ขั้นตอนเตรียมความพร้อมก่อน การเดี่ยวระนาดเอก
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวประเทศเฮติ ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 แสนราย บาดเจ็บ และต้องอดอาหาร น้ำ อีกหลายล้านคน ทาง "ครอบครัวข่าว" สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3ได้ริเริ่ม โครงการ "กองทุนคนไทยช่วยผู้ประสบภัยเฮติ" ให้ผู้ชมรายการได้ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือประชาชนชาวเฮติผ่านโครงการดังกล่าว โดยเริ่มเมื่อวันเสาร์ที่ 16 ม.ค.
สิ้นสุดการรับบริจาคในวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมานั้นปรากฏว่ายอดเงินบริจาคเบื้องต้นมีจำนวนกว่า 160 ล้านบาท
(แหล่งที่มา)
เรื่อง การตีระนาดเอก ให้พริ้วไหว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ (คลิกฟังเสียงระนาดเอกครับ)
สาระสำคัญ
ศัพท์สังคีต เป็นคำเฉพาะหรือศัพท์วิชาการที่ใช้และเข้าใจกันในวงการดนตรี คำบางคำมีความหมายหลายอย่างที่ต้องศึกษาเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรี เช่น การเรียกผู้ที่ตีระนาดเอก ได้เร็วมากๆ ก็จะใช้คำว่า การตีระนาดเอกได้ ไหว แทน
เนื้อหา
1. การสำรวจความพร้อมและปรับเครื่องดนตรีก่อนการบรรเลง
ผู้บรรเลงระนาดต้องมีความรู้ในการปรับแต่งและจัดเตรียมเครื่องดนตรีก่อนที่จะ เริ่มบรรเลงดังนี้
1.1 รางระนาดเอก
1.1.1 ตรวจสอบได้ว่ารางระนาด ไม่เอียง และ ไม่โคลง
1.1.2 ตะขอ สำหรับแขวนผืนระนาดเอก ด้านนอก ด้านใน อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
1.2 ลูกระนาดเอก
1.2.1 ตะกั่ว ติดอยู่ที่ใต้ลูกระนาดทั้งปลายด้านนอกและด้านใน
1.2.2 ลูกระนาดแต่ละลูกไม่เรียงชิดติดกันเกินไป
1.2.3 บางลูกที่ไม่ติดตะกั่ว หมายถึงเสียงของลูกใช้ได้แล้วหรือตะกั่ว หลุดหายไป สามารถทดสอบ
และรู้ได้จากการไล่เสียง
1.2.4 ระยะช่องไฟระหว่างลูกระนาดแต่ละลูกเหมาะสมกัน
1.2.5 ติดตะกั่วที่หลุดออกมากลับเข้าที่ได้ตรงตำแหน่งที่เดิม (ไม่จำเป็น ต้องเรียบร้อยนักก็ได้)
1.2.6 ติดตะกั่วที่หลุดออกมากลับเข้าที่ได้ตรงตำแหน่งเดิมและตบแต่ง ให้เรียบร้อยได้
1.2.7 ติดตะกั่วที่หลุดออกมากลับเข้าที่ไม่ตรงตำแหน่งแต่ปรับให้ตรง เสียงเดิมได้
1.2.8 ติดตะกั่วที่ลูกระนาดเพื่อปรับเสียงให้ตรงระดับเสียงได้
1.3 ผืนระนาด
1.3.1 ตรวจสอบและรู้ว่าผืนระนาดด้านเสียงสูงแขวนอยู่ทางขวามือของผู้ตี
1.3.2 จัดให้ผืนระนาดแขวนอยู่บนขอทั้งสี่อย่างถูกต้องคือระดับเอียงลาดมา ทางผู้ตีเล็กน้อยและไม่กระทบขอบรางหรือสูงจากขอบรางประมาณ 1 นิ้วฟุต
1.3.3 ผูกเชือกเพื่อปรับผืนระนาดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ตามที่ต้องการ ด้วยเงื่อน พิรอด และเก็บปลายเชือกที่เหลือทั้งสองชายไว้ในรางโดย พาดผ่านขอของระนาดด้านขวามือ
ที่ใกล้ตัวผู้บรรเลง
1.4 ไม้ตีระนาดเอก
1.4.1 ไม้แข็ง
1.4.1.1 ตรวจดูว่าหัวไม้ต้องไม่คลอน
1.4.1.2 ตรวจดูหัวไม้ว่าต้องมีผ้าพันที่ไม่ฉีกขาดหรือหลุดลุ่ย
1.4.1.3 ตรวจดูว่าก้านไม้ระนาดไม่หักหรือเดาะ
1.4.1.4 ทดสอบว่าความแข็งต้องได้มาตรฐานเสียง (ที่แกร่งแก้ว)
1.4.2 ไม้นวม
1.4.2.1 เลือกไม้ตีได้ขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสมกับชนิดของวัสดุ ที่ใช้ทำผืนระนาด (ไม้ไผ่ตงหรือไม้เนื้อแข็ง)
1.4.2.2 ตรวจดูว่าหัวไม้ระนาดต้องไม่คลอน
1.4.2.3 ตรวจดูว่าหัวไม้ต้องมีผ้าพันที่ไม่ฉีกขาดหรือหลุดลุ่ย
1.4.2.4 ตรวจดูว่าก้านไม้ระนาดไม่หักหรือเดาะ
1.4.2.5 ทดสอบได้ว่าหัวไม้ต้องไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป
2. ท่านั่ง
นั่งขัดสมาธิราบให้ขาขวาทับขาซ้ายปลายเท้าขวาอยู่ใต้รางระนาดเอกด้านซ้าย หรือนั่งพับเพียบลำตัวตรงให้ขาอยู่ห่างจาก เท้าระนาด ด้านชิดตัวของผู้ตีประมาณ 4 นิ้ว
หันหน้าเข้าหากึ่งกลางของผืนระนาด
3. ท่าจับไม้ตีระนาดเอกแบบพื้นฐาน
3.1 การจับแบบ ปากกา
หงายฝ่ามือจับไม้ตีข้างละอันให้ก้านไม้ตีทอดอยู่ในร่องอุ้งมือพร้อมกับใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย จับก้านไว้ เหยียดนิ้วหัวแม่มือแตะอยู่ด้านข้างไม้ตีปลายนิ้วชี้กดที่ด้านล่าง
ของก้านไม้ ณ ประมาณจุดกึ่งกลางของไม้ตีให้พอเหมาะแก่การควบคุมน้ำหนักของไม้ แล้วจึงพลิกมือคว่ำลงเมื่อพร้อมที่จะเริ่มตี แขนทั้งสองอยู่ข้างลำตัวตามธรรมชาติ
งอข้อ ศอกเป็นมุมฉาก
3.2 การจับแบบ ปากไก่
จับเช่นเดียวกับปากกาแต่ปลายนิ้วชี้ต้องไพล่ลงข้างไม้ประมาณครึ่งองคุลี
3.3 การจับแบบ ปากนกแก้ว
จับเช่นเดียวกับปากกาแต่นิ้วชี้ไพล่ลงตั้งฉากกับก้านไม้ตีประมาณ 1 องคุลีเศษ (ประมาณข้อนิ้วมือข้อแรก)
4. วิธีตีระนาดเอก
4.1 ลักษณะการตี
4.1.1 ต้องตีตรงกลางของลูกระนาดเอกแต่ละลูก
4.1.2 วิธีตีใช้กล้ามเนื้อบังคับ ดังนี้
ก. ใช้กล้ามเนื้อแขนเป็นหลักและใช้กล้ามเนื้อที่บังคับการเคลื่อน ไหวข้อมือร่วมด้วย เรียกว่า ครึ่งข้อครึ่งแขน (เกร็งแขนปล่อยข้อ)
ข. ในการตีด้วยความเร็วจะใช้ส่วนของกล้ามเนื้อตรึงหัวไหล่ไว้ เป็นหลักเพื่อให้กล้ามเนื้อแขนสามารถการตีได้คล่องตัว ตีโดยการจับไม้ให้แน่น
4.1.3 ยกไม้ตีสูงประมาณ 6 นิ้วฟุต จากผืนระนาดเอก
4.2 วิธีการตีระนาดเอก มีหลายวิธีดังต่อไปนี้
4.2.1 ตีสองมือพร้อมกัน เป็นคู่ต่างๆ
4.2.2 ตีฉาก คือวิธีการตีให้มือทั้งสองลงพร้อมกันและได้น้ำหนักเท่ากัน
4.2.3 ตีเก็บคู่แปด คือการตี 2 มือพร้อมกันเป็นคู่ 8 อาจจะเป็นหรือไม่เป็น ทำนองก็ได้
4.2.4 ตีสงมือ หรือ ตีสิม (ตีเสียงไพเราะ) คือการตีเก็บ 2 มือพร้อมกันให้ เสียงลงเท่ากันแล้วรีบยกมือขึ้นโดยเร็ว
4.2.4.1 ตีทีละเสียงเป็นพยางค์สั้นๆ
4.2.4.2 ตีดำเนินกลอน
4.2.5 ตีกรอ คือการตีคู่ต่างๆสองมือสลับกันด้วยน้ำหนักสองมือเท่ากัน มือซ้ายลงก่อนมือขวา
ยิ่งละเอียดเท่าใดยิ่งดีเท่านั้น
4.2.6 ตีสะเดาะ คือการตีสะบัดยืนเสียงคู่แปด 3 ครั้งห่างเท่าๆกันโดยเร็ว
4.2.7 ตีสะบัด คือการตีคู่แปด 3 ครั้ง ห่างเท่ากันโดยเร็วให้เสียงเคลื่อนที่เป็น คู่เสียงต่างๆ เช่น
4.2.7.1 สะบัด 2 เสียง
4.2.7.2 สะบัด 3 เสียง
4.2.7.3 สะบัดข้าม เสียงทั้งขาขึ้นและขาลง
4.2.8 ตีกระพือ คือการตีเน้นคู่แปดให้เสียงดังเจิดจ้ากว่าปกติอย่างเป็น ระเบียบ และ/หรือ เร่งจังหวะด้วยจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
4.2.9 ตีกลอน คือการบรรเลงทำนองในลักษณะต่างๆอย่างมีความสัมพันธ์ และสัมผัสกลมกลืนกัน
4.2.10 ตีรัว คือการตีสลับมือ (ไม่พร้อมกัน) มือซ้ายลงก่อนมือขวา ตีรัวให้ ละเอียดมากๆเช่น
4.2.10.1 รัวลูกเดียว
4.2.10.2 รัวเป็นคู่ต่างๆ
4.2.10.2.1 ตีรัวขึ้นรัวลง คือการตีรัวเคลื่อนจากเสียงหนึ่งไป ยังอีกเสียงหนึ่ง
รัวขึ้น คือ รัวจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง
รัวลง คือ รัวจากเสียงสูงไปหาเสียงต่ำ
4.2.10.2.2 รัวคาบลูกคาบดอก รัวคาบลูกคาบดอกคือการตีรัวเป็น ทำนองเป็นวรรคตอนประโยค ต่อด้วยการตีเก็บทำนองเป็นวรรคตอนประโยคตามทำนองเพลง
มิใช่ตีเป็นทำนองเพลงที่ซ้ำกันกับการตีรัวทั้งนี้ยกเว้นกรณีที่ทำนองซ้ำกัน
4.2.10.3 รัวเป็นทำนอง (รัวพื้น) คือการดำเนินทำนองด้วย วิธีการรัวโดยตลอดทั้งท่อน
4.2.10.4 รัวกรอด คือการตีรัวโดยวิธีบังคับเสียงช่วงท้ายให้ สั้นลงโดยวิธีกดหัวไม้ตี
4.2.10.5 รัวกรุบ คือการตีรัวโดยการกดหัวไม้ตีบังคับให้ เสียงสั้นลงอย่างฉับพลันในช่วงเริ่มต้น
4.2.10.6 รัวดุ คือการตีรัวเน้นกล้ามเนื้อแขนและหัวไหล่ พร้อมทั้งเกร็งข้อมือและนิ้วชี้กดหัวไม้เพื่อให้เสียงดังหนักแน่น
4.2.10.7 รัวเสียงโต คือการตีรัวด้วยการบังคับกล้ามเนื้อ เหมือนการรัวดุแต่บังคับให้เสียงโปร่งกว่าโดยไม่กดหัวไม้และไม่กดนิ้วชี้เรียกว่า รัวเปิดหัวไม้
4.2.10.8 รัวฉีกอก คือการตีรัวแล้วแยกมือจากกันไปหาเสียง ต่างๆที่ต้องการคือการตีรัวดำเนินทำนองด้วยวิธีพิเศษในลักษณะการตีสลับมือสลับ เสียงเป็นทำนองต่าง ๆ
4.2.10.9 รัวไขว้มือ คือมือซ้ายตีอยู่เสียงหนึ่ง มือขวาจะไขว้ ข้ามมือซ้ายตีรัวเป็นคู่เสียงต่างๆตีไขว้เป็นคู่เสียงอยู่กับที่หรือตีไขว้เป็นคู่เสียงเลื่อนขึ้น หรือเลื่อนลงตามทำนองเพลง
4.2.10.10 รัวกระพือ คือการรัวแล้วเร่งเสียงให้ดังขึ้นกว่าปกติ
4.2.10.11 รัวปริบ คือการตีรัวแต่กดไม้ให้การสั่นสะเทือนมี น้อยที่สุดและห้ามเสียงโดยกดหัวไม้ที่เสียงสุดท้าย
4.2.11 ตีขยี้ คือการตีเสียงให้มีความถี่มากกว่าการตีเก็บเป็น 2 เท่า
4.2.12 ตีตวาด คือการเน้นเสียงมือขวาให้หนักในเสียงแรก ๆ
4.2.13 ตีกวาด คือการใช้ไม้ระนาดกวาดไปโดยเร็วหรือช้าบน ผืนระนาดในลักษณะต่าง ๆ
4.2.14 ตีเก็บคู่ 16 คือการตีที่มือซ้ายมือขวาแยกทางกัน
4.2.15 ตีถ่างมือ (ตีเก็บผสมแยก) คือวิธีตีเก็บคู่แปดผสมแยกคู่เสียง
4.2.16 ตีปริบ ตีเช่นเดียวกับตีกรอแต่กดไม้ให้การสั่นสะเทือนมีน้อย ที่สุดและห้ามเสียงโดยการกดหัวไม้ที่เสียงสุดท้าย
4.2.17 ตีสะบัดร่อน คือการตีคู่แปดสามครั้งห่างเท่ากันโดยเร็วให้เสียง เคลื่อนที่เป็นคู่เสียงต่างๆด้วยวิธีเปิดหัวไม้เพียงให้สัมผัสกับผิวลูกระนาดแต่ละลูกโดย เร็วอาจจะชุดเดียวหรือติดต่อกันหลายๆ ชุดก็ได้ หมายเหตุ ยังมีคำเรียกชื่อวิธีการตีระนาดเอกแบบอื่นๆอีกหลายวิธีซึ่งกำลังทำความ กระจ่างเพื่อนำมาบรรจุเข้าเกณฑ์ ดังเช่นตีเสียง กลม โปรย กริบ โรย กรุบ ร่อนริดไม้ โตผิวน้ำ กาไหล่ ร่อนน้ำลึก โตน้ำลึก โต โปร่ง ร่อนใบไม้ไหว ร่อนผิวน้ำ
5. ความแม่นยำในการบรรเลงทำนองหลัก
หมายถึงความถูกต้องตามทำนองหลักของฆ้องวงใหญ่ คือทำนองเนื้อแท้ของผู้ ประพันธ์ที่ยังไม่ได้มีการแปลทำนอง
6. ความแม่นยำตามลักษณะการบรรเลงระนาด พร้อมด้วยแนวการดำเนินทำนอง และจังหวะ
6.1 ความแม่นยำตามลักษณะการบรรเลงระนาดเอก
เป็นการประเมินความสามารถในการบรรเลงทางเพลงสำหรับระนาดเอกตาม ที่ได้ฝึกฝนมาจากครูดนตรี ทางเพลง เหล่านี้ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาจากทางเพลง ทำนองหลัก ของฆ้องวงใหญ่ให้เหมาะสมกับลักษณะและบทบาทของระนาดเอกซึ่งผสมผสานกับ
กลวิธีการบรรเลงต่างๆให้เหมาะสมกับการบรรเลงเพลงตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาและ วิชาดนตรีไทยในแต่ละขั้นอันอาจเป็นทางเพลงที่ครูผู้ใหญ่ทางดนตรีไทยได้ประดิษฐ์ ขึ้นจนเป็นที่นิยมถ่ายทอดสืบกันมาหรือเป็นทางที่ครูดนตรีไทยทั่วไปได้ประดิษฐ์ขึ้น
เพื่อให้ลูกศิษย์ฝึกปฏิบัติก็ได้ สำหรับเกณฑ์ในขั้นที่ 1 ถึง 3 เน้นการดำเนินทำนองทำ ด้วยการตีคู่แปดเป็นส่วนใหญ่
6.2 แนวการดำเนินทำนองเพลง
หมายถึงบรรเลงได้ถูกต้องตามความช้าเร็วของทำนองเพลง
6.3 จังหวะ
หมายถึงบรรเลงได้ถูกต้องตาม จังหวะสามัญ และ จังหวะฉิ่ง
7. คุณภาพเสียงและรสมือ
7.1 คุณภาพเสียง
7.1.1 การตีให้เสียงหนักแน่นชัดเจนดังสม่ำเสมอ
7.1.2 ถ้าเป็นลูกที่ตีพร้อมกันสองมือต้องเป็นเสียงที่ดังและหนักแน่น พอกัน
7.1.3 นอกจากนี้คุณภาพของเสียงอาจเกิดจากการใช้น้ำหนักของมือ ทั้งสองข้างที่มีน้ำหนักต่างกันได้อีกลักษณะหนึ่งตามกลวิธีการตี
7.2 รสมือ หมายถึงความสามารถในการปฏิบัติต่อระนาดเอกเพื่อบังคับให้เกิด เสียงที่ฟังแล้วมีความไพเราะอันเกิดจากการได้ฝึกปฏิบัติมาโดยถูกต้องตามลำดับรวมทั้ง การดำเนินทำนองที่เหมาะสมกับการบรรเลงระนาดเอก
8. การ แปลทำนอง ของระนาดเอก
หมายถึงความสามารถในการดำเนินทำนองด้วยสำนวนกลอนที่มีลักษณะเฉพาะ โดยยึดเนื้อทำนองหลักของแต่ละเพลงเป็นแนวให้เกิดท่วงทำนองด้วยลักษณะตีเก็บเป็น หลักซึ่งเป็นทางของระนาดเอกโดยเฉพาะ การแปลทำนองนี้อาจจะทำให้เกิดทางระนาด เอกขึ้นได้หลายทาง (ยกเว้น เพลงบังคับทาง) การประเมินการแปลทำนองแบ่งออกเป็น
8.1 สำหรับทางบรรเลงทั่วไป ในขั้นที่ 5 และ 6
8.2 สำหรับเพลงเดี่ยวระนาดเอก (ตามลักษณะแบบแผนของ ทางเดี่ยว) ในขั้น 7, 8, 9, 10 และ 11
9. ขีดความสามารถและสุนทรียะ
หมายถึงความสามารถของผู้บรรเลงซึ่งมีความแม่นยำในทุกๆด้านเช่น แม่นมือ แม่นเสียง แม่นจังหวะ แม่นทาง สามารถดำเนินทำนองพร้อมด้วยกลวิธีต่างๆของ ระนาดเอกโดยเฉพาะให้มีความหนักเบา ช้าเร็ว เข้ากับจังหวะได้อย่างถูกต้อง สามารถ สอดใส่อารมณ์ให้เหมาะสมกับบทเพลงตามหลักวิชาจนเกิดเป็นความไพเราะและความ พึงพอใจทั้งผู้ฟังและผู้บรรเลง
10. การดูแลรักษาระนาดเอกภายหลังการบรรเลง
10.1 ปลดผืนระนาดเอกลงจากตะขอด้านในซ้ายมือของผู้บรรเลง
10.2 ใช้ผ้าสะอาดเช็ดบนผืนระนาด
10.3 ใช้ผ้าทำความสะอาดไม้ตีระนาดแล้วนำเก็บเข้าภาชนะที่เตรียมไว้
หมายเหตุ กรณีการดูแลหลังจากเลิกการบรรเลงแล้ว
1. ปลดเชือกออกจากขอแขวนผืนระนาดทั้งสี่ขอ
2. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดบนผืนระนาดให้ทั่ว
3. ใช้ผ้าที่มีความกว้าง-ยาวเท่ากับผืนระนาดปูบนผืนระนาดแล้วม้วนผืนระนาด จาก ลูกยอดลงมา มัดเชือกตรงช่วงกลางผืนที่ม้วนแล้วให้แน่น บรรจุใส่ถุงผ้า และผูก ปากถุงให้เรียบร้อย
4. ผืนระนาดที่ไม่ได้ใช้งานให้แขวนไว้อย่าให้ถูกแสงแดด
5. ใช้ผ้าทำความสะอาดรางให้เรียบร้อย
6. ใช้ผ้าสำหรับคลุมรางระนาดเอกคลุมให้เรียบร้อย แล้วนำเก็บเข้าที่
ศึกษาความรู้เพิ่มเติม
https://www.culture.go.th/knowledge/story/ranad/chap8/fc8s1p1.htm
https://www.oknation.net/blog/print.php?id=174092
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1959