เสนาะเสียง,,,สำเนียงคีตศิลป์ไทย


812 ผู้ชม


การร้องเพลงเป็นการปฎิบัติอะไรหลาย ๆ ทักษะในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะร้องเพลงไทยเดิม ที่ผู้ขับร้องต้องมีเสียงที่ไพเราะเหมาะสม สื่อสารอารมณ์เพลงได้ และสามารถขับร้องเพลงไทยเดิมให้ถูกต้องตามเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงไทยเดิมได้อีกด้วย   

  เสนาะเสียง,,,สำเนียงคีตศิลป์ไทย 

   
                                          เสนาะเสียง,,,สำเนียงคีตศิลป์ไทย
                                                                          ที่มารูปภาพ             

               สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ สำหรับในปีนี้นอกจากจะทรงดนตรีไทย ทั้งระนาดเอกและซอด้วง ร่วมกับวงสายใยจามจุรี และวงพี่เก่าจุฬาฯ แล้ว ยังทรง ขับร้องเพลงไทยเดิม “ลาวดวงเดือน” ทั้งในเนื้อหาที่คนไทยคุ้นเคยและเนื้อหาที่หาฟังได้ยากยิ่ง ซึ่งเริ่มว่า “โอ้ละหนอ ดวงตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ โอ้เป็นกรรมหนอต้องจำจากไกล อกพี่อาลัยรักเจ้าดวงเดือนเอย…” ด้วยพระสุรเสียงที่กังวานหวานไพเราะยิ่ง โดยเฉพาะในท่อนที่ทรงขับร้องว่า “หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ เอ๊ะมันหอมกลิ่นคล้ายๆ เจ้าสูเรียมเอย...”เป็นที่ปลื้มปิติอย่างที่สุดแก่ทุกชีวิตในหอประชุมจุฬาฯ โดยทรงได้รับเสียงปรบมืออย่างกึกก้องและยาวนานไปทั่วหอประชุม (ที่มาข่าว)

              การร้องเพลงถือว่าเป็นศาสตร์และศิลปะอีกแขนงหนึ่ง ที่ถูกถ่ายทอดผลงานออกมาทางเสียง โดยเราสามารถสัมผัสรับความงามของศิลปะนี้ทางโสตสัมผัส  เราจะรับรู้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกได้มากน้อยเพียงใด ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ศักยภาพของผู้ขับร้องว่าเป็นผู้ที่มีเสียงที่ไพเราะ  หรือมีความสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ออกมาได้แค่ไหน  ในการขับร้องเพลงไทยเดิมก็เช่นเดียวกันผู้ขับร้องนอกจากจะมีเสียงที่ไพเราะเหมาะสม สื่อสารอารมณ์เพลงได้แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่สามารถขับร้องเพลงไทยเดิมให้ถูกต้องตามเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงไทยเดิมได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งจำเป็นคือต้องได้รับการฝึกฝนทักษะพื้นฐานของการขับร้องอย่างถูกต้องเหมาะสม
 
 
สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระที่ ๒  ดนตรี )
         มาตรฐาน ศ ๒.๑        เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒          เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง 
              ศ ๒.๑ ป.๑/๓-๔, ป.๒/๓-๔, ป.๓/๔, ป.๔/๕, ป.๕/๕-๖, ป.๖/๔

เสนาะเสียง,,,สำเนียงคีตศิลป์ไทย

                                                                       ที่มาภาพ 

สาระสำคัญ
           การร้องเพลงเป็นการปฎิบัติอะไรหลาย ๆ ทักษะในเวลาเดียวกันต้องใช้สมาธิและสมองสั่งการคิดมากกว่าปกติ
การฝึกต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทุกอย่าง อย่างเคร่งครัด โดยเริ่มจากการฝึกการหายใจเป็นอันดับแรกตามลำดับต่อไป

การฝึกหัดขับร้องเพลงไทยเดิม

           ๑. ธรรมชาติของผู้ที่จะฝึกขับร้อง จะต้องมีทุนเสียงที่แจ่มใส มีกล่องเสียงต่ำถึงสูงตามธรรมชาติของชายหรือหญิงมีจังหวะดีโดยธรรมชาติ
          ๒. วิธีการเบื้องต้นในการฝึก จะต้องฝึกจากเพลงง่าย ๆ ศึกษาถึงวิธีการเอื้อน ซึ่งมีทั้งหุบปากและให้เสียงผ่านทางจมูกหรือเปิดปากให้เสียงออกมาจากลำคอโดยตรง มีกระแสเสียงที่ชัดเจนไม่อู้อี้
          ๓.ศึกษาวิธีการหายใจว่า ควรจะหาช่องหายใจตรงไหน เพราะเพลงไทยเต็มไปด้วยการเอื้อนเสียงที่มีจังหวะยาว จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องการหายใจให้ถูก
          ๔.ใช้อักขรวิธีให้ถูกต้อง อักขรวิบัติที่มีอยู่ในตัวผู้ขับร้อง ย่อมแสดงถึงความมักง่ายขาดความประณีตบรรจง และแสดงถึงภูมิการศึกษาของผู้ขับร้องเองด้วย

เสนาะเสียง,,,สำเนียงคีตศิลป์ไทย

ที่มาภาพ

              ๕.ความขยันหมั่นเพียร หมึกฝึกฝน ย่อมก่อให้เกิดความคล่องตัวขึ้น และทำให้เกิดความแม่นยำ
              ๖.ศึกษาบทร้อยกรองที่จะร้องว่าเป็นอย่างไร เช่น เป็นกลอน โคลง กาพย์ แต่ละบทจะมีความสละสลวยเพราะพริ้งในตัวของมันเองให้ความสนใจกับความหมายของถ้อยคำในบทร้อยนั้น ๆ โดยละเอียด และจัดแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง
              ๗.ใส่อารมณ์ให้เข้ากับบทร้องนั้น ๆ การใส่อารมณ์ตามบทร้อง ใช้เพียงเสียงที่ออกมาให้เข้ากับบทร้องนั้น ๆ ไม่ใช้กิริยาท่าทาง
               ๘.ทำความเข้าใจกับเครื่องประกอบจังหวะหน้าทับของเพลงต่าง ๆ 
               ๙.มีมารยาทและมีสมาธิในขณะปฏิบัติการขับร้อง


สื่อการเรียนรู้
                ๑.ฉิ่ง,กรับ, เครื่องประกอบจังหวะ
                ๒.บทเพลงไทยเดิม  บทกลอนต่าง ๆ 
                ๓.เครื่องบันทึกเสียง
                ๔.ใบความรู้ , ใบกิจกรรม


การวัดและประเมินผล
       วิธีการวัด
            - สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
            - การปฏิบัติการร้องเพลง

        เครื่องมือ
           - แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
           - แบบบันทึกและประเมินการปฏิบัติการร้องเพลง

เสนาะเสียง,,,สำเนียงคีตศิลป์ไทย


เชื่อมโยงในองค์ความรู้
        คณิตศาสตร์                             การนับจำนวน  คำนวนขนาด รูปทรง  รูปร่างเส้นเรขาคณิต            
        ภาษาไทย                               วรรณคดี ร้อยกรอง การเขียน  การอธิบาย ลักษณะวิธีการฝึกปฏิบัติการร้อง
                                                     เพลง  
        วิทยาศาสตร์                            การกำเนิดเสียง  ระบบอวัยวะภายในร่างกาย
       สังคมศึกษา                             วัฒนธรรมประเพณี  ธรรมเนียมในการแสดง การร้องเพลงต่างเชื้อชาติ
       สุขศึกษาและพลศึกษา               กิจกรรมเข้าจังหวะประกอบการร้องเพลง  การดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย
       การงานอาชีพฯ                         การพัฒนาสู่การเป็นนักร้องมืออาชีพ  ICT 
       ภาษาต่างประเทศ                     การขับร้องเพลงนานาชาติ  เรียนรู้คำศัพท์ ประโยคสนทนา จากบทเพลง
       ศิลปะ                                    (ทัศนศิลป์) การสร้างงานศิลปะจากบทเพลง   (นาฏศิลป์)การออกแบบท่าทาง  
                                                   ประกอบบทเพลง
       บูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้    สามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนกิจกรรมกระตุ้นเร้าความสนใจ
                                                   การเรียนรู้ของผู้เรียนสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระ

 เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้
        -  ให้นักเรียนได้มีโอกาสรับฟังการร้องเพลงในรูปแบบต่าง ๆ
        -  เชิญผู้ที่มีความรู้ เชี่ยวชาญในการร้องเพลง
        -  กิจกรรมประกวดการร้องเพลงทั้ง เพลงไทยเดิม เพลงไทยลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงสากล
       
ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  การร้องเพลงไทยเดิมมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการขับร้องประเภทอื่นอย่างไร
         -  ในการขับร้องเพลง อักขรวิธีมีความสำคัญอย่างไร
         -  วิธีการฝึกปฏิบัติการร้องเพลงมีลำดับขั้นตอนอย่างไร
         - การจะเป็นนักร้องที่ดีมีคุณภาพควรมีการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพราะเหตุใด

 

อ้างอิงที่มาข้อมูล
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,  แนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ
                    การเรียนรู้ ศิลปะ  ระดับประถมศึกษา,
 ๒๕๕๒. 
พงศ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง, แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระศิลปะ(ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖, ๒๕๕๑

อ้างอิงที่มาข่าวนำสู่การเรียนรู้ 
 www.naewna.com

อ้างอิงที่มารูปภาพ
www.thairath.co.th
www.freewebs.com
www.oknation.net/blog

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3278

อัพเดทล่าสุด