นาฏศิลป์กัมพูชา


1,210 ผู้ชม


ศิลปวัฒนธรรมในยุคขอมโบราณอันรุ่งเรืองในอดีต ที่ยังคงเหลือภาพให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่   

                                          นาฏศิลป์กัมพูชา
                                                                      ที่มาภาพ

               นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ไปเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการ เพื่อแนะนำตัวในโอกาส เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามธรรมเนียมของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยนายกรัฐมนตรี จะเป็นสักขีพยานในการส่งมอบวัตถุโบราณศิลปกัมพูชารวม 7 ชิ้นคือ เศียรเทพ และหัวอสูร อีกด้วย  (ที่มาข่าวจาก  ข่าวภาคค่ำช่อง 7)
                                         
             เป็นที่ทราบกันดีว่ากัมพูชา หรือเขมรเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมขอม อันรุ่งเรืองในสมัยโบราณอันปรากฎเห็นได้จากการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายสถานที่สำคัญที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวัฒนธรรมของโลก นั่นก็คือ นครวัด นครธม นอกจากนี้ยังมีศิลปวัฒนธรรมการแสดงขอมให้เราได็ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย

                                               นาฏศิลป์กัมพูชา
                                                                        ที่มาภาพ

สาระการเรียนรู้  นาฏศิลป์กัมพูชา 


                                             นาฏศิลป์กัมพูชา
                                                                      ที่มาภาพ

          นาฏศิลป์กัมพูชามีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนพระนคร (ค.ศ. ๕๔๐-๘๐๐) แล้ว เช่น รูปปั้นดินเหนียวสมัยนครบุรี (Angkorborei) เป็นรูปบุคคลร่ายรำ และจารึกที่กล่าวถึง "คนรำ" เป็นภาษาเขมร ในจารึกสมัยพระนคร (ค.ศ. ๘๒๕-ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔)  พบคำสันสกฤต "ภาณิ" ซึ่งหมายถึงการแสดงเล่าเรื่อง และหากดูภาพสลักจำนวนมากในปราสาทหินทั้งหลายแหล่ขอม  ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอาณาจักรขอมมีการร่ายรำ การแสดง เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับการบันเทิงในราชสำนักและประชาชน
 
            ในจารึกที่กล่าวถึงข้าพระที่ประจำศาสนสถานนั้นมักมี "คนรำ" ประจำอยู่ด้วย นาฏศิลป์กัมพูชาโบราณน่าจะได้รับอิทธิพลอินเดียเป็นพื้น


                                         นาฏศิลป์กัมพูชา
                                                                             
ที่มาภาพ

                    นาฏศิลป์กัมพูชาน่าจะสืบต่อและพัฒนามาจนรุ่งโรจน์ไม่แพ้ศิลปวิทยาการด้านอื่นๆ ในสมัยพระนคร และน่าจะมีอิทธิพลไม่น้อยต่ออยุธยาหลังจากที่มีการตีเมืองพระนครแตกและกวาดต้อนผู้คนมาสู่กรุงศรีอยุธยา จำนวนหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นน่าจะมีนักรำอยู่ด้วย

                 หลักฐานทางภาษาอย่างหนึ่งก็คือไทยรับคำ "รำ" ในภาษาเขมรมาแทนที่คำ "ฟ้อน" ที่เดิมใช้ในภาษาไทย และไทยก็รับเอามาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่เดิมและพัฒนานาฏศิลป์สืบเนื่องต่อจากนั้นและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตนขึ้นมา และเมื่อมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ไทยก็ส่งคืนศิลปวิทยาการด้านนี้กลับสู่ประเทศราชกัมพูชา และกัมพูชาก็รับเอามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเองและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มาข้อมูล  www.bloggang.com )
                                                       นาฏศิลป์กัมพูชา
                                                                            ที่มาข้อมูล

                    สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้  ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ

นาฏศิลป์กัมพูชาที่มาภาพ

              นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ 
ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต

สอดคล้องมาตรฐานสาระการเรียนรู้ศิลปะ    

        มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
        มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
       มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล


คำถามสานต่อความคิด   
       -  เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในกัมพูชา มีประเด็นใดที่ให้ความสนใจศึกษาเพิ่มเติม
       -  เราจะมีวิธีการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน ให้ลึกซึ้งได้อย่างไร
       -  ปัจจัยใดที่ทำให้ศิลปวัฒนธรรม ได้รับการถ่ายทอด องค์ความรู้ที่สืบต่อกันมา
       -  แนวทาง หรือ วิธีการใดที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรม ได้รับการธำรงไว้ซึ่งคุณค่าต่อไป
       -  ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม และศิลปวัฒนธรรม
       -  จำเป็นหรือไม่ที่เราต้อง ศึกษาเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ
       - ทิศทาง และลักษณะของเมืองจากปัจจุบัน ไปสู่อนาคตจะป็นเช่นไร  และเราต้องการให้เป็นเช่นไร

เชื่อมโยงในองค์ความรู้  
          ภาษาไทย             การอ่าน   การเขียนเรียงความ
          สังคมฯ                 ศึกษาความเป็นมาของ ประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม
                                     วิถีชีวิตความเป็นอยู่    ภูมิศาสตร์
          วิทยาศาสตร์         การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ  สิ่งแวดล้อมรอบตัว


เพิ่มเติมเต็มกันและกัน 
            - จัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
           -  เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้
           -  แนะนำแหล่งศึกษาเรียนให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติม
           -   นำภาพโบราณสถานของกัมพูชามาให้นักเรียนได้มีโอกาสเห็น 
           -  จัดกิจกรรมการแสดงละครบทบาทสมมุติ ละครอิงประวัติศาสตร์
           -  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีทางสังคม ที่มีผลต่อวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรม
           -  จัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอผลงาน
           -  ศึกษา รับชม รับฟัง การแสดงนาฏศิลป์กัมพูชา         
                        

อ้างอิงข้อมูล

 https://photos4.hi5.com
https://mblog.manager.co.th/ 
https://baannapleangthai.com 
www.oknation.net 
https://photos1.hi5.com 
https://gotoknow.org

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=681

อัพเดทล่าสุด