การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๖
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด
เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้
สาระที่ ๒ ดนตรี
มาตรฐาน ศ.๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ที่ ๒ บอกลักษณะของเสียง ดัง – เบา และ ความช้า – เร็ว ของจังหวะ
ผู้เรียนรู้อะไร
ความดัง-เบา เป็นลักษณะหนึ่งของคุณสมบัติของเสียง ความช้า – เร็ว เป็นคุณสมบัติของจังหวะ
ผู้เรียนทำอะไรได้
บอกลักษณะของเสียง ดัง – เบา และ ความช้า – เร็ว ของจังหวะ
ทักษะการคิด
๑. ทักษะการฟัง
๒. ทักษะการสังเกต
๓. ทักษะการเปรียบเทียบ
ชิ้นงาน / ภาระงาน
๑. พูดหรือร้องเพลงด้วยเสียง ดัง – เบา
๒. เคาะจังหวะ ช้า- เร็ว
๓. เคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด
๑. ฟังเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
๒. สังเกตลักษณะของเสียงและจังหวะที่ฟัง
๓. บอกความเหมือน ความแตกต่างของเสียงและจังหวะ
๔. สรุปลักษณะของเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
๕. แสดงท่าทางประกอบของเสียงดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
ความคิดรวบยอด
เสียงมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันมีลักษณะเฉพาะตัวคือ เสียงดัง- เบา และมีจังหวะช้า – เร็ว
สาระการเรียนรู้
ระดับเสียง ดัง – เบา (Dynamic)
- อัตราความเร็วของจังหวะ Tempo
แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๑. ฟังเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
๒. สังเกตลักษณะของเสียงและจังหวะที่ฟัง
๓. บอกความเหมือน ความแตกต่างของเสียงและจังหวะ
๔. สรุปลักษณะของเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
๕. แสดงท่าทางประกอบของเสียงดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานดนตรี เวลา ..... ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ............. ...................................ผู้สอน
............................................................................................................................................................
สาระที่ ๒ ดนตรี
มาตรฐาน ศ.๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ที่ ๒ บอกลักษณะของเสียง ดัง – เบา และ ความช้า – เร็ว ของจังหวะ
ความคิดรวบยอด
เสียงมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันมีลักษณะเฉพาะตัวคือ เสียงดัง- เบา และมีจังหวะช้า – เร็ว
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนบอกลักษณะของเสียง ดัง – เบา และ ความช้า – เร็ว ของจังหวะได้
สาระการเรียนรู้
ระดับเสียง ดัง – เบา (Dynamic)
- อัตราความเร็วของจังหวะ Tempo
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)
๑. ฟังเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
๒. สังเกตลักษณะของเสียงและจังหวะที่ฟัง
๓. บอกความเหมือน ความแตกต่างของเสียงและจังหวะ
๔. สรุปลักษณะของเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
๕. แสดงท่าทางประกอบของเสียงดัง – เบา และจังหวะ ช้า- เร็ว
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สื่อการจัดการเรียนรู้
๑. เพลงที่มีเสียง ดัง – เบา และจังหวะ ช้า – เร็ว
๒. อุปกรณ์เคาะจังหวะ
การวัดและประเมินผล
๑. การสังเกต
- การแสดงออกของนักเรียน
- การร่วมกิจกรรม
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3604