จากหลักสูตร>>>สู่โรงเรียน ตอนที่ 1


535 ผู้ชม


ปีการศึกษา 2553 เป็นปีที่ ทุกโรงเรียนนำหลักสูตรการศึกษาแกนกลางขั้นพื้นฐาน 2551 ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มีทั้งโรงเรียนที่จัดทำแบบเอาจริงเอาจัง ทั้งที่โรงเรียนที่ คัดลอกเอามาจากโรงเรียนต้นแบบแล้วนำมาปรับเป็นของตนเอง แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว   
การนำหลักสูตรกลุ่มสาระศิลปะไปใช้ในโรงเรียน (ตอนที่ 1) 
            ปีการศึกษา 2553 เป็นปีที่ ทุกโรงเรียนนำหลักสูตรการศึกษาแกนกลางขั้นพื้นฐาน 2551  ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มีทั้งโรงเรียนที่จัดทำแบบเอาจริงเอาจัง ทั้งที่โรงเรียนที่ คัดลอกเอามาจากโรงเรียนต้นแบบแล้วนำมาปรับเป็นของตนเอง  แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่าหลักสูตรจะได้มาโดยวิธีใด  แต่มันอยู่ที่ว่าโรงเรียนนำหลักสูตรใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน  กับโรงเรียน  กับชุมชนต่างหาก  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ก็เป็นกลุ่มสาระหนึ่งที่จำเป็นต้องมีวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการนี้  ผู้เขียนขอนำเสนอวิธีการหนึ่งที่คิดว่าน่าจะช่วยให้ครูผู้สอนและโรงเรียนนำหลักสูตรสู่ห้องเรียนของตนเองให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อคุณครูที่กำลังประสบปัญหาในการนำหลักสูตรไปใช้จริง
ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
    การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำเอาโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มแล้วไปปฏิบัติให้บังเกิดผลรวมถึงการบริหารวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด (สันต์  ธรรมบำรุง. 2525 : 149) 
     การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอนนั้น  จะมีลักษณะเอกสารหลักสูตร  ซึ่งประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้และกำหนดการจัดการเรียนรู้  เอกสารทั้งสองนี้จะขยายความและเนื้อหาของหลักสูตรเพื่อให้ชัดเจนตามลำดับ  เมื่อครู
ลงมือสอนจริงจะต้องเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางการสอนออกมาเป็นรายชั่วโมง  ดังนั้นความสำคัญ
ของแผนการจัดการเรียนรู้  กำหนดการจัดการเรียนรู้  จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในการนำหลักสูตรไปใช้  
รายละเอียดดังนี้

      แผนการจัดการเรียนรู้  คือ เอกสารที่ให้ราบละเอียดของครูที่จะสอน  เพื่อให้บรรลุผลตามมาตรฐานของหลักสูตรที่วางไว้ แผนการจัดการเรียนรู้มีหลายรูปแบบ แบบตาราง แบบพิสดาร  แบบเรียงลำดับหัวข้อ  ซึ่งแผนทุกประเภทต้องมีส่วนประกอบเดียวกันคือ  ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้  เวลาที่ใช้สอน  ความคิดรวบยอด  จุดประสงค์  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อการจัดการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  ซึ่งสามารถปรับ ขยาย เพิ่ม ลด  ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น โดยให้บุคลากร  ครู  ศึกษานิเทศก์  ในท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนำหลักสูตรไปใช้แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะในระดับประถมศึกษา  ต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้  รู้จักชม  รู้จักแสดงออกทางศิลปะ  รู้คุณค่าชื่นชมและรักษาศิลปวัฒนธรรมชองชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการทางศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์อย่างกว้างขวาง  เพื่อเสริมสร้างค่านิยม  เจตคติ  ปรับปรุงอารมณ์  สังคมและบุคลิกภาพของตนในทางที่ดีงาม
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบคำตอบและทำสำเร็จด้วยตนเอง
3. เน้นทักษะกระบวนการให้นำไปใช้ได้จริง
4. ส่งเสริมการใช้วัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่น
5. มีความสมบูรณ์ต่อการตอบสนองจุดมุ่งหมาย  หลักการ  เนื้อหาสาระของ  
6. หลักสูตรเป้าหมายของหลักสูตร
7. มีความสอดคล้องอย่างดีกับจุดประสงค์การเรียนรู้  กิจกรรมที่นำไปสู่
8. ประสงค์แต่ละข้อและการวัดการประเมินผลการเรียนรู้ทุกจุดประสงค์

ที่มา : อมรา  กล่ำเจริญ. วิธีสอนนาฏศิลป์  คณะวิชามนุษยศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. 2535.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3113

อัพเดทล่าสุด