ภัยขึ้นได้ 
                                                       การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                                            ร่างทรง ย่าแสะ (ที่มาภาพ)
           
             จากนั้น ขั้นตอนของพิธีเริ่มจากการนำควายดำตัวผู้ ที่มีลักษณะเขายาวเท่าหู จะถูกพามาเชือดที่บริเวณลานโล่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ดง   จากนั้นจะมีการแห่พระบฏ (ผ้าซึ่งเป็นภาพของพระพุทธเจ้า ปางห้ามญาติ อายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี) เข้ามาที่ดง เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า 
             จากนั้นจะมีผู้เฒ่าผู้แก่เชิญวิญญาณผีปู่แสะย่าแสะ และเหล่าบรรดาลูกๆ อีก 32 ตนมาเข้าร่างทรงซึ่งไม่เปิดเผยชื่อสลับกับเสียงพระสวด โดยเริ่มจากผีปู่แสะก่อน เมื่อผีเข้าร่างทรงก็จะเข้ามากัดกินเนื้อควายดิบ และของเซ่นอื่นๆ 
                                         การเลี้ยงดง : พิธีกรรมโบราณล้านนา
                                                                            ที่มาภาพ



คำถามชวนคิด
             -  วัฒนธรรมประเพณีมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างไร
             -  ยังมีประเพณีวัฒนธรรมที่ต้องการศึกษาอะไรอีกบ้าง
              -  เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม

บูรณาการสาระการเรียนรู้
             ภาษาไทย           การใช้ภาษา
             วิทยาศาสตร์        กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
             สุขศึกษาฯ            สุขภาพอนามัย
             สังคมฯ                วัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร์
 

กิจกรรมสานต่อ
          - ศึกษาแนวคิดที่ปลูกฝังทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญา
          -  นำเข้าศึกษาจากพิธีกรรมจริงหากมีโอกาสความเหมาะสม
          -  อธิบายประสบการณ์การร่วมวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ 
          -  ร่วมแสดงความคิดเห็น ตามแนวความคิดอย่างสร้างสรรค์
        
ศึกษาข้อมูล เพิ่มเติม 
www.amulet1.com
www.human.cmu.ac.th

 อ้างอิง
https://chiangmainews.co.th   
www.human.cmu.ac.th 
www.statelessperson.com
www.human.cmu.ac.th 
www.pantip.com 
www.oknation.net 
https://2.bp.blogspot.com 
www.amulet1.com 
www.chiangmainews.com 
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=658

อัพเดทล่าสุด