เทคนิคการบรรเลงฆ้องวงเล็ก และแบบฝึกหัดสำหรับการบรรเลงฆ้องวงเล็ก


3,011 ผู้ชม


กรุงเทพฯ--18 พ.ย.--โรงเรียนสาธิตพัฒนา คณะครูและนักเรียน โรงเรียนสาธิตพัฒนา ได้ร่วมบันทึกเทปรำถวายพระพรประกอบการบรรเลงดนตรีไทยเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ที่มาข่าว   
ฆ้องวงเล็ก
 

เทคนิคการบรรเลงฆ้องวงเล็ก และแบบฝึกหัดสำหรับการบรรเลงฆ้องวงเล็ก

 ๑.    การตีไล่เสียงขึ้น - ลง โดยใช้มือซ้ายตีที่ลูกทั่ง (ลูกทวน) หรือลูกที่มีเสียงต่ำสุดซึ่งอยู่ทางซ้ายมือของผู้บรรเลง และตีเรียงเสียงขึ้นไปจนได้คู่แปดกับลูกทั่งคือครึ่งวงของลูกฆ้อง แล้วเปลี่ยนมาใช้มือขวาไล่ต่อไปจนถึงลูกยอดหรือลูกที่มีเสียงสูงสุดซึ่งอยู่ ทางขวามือของผู้บรรเลง และในทำนองกลับกันใช้มือขวาตีที่ลูกยอดไล่เรียงเสียงลงมาให้ได้คู่แปดกับลูก ยอด แล้วเปลี่ยนไปใช้มือซ้ายไล่เรียงเสียงลงมาจนถึงลูกทั่ง          เช่น

 - - - -

 - - - -

ม ฟ ซ ล

 ท ดํ รํ มํ

ม ฟ ซ ล

 ท ดํ รํ มํ

 - - - -

 - - - -

รฺ มฺ ฟฺ ซฺ

ลฺ ทฺ ด ร

 - - - -

 - - - -

 - - - -

 - - - -

รฺ มฺ ฟฺ ซฺ

ลฺ ทฺ ด ร

 ๒.            การตีไล่เสียงสลับมือ โดยการตีสลับมือซ้ายขวาจากเสียงต่ำสุดไปหาเสียงสูงสุด

โดยใช้มือซ้ายตีลงก่อนแล้วตามด้วยมือขวา เมื่อมือขวาตีถึงลูกยอด ให้ตีถอยลงมาโดยเริ่มด้วยมือซ้ายตีลงที่ลูกยอดก่อน ตามด้วยมือขวาตีสลับลงมาจนถึงเสียงต่ำสุด          เช่น

 - - ฟฺ ซฺ

 - - ด ร

 - - ซ ล

 - - รํ มํ

 มํ รํ - -

ล ซ - -

ร ด - -

ซฺ ฟฺ - -

 รฺ มฺ - -

ลฺ ทฺ - -

ม ฟ - -

 ท ดํ - -

 - - ดํ ท

 - - ฟ ม

 - - ทฺ ลฺ

 - - มฺ รฺ

 ๓.  การตีสองมือพร้อมกันเป็นคู่ต่าง ๆ โดยลงน้ำหนักมือเท่ากัน ใช้มือซ้ายและมือขวาตีลงที่ลูกฆ้องพร้อมกันทั้งสองมือ โดยใช้นำหนักมือทั้งสองมือเท่ากันและมีเสียงประมาณกัน          เช่น

 - ร - ม

 - ฟ - ซ

 - ล - ท

 - ดํ - รํ

 - มํ - มํ

 - รํ - ดํ

 - ท - ล

 - ซ - ฟ

 รฺ - มฺ -

ฟฺ - ซฺ -

ลฺ - ทฺ -

ด - ร -

ม - ม -

 ร - ด -

 ทฺ - ลฺ -

ซฺ - ฟฺ -

 ๔.            การตีกรอคู่ต่าง ๆ โดยตีคู่เช่นคู่ ๒ , ๔ , ๘

เช่น     คู่ ๒

 - - - ร

 - - - ม

 - - - ฟ

 - - - ซ

 - - - ด

 - - - ร

 - - - ม

 - - - ฟ

          คู่ ๔

 - - - ร

 - - - ม

 - - - ฟ

 - - - ซ

 - - - ลฺ

 - - - ทฺ

 - - - ด

 - - - ร

         คู่ ๘

 - - - ซ

 - - - ล

 - - - ดํ

 - - - รํ

 - - - ซฺ

 - - - ลฺ

 - - -ด

 - - - ร

 ๕.            การตีผสมมือ และการตีแบ่งมือ

                     ๕.๑      การตีไล่เสียงขึ้น ๓ เสียง รูปแบบการแบ่งมือคือ ซ้าย ขวา ขวา เช่น

 - - มฺ ฟฺ

 - - ฟฺ ซฺ

 - - ซฺ ลฺ

 - - ลฺ ทฺ

 - รฺ - -

 - มฺ - -

 - ฟฺ - -

 - ซฺ - -

                    ๕.๒      การตีไล่เสียงลง ๓ เสียง รูปแบบการแบ่งมือคือ ขวา ขวา ซ้าย เช่น

 - มํ - - 

- รํ - -

 - ดํ - - 

- ท - -

 - - รํ ดํ

 - - ดํ ล

 - - ท ล

 - - ล ซ

                     ๕.๓      การตีไล่เสียงขึ้น ๔ เสียง รูปแบบการแบ่งมือคือ ซ้าย ซ้าย ขวา ขวา เช่น

 - - ฟฺ ซฺ

 - - ซฺ ลฺ

 - - ลฺ ทฺ

 - - ทฺ ด

 รฺ มฺ - -

 มฺ ฟฺ - -

 ฟฺ ซฺ - -

ซฺ ล - -

                        ๕.๔      การตีไล่เสียงลง ๔ เสียง รูปแบบการแบ่งมือคือ ขวา ขวา ซ้าย ซ้าย เช่น

มํ รํ - -

 รํ ดํ - - 

ดํ ท - -

ท ล - -

 - - ดํ ล

 - - ท ล

 - - ล ซ

 - - ซ ฟ


ที่มา 

https://music_thai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=503058
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3330

อัพเดทล่าสุด