ก่อนงานปั้นในรูปแบบต่าง ๆ จะออกมาให้เราได้พบเห็นอย่างสวยงามได้ชื่นชมและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้นั้น เราควรจะรู้ที่มาของวัสดุคือดินที่นำมาใช้ปั้นก่อน เช่นดินเหนียวด่านเกวียน
มหัศจรรย์ ...งานปั้นจิ๋ว
“อาร์ตแอนด์โมเดล”
ของจิ๋วเป็นส่วนหนึ่งและวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการเก็บเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมีมาตั้งแต่โบราณแล้ว?เช่น การทำพระพุทธรูป พระเครื่อง การปั้นตุ๊กตาดินเผา หรือแม้กระทั้งการปั้นวัวปั้นควายเพื่อให้ลูกหลานเล่นก็ถือว่าเป็นต้นกำเกิดของของจิ๋วของไทยในยุคแรกทั้งสิ้น ในปัจจุบันนี้ของจิ๋วไม่ได้เป็นของเล่นเด็กเล่นแต่อย่างเดียวเป็นทั้งของสะสมและของฝากของที่ระลึกที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกได้ผลิตขึ้น
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- ศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552 10:45:08 น.
ดินเหนียว เป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งในการนำมาปั้นงานในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งงานปั้นในลักษณะของจิ๋วก็เช่นกันที่สามารถนำมาใช้ปั้นและตกแต่งให้เกิดความงดงามและสร้างสรรค์ได้ ดังนั้นเราลองมารู้จักกับตุณสมบัติและที่มาที่ไปของดินเหนียวบ้านด่านเกวียนดูกันบ้างนะ ว่าเป็นมาอย่างไรถึงกลายเป็น ดินด่านเกวียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ช่วงชั้นที่ 3
มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
ที่มาภาพ ผู้เขียน
ดินเหนียวเป็นวัสดุหลักที่สำคัญในการปั้น และควรมีคุณภาพที่ดีต่อการใช้งานการปั้น ดินด่านเกวียนเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง มีกระบวนการและขั้นตอนในการผสมดินเข้าด้วยกันทั้งนี้เพื่อให้เนื้อดินให้มีคุณสมบัติที่ดีต่อการใช้งานการปั้นดินด่านเกวียนมีลำดับขั้นตอนการเตรียมดินสำหรับปั้น เริ่มตั้งแต่ การเตรียมดิน การผสมดิน การหมักดิน และการนวดดิน จนสามารถนำมาใช้ปั้นงานได้ ซึ่งผู้ปั้นควรศึกษาเรียนรู้เรื่องดินด่านเกวียน และดินเหนียวที่ใช้ในการปั้นด้วย
ดินเหนียวด่านเกวียนเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตชิ้นงานการปั้น ซึ่งจะนำมาจากฟากแม่น้ำมูล ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับหมู่บ้านด่านเกวียนด้านทางทิศตะวันออก ระยะทางราว 2 - 3 กิโลเมตร เป็นที่ราบริมฝั่งมูลชาวบ้านจะเลือกขุดบริเวณที่มีดินเหมแก่การปั้นเป็นแห่ง ๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า กุด
ปัจจุบันใช้ดินทั่วไปในบริเวณฟากมูล เพราะกุดบางกุดที่ใช้มาแต่โบราณได้มีคนจับจองเป็นเจ้าของ จึงไม่สามารถที่จะนำดินมาใช้ได้อีก ดังนั้นจึงแบ่งดินที่นำมาใช้ในปัจจุบันเป็น 2 บริเวณด้วยกัน คือ บริเวณทุ่งด่านเกวียน และบริเวณดินทุ่งดินมูลหลง
ดินบริเวณทุ่งด่านเกวียน หมายถึงดินเหนียวในทุ่งนา บริเวณฟากมูลทั่ว ๆ ไป ดินพวกนี้จะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียด
ส่วนบริเวณดินทุ่งดินมูลหลงจะอยู่ติดกับลำน้ำมูล เนื้อดินบางแห่งจะเป็นทรายละเอียด ซึ่งชาวบ้าน เรียกว่า ดินขาว ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้ปั้นดินง่าย ผึ่งและเผาไม่แตกมาก นอกจากนั้นยังเพิ่มความแข็งให้กับเนื้อดินเผาด้วย
ลักษณะของดิน
คุณลุงเมี้ยน สิงห์ทะเล อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 128 หมู่ 7 ชุมชนบ้านด่านชัย ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา อาชีพ ช่างปั้น และการนวดดินด่านเกวียน ประสบการณ์มากว่า 25 ปี ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นคนหนึ่งในด่านเกวียนที่ท่านมีความชำนาญในเรื่องเกี่ยวกับดินด่านเกวียนมาเป็นเวลานาน ลุงเมี้ยนบอกว่าดินด่านเกวียนจะแตกต่างไปจากดินที่อื่นซึ่งดินด่านเกวียนจะมีลักษณะโดยเฉพาะ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี
ดินที่เหมาะแก่การปั้นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียด ไม่มีกรวด หิน รากไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ เจือมีสีแดง หรือน้ำตาลดำ ( แดง )ปน
1. ใช้ดินทั้งสองอย่างผสมกันในอัตราส่วนคือใช้ดินเหนียว 2 ส่วน และดินทราย 1 ส่วน
2. นำดินทรายทั้งหมดรองพื้นในบ่อหมักที่เตรียมไว้ แล้วใส่ดินเหนียวด้านบน หรืออาจจะทำเป็นบ่อหมักในถังปูนดังภาพก็ได้
3. นำดินทั้งสองชนิดคละเคล้ากันมาใส่ลงในบ่อหมัก รดน้ำในบ่อหมักให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน
ที่มาภาพ ผู้เขียน
4. หลังจากหมักดินทิ้งไว้ 1 – 2 วันแล้ว คลุกเคล้าดินที่หมักไว้ให้เข้ากัน
5. นำดินที่หมักและคลุกเข้ากันแล้ว มาใส่เครื่องโม่บด บดดินเพื่อให้ก้อนหินหรือกรวดละเอียด
ที่มาภาพ ผู้เขียน
6. จะได้ดินเหนียว พร้อมที่จะนำไปใช้ในงานปั้น และนำไปใช้ปั้นงานต่าง ๆ ได้
ที่มาภาพ ผู้เขียน
ดินด่านเกวียนสำหรับนำมาใช้ปั้นได้เลยก็มีจำหน่ายในราคาถูกมากเพียงก้อนละ 5 – 10 บาทและสามารถเก็บรักษาไว้ใช้งานได้นานมากเช่นกัน ( โดยการใส่ถุงพลาสติกหุ้มไว้ไม่ให้โดนลม )เราสามารถนำดินเหนียว หรือดินด่านเกวียนไปใช้ประโยชน์ในการปั้นงานอื่น ๆ ได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานปั้นที่มีขนาดเล็ก เช่น สร้อย กำไลข้อมือ ตุ้มหู หรือเครื่องประดับอื่น
พวงกุญแจดิน ที่คั่นหนังสือดิน หรืองานชิ้นใหญ่ ๆ เช่น แจกันขนาดใหญ่ กระถางบัว เป็นต้น และถ้ามีจินตนาการในการสร้างสรรค์งานอื่น ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ ของแต่ละคน ก็จะมีงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้อีกมากมายจากดินเหนียวเพียงก้อนเดียว
ในโอกาสต่อไป
ที่มาภาพ ผู้เขียน
ประเด็นคำถาม
1. อธิบายที่มาและความสำคัญของดินด่านเกวียน
2. อธิบายส่วนผสม และขั้นตอนการนวดดินด่านเกวียน
3. นำเสนอแนวทางการนำดินด่านเกวียนไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกับงานปั้นในรูปแบบอื่น ๆ
กิจกรรมเสนอแนะ
-
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
สาระการเรียนรู้สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
อ้างอิง แหล่งที่มาของข้อมูล
1. คุณลุงเมี้ยน สิงห์ทะเล อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 128 หมู่ 7 ชุมชนบ้านด่านชัย ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย
จังหวัดนครราชสีมา อาชีพ ช่างปั้น และการนวดดินด่านเกวียน ประสบการณ์มากว่า 25 ปี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้ให้สัมภาษณ์ นางวิภา ศรีม่วงกลาง ครูโรงเรียนบ้านท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
2. วิภา ศรีม่วงกลาง เอกสารประกอบการสอน การปั้นพวงกุญจากจากดินด่านเกวียน, 2547
3. www.ryt9.com
4. หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- ศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552 10:45:08 น.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2159