ยังคงจำกันได้กับภาพ “ค.ควายแข็งแรง” ของน้องใบตอง ด.ญ.ปพิชชารัตน์ ศรีสำอาง โรงเรียนวัดช่างเหล็ก ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ด้วยวัยเพียง 8 ปี จากแรงบันดาลใจ เพราะ...
ยุติความรุนแรง-แตกแยก!สีสันพู่กันจินตนาการเด็กไทย
ยังคงจำกันได้กับภาพ “ค.ควายแข็งแรง” ของน้องใบตอง ด.ญ.ปพิชชารัตน์ ศรีสำอาง โรงเรียนวัดช่างเหล็ก ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ด้วยวัยเพียง 8 ปี จากแรงบันดาลใจ เพราะได้ไปเห็นควายไถนาแถบบ้านป้าย่านบางนา เห็นความแข็งแรงที่ไถนา เชื่อฟังเจ้าของ ทำให้รู้ว่าควายไม่ได้โง่อย่างที่คิด มีความโดดเด่นจนภาพดังกล่าวคว้ารางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ในประเภทอายุไม่เกิน 8 ปี ในการประกวดโครงการศิลปกรรมเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552
ความรู้สึกจากก้นบึ้งหัวใจของด.ญ.ปพิชชารัตน์ศรีสำอาง หรือ น้องใบตอง รีสำอาง บอกว่า หนูใช้เวลาวาดภาพค.ควายแข็งแรง1 เดือนค่ะสิ่งที่ทำให้อยากวาดภาพควาย เพราะได้ไปเห็นควายไถนาแถบบ้านป้าย่านบางนา เห็นความแข็งแรงของควายที่ได้ปลูกข้าวให้เรากิน และเห็นวัฒนธรรมของควาย ที่เชื่อฟังเจ้าของหรือชาวนารู้เรื่อง สามารถเดินได้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้รู้ว่า ควายไม่ได้โง่อย่างที่คิด เธอพยายามจะพูดสื่อสารให้เราเข้าใจในสิ่งที่เธอสื่อสารออกมาจากความคิดผ่านออกมาทางปลายดินสอ สีสันและพู่กันน้อยๆจนเป็นภาพ "ค.ควายแข็งแรง"
"เป็นที่น่าสังเกตว่าในปีนี้เด็กๆ มีเทคนิคการวาดภาพที่เก่งขึ้นมาก และมีแนวคิดที่ค่อนข้างลึกซึ้ง สะท้อนปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ภาพชื่อ จ่าเพียร เป็นทหารแบกโลงศพ
ที่มาภาพ
ภาพยุติไฟใต้ มีพระสงฆ์นำสันติสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพของกลุ่ม นปช.นั่งประท้วง และภาพคนตายที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เด็กๆ บอกว่าอยากให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียวมีความรักสามัคคีกัน เหล่านี้นับเป็นจินตนาการที่เด็กๆ อยากสะท้อนให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้รับรู้” นายกมล กล่าว
ทั้งนี้ ภาพที่ได้รับรางวัลและภาพร่วมส่งเข้าประกวดรวม 250 รูป จะนำไปจัดนิทรรศการแสดงให้ประชาชนเข้าชม ณ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า ในช่วงเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทาง สบศ.ได้ประเมินว่าโครงการดังกล่าวได้สร้างระบบและมาตรฐานการประกวดศิลปกรรมศิลปกรรมเป็นการวางรากฐานที่ดีของการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปกรรม และสร้างแรงจูงใจให้เด็กซาบซึ้งและคุณค่าของศิลปะได้เป็นอย่างดี
ที่มาข้อมูล/ภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ คุณค่างาน
ทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
" เรื่อง การเขียนภาพตามประสบการณ์และจินตนาการ"
จากประเด็นเนื้อเรื่องดังกล่าว ...การเขียนภาพตามประสบการณ์และจินตนาการเป็นการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์อีกรูปแบบหนึ่ง เป็นพลังการถ่ายทอดชีวิตที่ผ่านการพบเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ทั้งที่เป็นปรสบการณ์ที่ได้สัมผัสโดยตรงและโดยอ้อม ตลอดจนในด้านความรู้สึกนึกคิดที่เป็นจินตภาพสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานทัศนศิลป์อย่างอิสระและหลากหลายรูปแบบ ความสามารถในการถ่ายทอดประสบการณ์ หรือจินตนาการทั้งมวลออกมาโยสื่อสารความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ นอกเหนือจากเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์แล้วย่อมต้องอาศัยทักษะ และกระบวนการสร้างงานประกอบกันไปด้วย ผลงานจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยดี
ความหมายของประสบการณ์
ประสบการณ์ หมายถึง ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา และประสบการณ์ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการรียนรู้ทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านศิลปะ ประสบการณ์รอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา เป็นข้อมูลสั่งสมที่ผลักดันให้เกิดความคิดและจินตนาการอย่างกว้างขวาง และประสบการณ์ก็เป็นข้อมูลที่สามารถแสดงออกมาได้โยผ่านทางผลงาน
ประสบการณ์ เป็นผลมาจากการที่ตัวเราผ่านภาวะการรับรู้ ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ สิ่งแวดล้อมเป็นมูลเหตุสำคัญ ที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านต่าง ๆ แก่มนุษย์ และเป็นบ่อเกิดของแรงบันดาลใจในการเขียนภาพ ซึ่งประสบการณ์ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะ มีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง
2. ประสบการณ์รอง
1. ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เราได้ปะทะหรือสัมผัสด้วยตนเอง ได้พบเอง กระทำเอง ได้ยินได้ฟังเอง เช่น เราได้ยืนอยู่ท่ามกลางต้นไม้นานาพันธุ์ ผืนหญ้าเขียวขจี มีภูเขาอยู่เบื้องหน้า ได้ยินเสียงนกร้อง
เหล่านี้ทำให้เราเกิดความรู้สึกประทับใจและหวงแหนธรรมชาติ และนับเป็นความรู้สึกตอบรับต่ออารมณ์
ในทางศิลปะเป็นที่ยอมรับกันว่าประสบการณ์ตรงช่วยในการสร้างผลงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
2. ประสบการณ์รอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประสบการทางอ้อม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดหรือรับรู้มาอีกทางหนึ่ง เช่น ครูเล่าเรื่องให้ฟัง ได้รู้จากการอ่านหนังสือ ฟังวิทยุ หรือเมื่อมีคนเล่าให้ฟัง สิ่งต่าง ๆ ที่เราได้ฟังจากคนอื่น โดยเราไม่ได้ปะทะกับสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ด้วยตนเอง จัดเป็นประสบการณ์รองหรือประสบการณ์ทางอ้อม
กล่าวถึงทางด้านศิลปะนั้น ประสบการณ์รองอาจจะไม่ได้ความรู้สึกสัมผัสโดยตรง การแสดงออกจึงอาจจะไม่ได้ความรู้สึกเท่ากับประสบการณ์ตรง แต่มีคุณค่าเพราะทำให้ผู้สร้างผลงานต้องใช้จินตนาการอย่างมากที่จะนำประสบการณ์รองมาใช้สร้างผลงาน
ที่มาข้อมูล สุชาติ เถาทองและคณะ ศิลปะ ทัศนศิลป์ ม. 2 ( 2552 : 31-32 )
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย
1. ประสบการณ์ตรง หมายถึงอะไร
2. ประสบการณ์รอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประสบการณ์ทางอ้อม หมายถึงอะไร
3. ในทางศิลปะ ประสบการทางใดที่ช่วยในการสร้างผลงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
กิจกรรมเสนอแนะ
-
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
วิชาศิลปะ สามารถบูรณาการได้ทุกกลุ่มสาระ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล / ภาพประกอบ
https://www.komchadluek.net/detail/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2513