ศิลปะหรืออนาจาร


595 ผู้ชม


ศิลปะหรืออนาจาร...เมื่อไม่นานมานี้... สเปน เซอร์ ทูนิก ช่างภาพชื่อดัง ลั่นชัตเตอร์ถ่ายรูปเปลือยหมู่หลายร้อยชีวิต เพื่อจัดแสดงโชว์งในงานฉลองครบรอบ 10 ปี พิพิธภัณฑ์ศิลปะ โลว์รีย์ อาร์ต แกลลอรี เมืองซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ...  
ศิลปะหรืออนาจาร
   มนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำเมื่อราว 30,000-10,000  ปีก่อน ค.ศ. นักประวัติศาสตร์แต่ละสำนักก็จะแบ่งมนุษย์ออกเป็นยุคๆ ตามสภาพภูมิศาสตร์และหิน   โดยเรียกชื่อตามวัสดุที่มนุษย์ในยุคนั้น นำมาทำเครื่องมือเครื่องใช้  มนุษย์
ในยุคเหล่านั้น ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม จะเปลือยกาย ต่อมาก็มีการเอาหนังสัตว์ที่ล่ามาได้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เอาใบไม้มานุ่งห่ม เพื่อปิดบังอวัยวะบางส่วนของร่างกาย  
ในยุคปัจจุบัน ก็อาจมีมนุษย์ที่เปลือยกายเช่นนี้ อยู่ในโลกอีกก็เป็นได้ที่เรายังไม่ค้นพบ แม้ในประเทศไทยเอง เมื่อไม่นานมานี้ยังมีมนุษย์ เผ่าตองเหลืองที่อยู่ทางภาคเหนือของไทยที่ มีความเป็นอยู่คล้ายๆกับมนุษย์ดึกดำบรรพ์
แต่ในปัจจุบันนี้มนุษย์เผ่าตองเหลือง มีการนำเสื้อผ้ามานุ่งห่ม และมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
  การดำรงอยู่ที่กล่าวมาในอดีตมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในปัจจุบัน หากมีใครหรือกลุ่มชนใด มีความเป็นอยู่แบบมนุษย์ดึกดำบรรพ์ก็คงถูกมองว่า เป็นเรื่องที่แปลกไม่ปรกติ หรืออาจถูกมองว่าเป็นอนาจารที่ดียว เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์มีความเจริญแล้ว
อย่างไรก็ตาม  การเปลือยกายก็ยังมีอยู่และเห็นอยู่  
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  ระดับชั้น ม.4-6
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ ๒  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๓.๑  เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
เมื่อไม่นานมานี้
   มิสเตอร์ สเปน เซอร์ ทูนิก ช่างภาพชื่อดัง ลั่นชัตเตอร์ถ่ายรูปเปลือยหมู่หลายร้อยชีวิต เพื่อจัดแสดงโชว์งในงานฉลองครบรอบ 10 ปี พิพิธภัณฑ์ศิลปะ โลว์รีย์ อาร์ต แกลลอรี  เมืองซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ...
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 2 พ.ค. ว่า ศิลปินช่างภาพชื่อดัง สเปนเซอร์ ทูนิก ลั่นชัตเตอร์ถ่ายภาพเปลือยเปล่าของบรรดาอาสาสมัครหลายร้อยชีวิต เพื่อนำไปจัดแสดงในงานฉลองครบรอบ 10 ปี พิพิธภัณฑ์ศิลปะ โลว์รีย์ อาร์ต แกลลอรี ในเมืองซัลฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
สำ หรับธีมของการถ่ายภาพนู้ดฝูงชนครั้งนี้ ตูนิกตั้งใจนำเสนอในรูปแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์ในทุกๆวัน โดยมีโลเคชั่น 8 แห่ง ในเมืองซัลฟอร์ดและแมนเชสเตอร์
ก่อนหน้านี้ตูนิก เเพิ่งแชะภาพสุดฮือฮา กับอาสาสมัครเปลือยกว่า 1,000 ชีวิต ที่ซิดนีย์ โอเปรา เฮาส์ ในประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนที่ผ่านมา
แล้วเราจะมองว่าการทำเช่นนี้เป็นศิลปะหรืออนาจาร
หลักการพิจารณาศิลปะกับอนาจาร
........ อาจารย์อารี สุทธิพันธ์ ผู้บุกเบิกงานศิลปศึกษาในเมืองไทย ได้เสนอหลักพิจารณาความแตกต่างของศิลปะกับอนาจารซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
........1) ให้ดูที่เจตนาของผู้ทำงานนั้น ๆ ว่ามีเจตนาอะไรแฝงอยู่หรือไม่ เช่น การใช้กิเลสพื้นฐานของสัญชาตญาณเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจแล้วแอบอ้างว่าเป็น "ศิลปะ" เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของตนเอง
........2) ให้ดูปฏิกริยาของผู้ชม ถ้าเป็นงานศิลปะผู้ชมจะสามารถดูได้อย่างเปิดเผย แต่งานอนาจารจะดูอย่างลับ ๆ ศิลปะจะส่งเสริมให้มนุษยชาติมีความเจริญงอกงามด้านนแวคิดและสติปัญญามากกว่า การกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ใฝ่ต่ำ
........3) งานศิลปะยิ่งนานไปยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ แต่อนาจารยิ่งนานยิ่งเสื่อมค่าลง ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่แสดงออกให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์อันแฝงด้วย จิตวิญญาณหรือความรู้สึกที่ต่างไปจากผลงานที่เป็นสัญชาตญาณของสัตว์เดรัจฉาน ทั่วไป
........4) ให้ดูที่ฝีมือหรือความสามารถในการถ่ายทอดของศิลปินว่าถ่ายทอดได้อารมณ์มาก น้อยเพียงใด ความละเอียดอ่อนที่ไวต่อการรับรู้ของศิลปินผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และ ความสามารถในการระบายหรือถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านี้แตกต่างกัน ทำหใคณค่าของศิลปะแตกต่างกันด้วย
........การพิจารณาเพียง 4 หลักนี้ก็สามารถตัดสินได้แล้วว่า ผลงานชิ้นใดที่เรียกว่าศิลปะหรืออนาจาร 
คำถาม
         -   ผลงานช่างภาพ มิสเตอร์ สเปน เซอร์ ทูนิก ช่างภาพ เป็นศิลปะหรืออนาจาร เพราะเหตุใด ให้อธิบาย  
         -   จงยกตัวอย่างผลงานที่เป็นศิลปะและที่เป็อนาจาร มา 2 ตัวอย่าง
         -  ปฏิทินรูปเปลือย เป็นศิลปะหรืออนาจาร เพราะเหตุใด
เชื่อมโยงกับกลุ่มสาระอื่น
          สาระการเรียนรู้ศิลปะ  - (ทัศนศิลป์) วิจารณ์ศิลปะ , วาดภาพคนเต็มตัว 
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย - เขียนเรียงความศิลปะและอนาจาร
          สาระการเรียนรู้สังคมฯ  - วิถีชีวิตความเป็นอยู่แต่ละวัฒนธรรม
          สาระวิทยาศาสตร์ - การเจริญเติบโต 
          สาระคณิตศาสตร์ -
          สาระภาษาต่างประเทศ - คำศัพท์ 
          สาระสุขศึกษาและพละศึกษา - เพศศึกษา 
          สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี - 
ข้อเสนอแนะ
         -  ค้นคว้าบทความ เกี่ยวกับศิลปะและอนาจาร
         -  เปรียบเทียบผลงานที่เป็นศิลปะและอนาจาร
อ้างอิงข้อมูล
 https://norsorpor.com/
 https://takkawin.blogspot.com/2007/08/blog-post_05.html
https://www.google.co.th
https://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=77
อ้างอิงรูปภาพ
https://norsorpor.com/
https://yuiyee555.exteen.com/20070622/my-life-in-korea-part-39
https://images.google.co.th/imglanding?
https://www.google.co.th
https://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=artleklek&board=1&id=44&c=1&order=numview 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2545

อัพเดทล่าสุด