กลองแขกเป็นเครื่องกำกับจังหวะประเภทเครื่องหนัง มี 2 ตัว คือตัวผู้กับตัวเมีย
กลองแขก
: วิธีการตีและสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงกลองแขก
กลองแขกตัวผู้
" ติง " ตีหน้ารุ่ยโดยตีแล้วเปิดมือออกทันที ใช้สัญลักษณ์ " ต "
" หนัง " ตีหน้าต่านชิดขอบกลองด้านล่างโดยใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว ใช้สัญลักษณ์ " น "
" เหน่ง " ตีหน้าต่านชิดขอบกลองด้านบนโดยใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว ใช้สัญลักษณ์ " น "
" จ๊ะ " ตีหน้ารุ่ยโดยใช้นิ้วมือและครึ่งหนึ่งของฝ่ามือตีปิดมือ ใช้สัญลักษณ์ " จ "
" ป๊ะ " ตีหน้ารุ่ยโดยใช้นิ้วมือและ ? ของฝ่ามือตีปิดมือ ใช้สัญลักษณ์ " ป "
กลองแขกตัวเมีย
" ทั่ง " ตีหน้ารุ่ยโดยตีเปิดมือเต็มฝ่ามือ ใช้สัญลักษณ์ " ท "
" หนัง " เหมือนกลองแขกตัวผู้
" เหน่ง " เหมือนกลองแขกตัวผู้
" จ๊ะ " ตีหน้ารุ่ยเหมือนเสียง ทั่ง แต่ตีปิดมือ ใช้สัญลักษณ์ " จ "
" ถะ " ตีหน้ารุ่ยเปิดมือแล้วปิดมือประคบหน้ากลองทันที ใช้สัญลักษณ์ " ถ "
" ถาด " ตีทั้งสองหน้าพร้อมกันโดยตีหน้ารุ่ยเช่นเดียวกับการตีเสียงทั่งแต่ตีประคบมือ
หน้าต่านตีเหมือนหน้ารุ่ยและประคบมือเช่นเดียวกัน ใช้สัญลักษณ์ " ถาด "
" ป๊ะ " ตีหน้ารุ่ยโดยตีแล้วกดมือไว้กับหน้ากลอง ใช้สัญลักษณ์ " ป "
ที่มา https://music_thai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=503017
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3334