การฝึกระนาดเอกขั้นพื้นฐาน


729 ผู้ชม


การเล่นระนาดเอกให้ไพเราะต้องมีลูกเล่นที่ทำให้คนฟังอยากฟังซ้ำ   
การฝึกระนาดเอกขั้นพื้นฐาน

การตีฉาก
          
มีวิธีตีระนาดเอกขั้นพื้นฐานที่สำคัญวิธีหนึ่งเรียกว่า "การตีเก็บ" เป็นวิธีตีซึ่งใช้อยู่เสมอในการบรรเลงระนาดเอก การตีเก็บคือการตีไม้ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบลูกระนาด 2ลูกพร้อมกันโดยตีลงบนลูกระนาด

ซึ่งมีเสียงตัวโน้ตเดียวกันแต่อยู่ห่างกันคน ละระดับเสียงเช่นเสียง ซอล (ต่ำ) กับเสียง ซอล (สูง) และเนื่องจากตำแหน่งของคู่เสียงดังกล่าวอยู่ห่างกันแปดลูกจึงเรียกวิธีตีแบบนี้ว่า "ตีคู่แปด"

          การที่จะตีเก็บคู่แปดให้ได้เสียงระนาดเอกที่ไพเราะน่าฟังนั้นมีพื้นฐานสำคัญมาจากการฝึกตีระนาดที่เรียกกันว่า "ตีฉาก"คือการกำหนดรู้การใช้กำลังกล้ามเนื้อแขนเพื่อให้ได้เสียงระนาดที่ดังเท่ากันทั้งสองมือ ผู้ที่เรียนระนาดเอกทุกคนจะต้องฝึกการตีฉากเพื่อปรับน้ำหนักมือทั้งสองข้างให้เสมอกันเสียงระนาดเอกจึงจะคมชัดเจน
          
ลักษณะการตีฉากคือ มือทั้งสองข้างจับไม้ระนาดเอกในลักษณะการจับแบบปากกา ระยะห่างจากหัวไม้ประมาณ นิ้ว โดยใช้นิ้วกลางนิ้วนาง และ นิ้วก้อย จับก้านไม้ระนาดให้แน่น แขนและไม้ตีอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน วางหัวไม้ระนาดเอกไว้ตรงกลางของลูกระนาด จากนั้นยกไม้ตีระนาดขึ้นช้าๆให้สูงจากผืนระนาดประมาณ ฟุต แล้วตีหรือทุบลงบนลูกระนาดอย่างรวดเร็วโดยการเกร็งกล้ามเนื้อแขนและข้อมือให้ไม้ตีและท่อนแขนอยู่ในแนวเดียวกันหัวไม้ตีจะต้องสัมผัสลูกระนาดเต็มหน้าไม้และตั้งฉากกับผิวหน้าของลูกระนาด การตีฉากแต่ละครั้ง น้ำหนักของทั้งสองมือที่ตีลงไปต้องเท่ากัน เพื่อให้เสียงที่เกิดจากการตีมีคุณภาพ เสียงต้องโปร่งใส เวลาตีต้องใช้กำลังประคองไม้ระนาดในการยกขึ้นให้สูงเท่ากันและใช้น้ำหนักมือในการตีโดยให้หัวไม้ระนาดทั้งสองสัมผัสกับผิวลูกระนาดพร้อมกันและรีบยกหัวไม้ระนาดขึ้นระดับสูงสุดทันทีโดยใช้ข้อ
ศอกเป็นจุดหมุน ซึ่งจะทำให้ข้อมือและแขนไม่มีการขยับหรืองอและยังคงเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน

การตีสงมือหรือการตีสิม 
          
คือการตีเก็บสองมือพร้อมกันโดยยกไม้ระนาดให้มีความสูง ใน 4ของการตีฉากให้เสียงลงเท่ากันแล้วรีบยกมือขึ้นโดยเร็วและต้องรู้จักการประคองน้ำหนักให้เหมาะสมการตีลักษณะนี้เหมาะกับการตีระนาดเอกมโหรีซึ่งเป็นการประดิษฐ์เสียงระนาดให้มีความคมชัดไพเราะ ผู้ที่จะทำเสียงนี้ได้ต้องผ่านการฝึกการตีฉากมาแล้ว

การตีครึ่งข้อครึ่งแขน 
          
คือการตีโดยใช้กล้ามเนื้อแขนสลับกับกล้ามเนื้อข้อมือโดยการผ่อนแขนและข้อมือให้มีการเกร็งน้อยลง (เกร็งไหล่ ผ่อนแขน) ทำให้เกิดเสียงที่นุ่มนวล และยังเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์เสียงระนาดเอกแบบต่างๆอีกมากมาย

การตีสับ 
          
คือการตีระนาดโดยการสลับมือตามแบบวิธีตีฆ้อง

การตีกรอ 
          
การตีกรอเป็นวิธีตีระนาดเพื่อให้ได้พยางค์เสียงยาว ตามปกติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเช่น ระนาดเอกนั้น มีพยางค์เสียงสั้นเพราะเสียงที่ตีเกิดจากการกระทบกันของไม้ระนาดและลูกระนาดเป็นครั้งๆไป เมื่อจะบรรเลงเพลงที่ต้องการพยางค์เสียงยาวจึงต้องใช้ วิธีตีกรอคือการตีลูก
ระนาด 
ลูกสลับมือกันเร็วๆ ด้วยน้ำหนักมือทั้งสองข้างที่เท่ากันโดยให้มือซ้าย (เสียงต่ำ) ลงก่อนมือขวา แต่ทั้งสองมือไม่ได้ตีอยู่ที่เดียวกัน มักจะตีเป็นคู่ 2, 3, 4, 5, 6, หรือ เป็นต้น 
          
วีธีฝึกควรเริ่มต้นจากการ กรอหยาบ ก่อน คือการตีมือซ้ายสลับมือขวาช้าๆ (ลงมือ ซ้ายก่อน) แล้วค่อยๆเร่งความเร็วขึ้นนจนสุดกำลังโดยรักษาความชัดเจนและน้ำหนักมือให้เท่ากัน ส่วนในการบรรเลงจริงจะใช้การกรอที่ละเอียดที่สุดทันทีไม่ต้องเริ่มจากการกรอหยาบก่อน

การตีเก็บ 
          
คือการตีระนาดที่เพิ่มเสียงสอดแทรกให้มีทำนองถี่ขึ้นมากกว่าเนื้อเพลงธรรมดา ซึ่งถ้าเขียนเป็นโน้ตสากลตัวเขบ็ต ชั้นในจังหวะ 2/4 ก็จะเป็นจังหวะละ ตัว ห้องละ ตัว 
          
การบรรเลงทางเก็บในเพลงที่เป็น ทางเดี่ยวจะมีความพลิกแพลงโลดโผนกว่าการตีเก็บแบบธรรมดาแต่ก็เรียกว่า "ทางเก็บ" เช่นเดียวกัน| หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทางพัน"

การตีทดมือ,ทดเสียง 
          
คือการบรรเลงแบบเสี้ยวมือ เมื่อต้องการให้ได้เสียงสูงขึ้น

การตีเสี้ยวมือ
          
คือการตีระนาดโดยใช้มือหนึ่งตียืนอยู่กับที่ ในขณะที่อีกมือหนึ่งตีดำเนินทำนองไปตามลูกระนาดอื่นๆ ทำให้เกิดเสียงประสานที่ไพเราะน่าฟัง


การตีสะเดาะ 

          
คือการตีสะบัดยืนเสียงคู่แปด พยางค์ห่างเท่าๆกันด้วยความเร็ว โดยยืนเพียงเสียงเดียว มีพื้นฐานมาจากการตีฉากแล้วเพิ่มความถี่ให้ละเอียดขึ้น ในการบรรเลงจริงใช้การตีในความถี่สูงสุดเท่าที่จะทำได้

การตีสะบัด 
คือการตีคู่แปด พยางค์ห่างเท่ากันด้วยความเร็ว โดยให้เสียงเคลื่อนที่เป็นคู่เสียงต่างๆ เช่น สะบัด ลูกระนาด สะบัด ลูกระนาด สะบัดข้ามลูกระนาด มีวิธีการฝึกคล้ายการตีสะเดาะ การสะบัดสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆดังนี้ 
           1. 
สะบัดที่ลูกระนาดลูกเดียวให้เป็น พยางค์ บางครั้งเรียกว่าการ สะเดาะ 
           2. 
สะบัดที่ลูกระนาดสองลูกให้เป็น พยางค์ (ลูกใดลูกหนึ่งจะตี พยางค์) 
           3. 
สะบัดที่ลูกระนาดสามลูกๆละพยางค์ 
การสะบัดยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นได้แก่ 
           1. 
สะบัดร่อนผิวน้ำ สะบัดโดยดึงมือขึ้นอย่างรวดเร็ว ใช้กล้ามเนื้อครึ่งข้อครึ่งแขน 
           2. 
สะบัดร่อนน้ำลึก เสียงจะลึกและแน่นกว่า การสะบัดร่อนผิวน้ำ 
           3. 
สะบัดร่อนริดไม้ สะบัดโดยดึงข้อมือขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการใช้กล้ามเนื้อทั้งแขน เสียงจะเบาร่อน 
           4. 
สะบัดตัดคอ สะบัดโดยการใช้การตีแบบเสียงโตน้ำลึก โอกาสใช้น้อย มักจะใช้ตอนขึ้นเพลงเพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม แสดงพลังอำนาจ

การตีกระพือ 
          
คือการตีเน้นคู่แปดให้เสียงดังเจิดจ้ากว่าปกติอย่างเป็นระเบียบ หรือเป็นการเร่งจังหวะขึ้น

การตีกลอน 
          
คือการบรรเลงทำนองในลักษณะต่างๆอย่างมีความสัมพันธ์และสัมผัสกันโดยแปลจากทำนองฆ้องซึ่งเป็นทำนองหลักของเพลง
ลักษณะและข้อสังเกตของกลอนระนาดเอก 
           1. 
กลอนระนาดต้องมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างวรรคแรกและวรรคหลัง จะต้องเป็นกลอนลักษณะเดียวกัน (วรรค มีความยาวเท่ากับ ห้องโน้ตไทย) 
           2. 
ในแต่ละกลอนสามารถแปรผันได้หลายรูปแบบ บางเพลงที่ทางฆ้องเอื้ออำนวย ก็จะสามารถแปลทางระนาดในลักษณะเดียวกันได้ตลอดทั้งเพลง เช่น การใช้กลอนไต่ลวด 
           3. 
ในบางกรณีที่ทางฆ้องไม่เอื้ออำนวย วรรคแรกและวรรคหลังอาจใช้กลอนที่ไม่เหมือนกันก็ได้ 
           4. 
ควรศึกษาว่ากลอนประเภทใดเหมาะกับเพลงประเภทใด รวมถึงแนวความช้า เร็ว ในการบรรเลง 

บูรณาการกับสาระ  -  ภาษาไทย  ความหมายของคำ

                         -  คณิตศาสตร์  จำนวน

                         -  วิทยาศาสตร์ การกำเนิดของเสียง

                         -  สังคม  ความเป็นอยู่

                         -  สุขศึกษาและพลศึกษา  การออกกำลังกาย

                         -  ศิลปะ  การวาดภาพระบายสี

ข้อคำถาม  1. การตีเก็บหมายความว่าอย่างไร

               2. การตีสะเดาะ  หมายถึงการตีอย่างไร

               3. การตีเสี้ยวมือคือการตีอย่างไร

ขอบคุณที่มา :

 https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/sornchai_p/ranad/sec04p04.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2786

อัพเดทล่าสุด