หนูไม่ได้เป็น "เด็กเส้น" นะค่ะ


782 ผู้ชม


ความสำคัญของ "เส้น" องค์ประกอบสำคัญที่สร้างสรรค์เพื่อความสวยงามของงานศิลปะ   

                                                   หนูไม่ได้เป็น "เด็กเส้น" นะค่ะ 
                                                                        ที่มาภาพ

              น้องแอริณ ดาราดาวรุ่งค่ายเอ็กแซ็กท์ เปิดใจหนูไม่ได้เป็นเด็กเส้น ที่ได้เล่นละครผ่านการคัดเลือกตามขั้นตอนและความสามารถ
              ''น้องแอริณ'' ไฮโซทายาทเจ้าของอะไหล่เครื่องบินสวย ดาราหน้าใหม่ค่ายเอ็กแซ็กท์ สวยใสเพียบพร้อมสุดๆ แต่มีกระแสในเรื่องเรื่องแอ็คติ้ง เพราะยังเล่นละครแข็งทื่อ โดนกระแสในอินเทอร์เน็ต ว่าที่เธอได้เป็นดาราเพราะเป็น เด็กเส้น ของคุณหนูบอย  (ที่มาข่าว) 

             คำว่า เส้น  ในภาษาไทย ดูจะถูกนำมาใช้เกี่ยวข้องเกือบทุก ๆ เรื่องและยังมีส่วนสำคัญในเรื่องนั้น ๆ  ทั้งเรื่องอาหาร เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นก๋วยจั๋บ หรือแม้แต่วงการบันเทิง ที่มีเด็กเส้น
           หรือแม้แต่ในด้านศิลปะ เส้น (Line) ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างงาน จะเป็นอย่างไรลองมาศึกษากันดูนะครับ...

สาระการเรียนรู้  เส้น (Line) 

มาตรฐานการเรียนรู้  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ ๑.๒  : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

หนูไม่ได้เป็น "เด็กเส้น" นะค่ะ


                                                                   ที่มาภาพ ลักษณะของเส้น

              เส้น คือ  ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น
 เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง 
             
 เส้นถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น
             
เส้น  มี 2 ลักษณะ   ซึ่งเส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกัน  ได้แก่
             -  
เส้นตรง (Straight Line) 
             -   เส้นโค้ง (Curve Line)

          ลักษณะของเส้น
      1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง 
      2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย 
      3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง 
      4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง 
      5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล 
      6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด 
      7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง 
      8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด 

                             หนูไม่ได้เป็น "เด็กเส้น" นะค่ะ
                                                         ที่มาภาพ การสร้างสรรค์ภาพจากเส้นต่าง ๆ

ความสำคัญของเส้น 
       1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
       2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
       3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น 
       4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น 
      5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ 
                                 หนูไม่ได้เป็น "เด็กเส้น" นะค่ะ
                                                               ที่มาภาพ   แนวเส้นต่าง ๆ

ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  ลักษณะความแตกต่างของลายเส้นให้ความรู้สึกและสื่อความหมายอย่างไร
          - ลักษณะของเส้นต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างไรกับงานศิลปะ
         -  เราสามารถปรับประยุกต์นำลายเส้นแต่ละลักษณะไปสร้างงานศิลปะได้อย่างไร
         -  เราสามารถนำความรู้จากเรื่องที่ศึกษาไปใช้ประโยชน์ต่อสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง


 เชื่อมโยงในองค์ความรู้
       คณิตศาสตร์                              รูปเรขาคณิต  สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์              
       ภาษาไทย                                การเขียน  การอธิบาย  
       สังคมศึกษา                           วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิตของชาวไทยที่เกี่ยวข้อง นำมาเป็นแนวคิดในการวาดภาพระบายสี
        สุขศึกษาและพลศึกษา               การสร้างสนามกีฬาแต่ละประเภท
        บูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้      สามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน   กิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
         
      
เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้
        -  กิจกรรมวาภาพลายเส้นสร้างสรรค์งานอย่างอิสระ
        -  ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับงนศิลปะ
        -  ศึกษาและแสวงหาประสบการณ์ตรงทางด้านงานศิลปะในชุมชนท้องถิ่น
        - สะสมภาพผลงานศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
        -  ศึกษาให้ความสนใจงานศิลปะในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากทัศนศิลป์
      

อ้างอิงข้อมูล
www.mew6.com 
https://www.school.net.th 
https://learners.in.th
www.siamxpress.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1273

อัพเดทล่าสุด