เบโธเฟน กับเครื่องหมายกำหนดจังหวะ ตอนที่ 2


824 ผู้ชม


หลายบทเพลงของเบโธเฟน ที่รู้จักและคุ้นหู ลองมาดูว่าใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ แบบใดบ้าง   

เบโธเฟน กับเครื่องหมายกำหนดจังหวะ ตอนที่ 2

        บทเพลง Moonlight Sonata ของ เบโธเฟน มีความไพเราะ งดงามประหนึ่งได้เห็นแสงจันทร์สาดส่อง ในท้องน้ำ
ยามราตรี      นอกจากความงามของบทเพลงแล้ว เนื้อหาสาระทางดนตรี ก็ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ในบทนี้เราจะกล่าวถึง เครื่องหมายกำหนดจังหวะครับ

เบโธเฟน กับเครื่องหมายกำหนดจังหวะ ตอนที่ 2

โน้ตเพลงจาก https://www.sheetmusicplus.com/look_inside/3662732/image/187078

 ฟังเพลงพร้อมชมภาพสวยงาม

        เพลงนี้เขียนในอัตรา 4/4 (ใช้อักษร C แทน) ซึ่งหมายถึงห้องละ 4 จังหวะ (เลข 4 ตัวบน)

โน้ตตัวดำเป็น 1 จังหวะ (จากเลข 4 ตัวล่าง)
แต่รูปแบบการบรรเลงและการจัดโน้ต...คล้ายกับ 12 / 8... ในมือขวา ซึ่งมีเลข 3 อยู่บนโน้ตแต่ละชุด
ในห้องเพลงที่ 1 เรียกว่าโน้ต 3 พยางค์

(ส่วนห้องอื่น ไม่เขียนไว้เนื่องจากผู้ปฏิบัติทราบเงื่อนไขแล้ว)
***(เลขตัวเล็กที่มีอยู่ทุกห้องเพลงเป็นการบอกการใช้นิ้วสำหรับนักเปียโนว่าจะใช้นิ้วใดจึงจะเหมาะสม)***
หากเรานับให้ชัดเจนจะได้เขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัวต่อ 1 จังหวะและมีการรวมหางเป็น 1 ชุด 
รวมทั้ง 4 จังหวะจะได้ 12 ตัวโน้ตใน 1 ห้องเพลง


        หากเราสังเกต มือซ้าย ที่เขียนในบรรทัดล่าง จะเห็นว่า ใช้โน้ตในลักษณะ 4/4 แบบปกติ 
คือให้ตัวดำมีค่า 1 จังหวะ ตัวขาว 2 และ ตัวกลม 4 จังหวะปกติ
        จึงเป็นการผสมผสานลีลา ทั้งแบบธรรมดาและอัตราแบบผสม เข้าด้วยกัน สามารถทำให้บทเพลงมีลีลาและ
อารมณ์ที่น่าสนใจ


        และอีกตัวอย่างสำหรับโน้ตเพลงนี้ที่มีการดัดแปลงให้บรรเลงโดย กีต้าร์ คลาสสิก

เบโธเฟน กับเครื่องหมายกำหนดจังหวะ ตอนที่ 2

  โน้ตเพลงจาก https://www.sheetmusicplus.com/look_inside/1377219/image/2310

คลิกฟัง

       

        โน้ตของกีต้าร์คลาสสิก ตามปกติ มีเพียงบรรทัดเดียว แต่ที่ปรากฏมี 2 บรรทัด คือมีการเพิ่ม TAB 
สำหรับบอก นิ้ว,สาย,และช่องของกีต้าร์ เพื่อให้ได้เสียงตามที่ต้องการและสะดวกในการประสานเสียง

        เราจึงศึกษาเฉพาะโน้ตบรรทัดบนเท่านั้น   เห็นได้ว่ามีโน้ตที่เป็น 3 พยางค์เหมือนกับโน้ตเปียโน 
แต่ในโน้ตเสียงเบสของกีต้าร์ ที่แทนมือซ้ายของเปียโน เขียนไว้ด้านล่างสุดให้หางลงทุกตัว ซึ่งเป็นลักษณะโน้ต
ทั้งโน้ตตัวกลม ในห้องที่ 1-2  โน้ตตัวขาว จำนวน 2 ตัว ในห้องที่ 3 -4 ส่วนโน้ตตัวดำ ปรากฏอยู่ 4 โน้ต ในห้องที่ 12

        ส่วนโน้ต ตัวบนสุด ที่เขียนหางขึ้น คือโน้ตที่เป็นทำนองหลักหรือจุดเด่นให้เราจับทำนองได้ พบว่าเริ่มตั้งแต่
ห้องเพลงที่ 6

การรู้จักเครื่องหมายกำหนดจังหวะ รู้ค่าของตัวโน้ต ทำให้เราสามารถ อ่านและเล่นดนตรีได้อย่างเข้าใจและมั่นใจมากขึ้น

คำถาม

1. หากเพลงนี้ต้องการเขียนในอัตรา 12 /8 เราจำเป็นต้องมีเลข 3 กำกับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น ในห้องเพลงที่ 1 หรือไม่ 

2. หากโน้ตเพลงนี้เขียนและบรรเลงในอัตรา 4 /4 ปกติ โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น มีค่ากี่จังหวะ และ ใน 1 จังหวะต้องใช้กี่ตัว
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=684

อัพเดทล่าสุด