ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )


1,381 ผู้ชม


วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จัดงาน "มหกรรมแซ็กโซโฟนโลก ครั้งที่ 15" ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมาถึงวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย   

ชุมนุมคนชอบเป่า มหกรรมแซ็กโซโฟนโลก ครั้งที่ 15

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )
ที่มาของภาพ


 
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุม และนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. จัดงาน "มหกรรมแซ็กโซโฟนโลก ครั้งที่ 15" ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมาถึงวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โดยมีนักแซ็กโซโฟนระดับโลกกว่า 32 ประ เทศ จำนวน 1,200 คน และมีคอนเสิร์ตกว่า 200 คอนเสิร์ตให้เลือกชม ทั้งการแสดงเดี่ยว, แจ๊ซ, วงแชมเบอร์, วงบิ้กแบนด์ จนถึงซิมโฟนีออเคสตรา โดยมีศิลปินอย่าง เจมส์ คาร์เตอร์ นักดนตรีแจ๊ซระดับโลก, ซูซาน แฟนเชอร์ 
นักแซ็กโซโฟนแนว นิวมิวสิค, มารี-แบร์นาแดตต์ ซาวาริเยร์ และ โคล้ด เดอลองก์ นักแซ็กโซโฟนชื่อดังจากฝรั่งเศส, ฌอง-มารี ลอนเด็กซ์ ประธานแซ็กโซโฟนโลก, หลิน เฉียน กวาน จากสิงคโปร์ และ เคนเนท เฉอ นักแซ็กโซโฟนฮ่องกงที่มีผลงานโดดเด่นในสหรัฐอเมริกา
 
นอกจากนี้จะมีการแสดงของวง One O"Clock Lab Band จากภาควิชาแจ๊ซในมหาวิทยาลัยนอร์ธ เท็กซัส มหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีระดับโลก ซึ่งผลิตนักดนตรีอาชีพประดับวงการมามากมาย รวมถึงนักร้องแจ๊ซชื่อดัง นอร่าห์ โจนส์ โดยมี สตีฟ ไวสต์ 
นักแต่งและเรียบเรียงเพลง รางวัลแกรมมี่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวง และวง Le Quatuor International de Saxophones

สำหรับวงดนตรีเจ้าภาพอย่างประเทศไทยก็ประกอบไปด้วย โก้ แซ็กแมน, Siam Saxophone Quatet และ กฤษติ์ บูรณวิทยวุฒิ, วงโพเมโล ทาวน์ วงดุริยางค์ฟิลฮาโมนิกแห่งประเทศไทย, วงเครื่องเป่าแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ
 
ประเด็นจากข่าว แซกโซโฟน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้และมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์
  
สาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้น ม.1-ม.6 ช่วงชั้นที่ 3-4
สาระที่ ๒   ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
 
เนื้อหา

เครื่องเป่าลมไม้(Woodwind Instruments)
 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ ประเภทไม่ใช้ลิ้น ประเภทลิ้นเดี่ยว และประเภทลิ้นคู่
ประเภทไม่ใช้ลิ้น ได้แก่ ฟลุ้คและปิคโคโล (Flute and piccolo) และเรคคอเดอร์ 
ในปัจจุบันมีเครื่องดนตรีหลายเครื่องที่ไม่ได้ทำด้วยไม้เนื่องจากไม้หายาก จึงใช้วัสดุอย่างอื่น
สร้างขึ้นแต่วิธีการเกิดเสียงและคุณภาพเสียงก็ยังเหมือนกับทำด้วยไม้ทุกประการเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่อง
ลมไม้ยังแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือประเภทเป่าลมเข้าไปในรูเป่า(Blowing into a tube) 
ลำตัวมีลักษณะเป็นท่อเครื่องเป่าประเภทนี้เป่าลมเข้าทางด้านข้าง และประเภทเป่าลมให้ผ่านลิ้นของ
เครื่องดนตรี (Blowing through a reed)เครื่องลมไม้ประเภทขลุ่ย ยังแบ่งตามลักษณะของการเป่าได้ 
2 ประเภทคือ ประเภทเป่าตรงปลาย เช่น ขลุ่ยเรคคอร์เดอร์ ประเภทเป่าด้านข้าง เช่น ฟลูต และปิคโคโล 
1) ฟลูต (Flute) เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากมนุษย์ก่อน 
ประวัติศาสตร์ที่คิดใช้กระดูกสัตว์หรือเขาของสัตว์ที่เป็นท่อกลวงหรือไม่ก็ใช้ปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูแล้วเป่า
ให้เกิดเสียงต่าง ๆ วัตถุนั้นจึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย ฟลูตเป็นขลุ่ยเป่าด้านข้าง 
มีความยาว 26 ?นิ้วมีช่วงเสียงตั้งแต่ C กลางจนถึง C สูงขึ้นไปอีก 3 ออคเทฟ เสียงแจ่มใสจึงเหมาะ
สำหรับเป็นเครื่องดนตรีประเภทเล่นทำนองใช้เลียนเสียงนกเล็ก ๆ ได้ดีและเสียงต่ำของฟลูตจะให้เสียงที่
นุ่มนวล 

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )


2) พิคโคโล (Piccolo) เป็นขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจาก
ไม้หรืออีบอร์ไนท์ แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะเป่าเพียง
เครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว (Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo) 

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )


2.ประเภทลิ้นเดี่ยว  ได้แก่ คาร์ลิเนต (Carinet) แซคโซโฟน (saxsophone) 
1)คลาริเนต (Clarinet)
 เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าเครื่องอื่น ๆ ในบรรดา
เครื่องลมไม้ด้วยกัน คลาริเนตเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ได้ในวงดนตรีเกือบทุกประเภทและเป็นเครื่องดนตรีที่
สำคัญในวงออร์เคสตรา วงโยธวาทิต และวงแจ๊ส

ปี่คลาริเนตทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์เช่นเดียวกับปี่โอโบมีรูปร่างคล้ายโอโบมากความแตกต่าง 
อยู่ที่มีลิ้นเดียว คลาริเนตยาวกว่าโอโบเล็กน้อย รูปทรงของท่อลมเป็นทรงกระบอก ปากลำโพงบานเป็น
ทรงระฆัง ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 26 นิ้ว คลาริเนตมีเสียงกว้างที่สุดในบรรดาเครื่องลมไม้ ปี่ชนิดนี้
แตกต่างกับฟลูตในเรื่องคุณสมบัติของเสียง เสียงของฟลูตจากเสียงต่ำไปเสียงสูง ไม่ค่อยแตกต่างกัน
เท่าใด แต่เสียงของคลาริเนตแตกต่างกันมากจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คลาริเนตให้เสียงสูงสดใส่ 
ร่าเริง คม ชัดเจน มีความคล่องตัวในการบรรเลงสูง เวลาเป่าผู้เป่าจะเม้มริมฝีปากให้ลิ้นของปี่แตะอยู่บน
ริมฝีปากล่าง ส่วนริมฝีปากบนผู้เป่าจะทำให้เกิดคุณสมบัติของเสียงตลอดจนความดังหรือเบาให้
แตกต่างกันโดยการให้ลิ้นของปี่เข้าไปอยู่ในปากมากหรือน้อยและการเม้มริมฝีปากล่างกดกับลิ้นปี่ 
หนัก – เบา เพียงใด

ในวงโยธวาทิตปี่คลาริเนตถือเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญและได้รับสมญาว่าเป็นไวโอลินของวง
โยธวาทิต ปี่คลาริเนตมีหลายขนาดแต่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปในปัจจุบันมี Bb คลาริเนต และ Eb คลาริเนต

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )

2)เบส คลาริเนต (Bass Clarinet) เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า 
คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่
เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์เบสคลาริเนตขึ้นเพื่อให้มีเสียงของเครื่องดนตรี
ในตระกูลคลาริเนตครบทุกเสียง

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )


3)แซกโซโฟน (Saxophone) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างเครื่องลมทองเหลืองและเครื่องลมไม้ 
มีอายุน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ประดิษฐ์เมื่อ ค.ศ. 1840 ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส 
โดย อดอล์ฟ แซกเป็นผู้ผลิต ซึ่งเขาผลิตแซกโซโฟนขึ้นในราว ค.ศ. 1840 ในขณะนั้นได้มีหัวหน้าวง 
โยธวาทิตมาจ้างให้เขาผลิตเครื่องดนตรีชนิดใดก็ได้ซึ่งสามารถเล่นเสียงให้ดัง เพื่อใช้ในวงโยธวาทิต 
(Military Band) และต้องการให้เครื่องดนตรีชนิดใหม่นี้เป็นเครื่องลมไม้ เขาจึงนำเอาเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องทองเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งล้าสมัยแล้วเรียกว่าแตรออพิคเลียด (Ophiclede) มาถอดที่เป่าอัน
เดิมออกแล้วเอาที่เป่าของคลาริเนตมาใส่แทนจากนั้นเขาได้แก้กลไกของกระเดื่องต่าง ๆ และปรับปรุงจน
สามารถใช้งานได้ แซกโซโฟนจึงได้กำเนิดขึ้นมาเป็นชิ้นแรกของโลก

ในอดีตแซกโซโฟนมีฉายาว่าคลาริเนตทองเหลือง เพราะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่ว
ปราดเปรียวเหมือนคลาริเนต ในปัจจุบันแซกโซโฟนได้รับความนิยมสูงสุด ดังจะเห็นได้จากศิลปินชาว
ต่างประเทศได้นำมาแสดงในเมืองไทยหลายครั้ง และมีการจัดอันดับผู้ที่มีความสามารถในการเล่น 
แซกโซโฟนของโลกด้วย เช่น Kenny G, Grover Washington,Jr., Sadao Watanabe เป็นต้น
ในวงออร์เคสตราไม่นิยมใช้แซกโซโฟน เพราะบทบรรเลงที่ใช้สำหรับวงออร์เคสตราส่วนใหญ่เกิดก่อน
แซกโซโฟน แต่ปัจจุบันแซกโซโฟนเป็นเครื่องเป่าที่มีบทบาทมากทั้งในวงโยธวาทิต วงแจ๊ส วงคอม
โบ ตลอดจนวงดนตรีสมัยใหม่ แซกโซโฟนที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 ขนาด คือ บีแฟลตโซปราโน 
อีแฟลตอัลโต บีแฟลตเทเนอร์ และอีแฟลตบาริโทน

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )

 3.ประเภทลิ้นคู่ ได้แก่ ปี่โอโบ (oboe) คอร์แองเกลส์ (Cor anglais) บาสซูน (Basson)
2.1.1 ประเภทลิ้นคู่ (Double reed) 
1) โอโบ (Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุด ชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะ
คล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์กาลมาแล้ว ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณ 
มีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ออโรส” (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวย 
ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์ ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง จำพวก กก หรือ อ้อ ที่ขึ้นในแถบ
เมดิเตอร์เรเนียนลิ้นของปี่โอโบได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงานผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมา
ตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง

โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่
ความจริงแล้วแม้แต่เด็กผู้หญิงก็สามารถเป่าได้สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่น
ต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบาง เข้าไปในท่อลม เทคนิค
การควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน ช่วงเสียงของโอโบกว้าง
ประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือน 
ฟลูตมีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก เหมาะสำหรับทำนองเศร้า ๆ บรรยากาศของธรรมชาติและ
ลักษณะของดินแดนทางตะวันออก หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นเครื่องเทียบเสียงของวง
ออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง 
“ลา” (A)

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )

2)คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้น
เพื่อง่ายต่อการเป่าส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น)กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล 
(Angle)” ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษา
อังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) 
ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลม
โลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ 
ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต คอร์ แองเกลส์เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่าและมี
รูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้อง
คอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่
ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )

3)บาสซูน (Bassoon) เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่เช่นเดียวกับโอโบรูปร่างของบาสซูนค่อนข้าง 
จะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ ได้รับฉายาว่าเป็น “ตัวตลกของวงออร์เคสตรา” (The Clown of the 
Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (Staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด…
คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลกที่มีอากัปกริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์เนื่องจากความใหญ่
โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลมให้เหลือความยาว
ประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอเพื่อช่วยพยุงน้ำหนักเรียกว่า Sling เพื่อ
ให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นนิ้วต่าง ๆ ได้สะดวก เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของ
กลุ่มเครื่องลมไม้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างไพเราะอีกด้วย

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )

4)คอนทราบาสซูนหรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon) 
คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน
(Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆ ให้สมบูรณ์
และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทราบาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าปี่บาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาว
ของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อ
รูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่ง
ลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือน
บาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตราขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ จะ
สร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มืด โอกาสที่ใช้ในการบรรเลงมีไม่มากนักทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่
กับบทเพลงนั้น ๆ

ชุมนุมคนชอบเป่า (เครื่องดนตรีสากล ตอน เครื่องเป่าลมไม้ )

ประเด็นคำถาม
1.แซกโซโฟนมีกี่ประเภท
2.alto saxsophone มีระดับเสียงเป็นอย่างไร
3.เครื่องดนตรีประเภทลิ้นเดี่ยวมีชนิดใดบ้าง
4.soprano saxsophone มีจุดเด่นคืออะไร

การบูรณาการ
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง การสั่นสะเทือนของเสียง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องคำศัพท์ดนตรี

กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายเกี่ยวกับเครื่องเป่าแต่ล่ะประเภท
2. คลิ๊กฟังเพลง บรรเลง saxsophone จาก kenny G

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1188

อัพเดทล่าสุด