ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน


885 ผู้ชม


กลับมาบอกเล่าความเคลื่อนไหวในแวดวงศิลปวัฒนธรรมอีกครั้ง สัปดาห์นี้ยังคงมีความหลากหลายในกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมเหมือนเช่นเคย...ล้อเล่นเส้นสี นิทรรศการที่เตรียมจะมีขึ้นซึ่งการสร้างสรรค์แสดงผลงานร่วมกันครั้งนี้ของศิลปินหญิงได้รับแรงบันดาลใจจากสรรพสิ่ง   

ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน

 เส้น  (  Line ) 
        เส้นเป็นทันธาตุเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด   เป็นแกนของทัศนศิลป์ทุก ๆ แขนง เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล เส้นแสดงความรู้สึกได้ทั้งด้วยตัวของมันเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้นแม้แต่ในงานประติมากรรมซึ่งส่วนมาก
จะแสดงออกด้วยวัสดุและปริมาตร  ก็ยังต้องประกอบขึ้นด้วยมวลของรูปทรงกับเส้นรูปนอกที่สมบูรณ์  นอกจากนี้  การเริ่มต้นและการพัฒนาจินตนาการของทัศนศิลป์ไม่ว่าจะเป็นจิตรกร  ประติมากร  หรือสถาปนิก  จะต้องอาศัยเส้นเป็นปัจจัยสำคัญทั้งสิ้น   การใช้เส้นนั้นเราสามารถ  กระทำได้อย่างรวดเร็ว  ตรงใจ โดยสัญชาตญาณ  หรือใช้อย่างพินิจพิเคราะห์  ด้วยการใช้ปัญญา  เส้นแสดงแก่นแท้ของทุกสิ่งได้อย่างเข้มข้นและย่นย่อที่สุด  (ชะลูด  นิ่มเสมอ. 2542 : 29-30 )

        เส้นเป็นสื่อเบื้องต้นที่สุดในงานทัศนศิลป์  มีมิติคือความยาว  ไม่มีความกว้างหรือความหนา  เราจะพบเส้นได้โดยทั่วไปในธรรมชาติ  เช่น เส้นผม  เส้นขอบของวัตถุต่าง ๆ เส้นเกิดจากการเรียงตัวของจุดเล็ก ๆ  ต่อเนื่องกันและเคลื่อนที่ไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่งบนพื้นผิว  อย่างใดอย่างหนึ่ง

                         ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน                 
        ที่มาภาพ  ผู้เขียน

        เส้น  
คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง

 ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน
ที่มาภาพ  ผู้เขียน

     เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันอีกด้วย

ลักษณะของเส้น

                                                           ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน
                                                                                      ที่มาภาพ  ผู้เขียน


1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง 
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย 
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง 
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง 
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล 
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด 
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง 
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด

                                                          ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน
                                                                                ที่มาภาพ  ผู้เขียน

ความสำคัญของเส้น 

1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น 
4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น 
5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ

                                                                ล้อเล่นเส้นสี..ศิลปะฤดูร้อน
                                                                                              ที่มาภาพ  ผู้เขียน

ประเด็นคำถาม

1.  เส้นหมายถึงอะไร
2.  เส้นมีลักษณะใดบ้าง
3.  เส้นมีความสำคัญอย่างไร
4.  เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอย่างไร
5. เส้นตรงแนวตั้ง  ให้ความรู้สึกอย่างไร
6.  เส้นใดให้ความรู้สึก  น่ากลัว  อันตราย ขัดแย้ง และรุนแรง

 อ้างอิงข้อมูล
https://www.mew6.com/

https://paidoo.net/same/
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2487

อัพเดทล่าสุด