ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๓


572 ผู้ชม


การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่   
                    ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๓
               การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
     การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์
เป็น ๔ ประเด็น คือ  ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการตัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด
    เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้
สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ.๑.๑ สร้างสรรค์งานศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ที่ ๕ วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเอง
ผู้เรียนรู้อะไร
     ธรรมชาติให้ความรู้สึกเมื่อได้พบเห็น
ผู้เรียนทำอะไรได้
     วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเอง
ทักษะการคิด
     ๑. ทักษะการสังเกต
     ๒. ทักษะการนำความรู้ไปใช้
ชิ้นงาน / ภาระงาน
     วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามวามรู้สึกของตนเอง
แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด
     ๑. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ
     ๒. สังเกตรูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและประสบการณ์เดิม
     ๓. นำความรู้ที่ได้จากการสังเกตมาวาดภาพระบายสีภาพตามความรู้สึกของตนเอง
     ๔. นำเสนอภาพวาดพร้อมบรรยายความรู้สึก
 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
 ความคิดรวบยอด
     การสังเกต การรับรู้ ปรากฏการณ์ต่างๆในธรรมชาติมีผลต่อการวาดภาพธรรมชาติ
สาระการเรียนรู้
     วาดภาพระบายสีภาพตามความรู้สึกของตนเอง
แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
     ๑. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ
     ๒. สังเกตรูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและประสบการณ์เดิมของตนเอง
     ๓. นำความรู้ที่ได้จากการสังเกตมาวาดภาพระบายสีภาพตามความรู้สึกของตนเอง
     ๔. นำเสนอภาพวาดพร้อมบรรยายความรู้สึก

ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา



      แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานศิลป์                                                               เวลา  ๑  ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ.............          ...................................ผู้สอน
..................................................................................................................................................

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ.๑.๑ สร้างสรรค์งานศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก
 ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ที่ ๕ วาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเอง
ความคิดรวบยอด
     การสังเกต การรับรู้ ปรากฏการณ์ต่างๆในธรรมชาติมีผลต่อการวาดภาพธรรมชาติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
     นักเรียนสามารถวาดภาพระบายสีภาพธรรมชาติตามความรู้สึกของตนเองได้
สาระการเรียนรู้
     วาดภาพระบายสีภาพตามความรู้สึกของตนเอง
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)
     ๑. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ
     ๒. สังเกตรูปร่างลักษณะของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและประสบการณ์เดิมของตนเอง
     ๓. นำความรู้ที่ได้จากการสังเกตมาวาดภาพระบายสีภาพตามความรู้สึกของตนเอง
     ๔. นำเสนอภาพวาดพร้อมบรรยายความรู้สึก 
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
     ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
     ๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
     ๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
     ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
      ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สื่อการจัดการเรียนรู้
     ๑.วัสดุตามธรรมชาติในท้องถิ่น
     ๒. สิ่งแวดล้อมรอบอาคารเรียน (สื่อของจริง)
     ๓. ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี
การวัดและประเมินผล
     ๑. การสังเกต
        - การแสดงออกของนักเรียน
        - การร่วมกิจกรรม
     ๒. ตรวจผลงานนักเรียน

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3601

อัพเดทล่าสุด