การละเล่นของหลวง (ตอนที่ 3 )


798 ผู้ชม


การละเล่นที่ใช้แสดงในงานพระราชพิธ๊   

การละเล่นของหลวง (ตอนที่ 3 )

ที่มาภาพ   www.nareerat.ac.th


         ความหมายการละเล่นของหลวงฉบับสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 หมายถึงการละเล่นของหลวงที่มีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์หมายถึง การละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่ได้หมายความว่า แสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้ เท่าที่ปรากฏในหนังสือต่างๆ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีอยู่ ๕ อย่าง คือ ระเบ็ง โมงครุ่ม กุลาตีไม้แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิง คือ นางเถ้าแก่เล่นระเบ็งแทนชาย ในงานโสกันต์ พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ ๕ พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์

         เนื้อหาสำหรบกลุ่มสาระการเรียนรู้  มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่ 2

การละเล่นของหลวง (ตอนที่ 3 )

ที่มาภาพ   www.kanchanapisek.or.th

แทงวิสัย 
          ผู้เล่นแต่งตัว ผัดหน้าติดหนวดเคราคล้ายตัวเสี้ยวกางของจีน ศีรษะสวมเทริด มือถือทวน ผู้เล่นจะใช้ปลายอาวุธแตะกันข้างบนบ้างข้างล่างบ้าง เต้นเวียนไปเวียนมา ซ้ายที ขวาที ตามทำนองและจังหวะของปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบ เพลงนี้บางท่านว่าชื่อเพลง "แทงวิสัย"

การละเล่นของหลวง (ตอนที่ 3 )

ที่มาภาพ   www.learners.in.th

กระอั้วแทงควาย 
          กระอั้วแทงควายเป็นการเล่นของชาวทวาย มีผู้เล่น ๔ คน คำว่า "กระอั้ว" เป็นภาษาทวาย เป็นชื่อของสามีนาง "กะแอ"  
         การแสดงเป็นการเล่นสนุกๆ ให้เกิดความขบขัน เป็นการแสดงการล่าควาย การหลอกล่อ หลบหนี การไล่ควายของตากระอั้ว ประกอบกับการทำท่าทาง ตกอกตกใจของนางกะแอจนผ้าห่มหลุดลุ่ย เป็นที่สนุกขบขันเฮฮา

ประเด็นคำถาม 
 1) การละเล่นแทงวิสัย  และ กระอั้วแทงควาย  มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
              

กิจกรรมเสนอแนะ

          1) ให้นักเรียนลองฝึกหัดการละเล่น กระอั้วแทงควาย

          2) ให้นักเรียนตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว


         บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้

        ภาษาไทย   ด้านการอ่าน  การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
        สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต

        แหล่งอ้างอิงข้อมูล

www.guru.sanook.com

www.kanchanapisek.or.th

www.newswit.com


        แหล่งอ้างอิงภาพ

www.images.google.co.th

www.images.google.co.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=668

อัพเดทล่าสุด