การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๓
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการตัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด
เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้
สาระที่ ๓ นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ. ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ที่ ๓. บอกสิ่งที่ตนเองชอบจากการดูหรือร่วมการแสดง
ผู้เรียนรู้อะไร
มารยาทในการชมการแสดงที่เพื่อนหรือตนเองแสดงละความรู้สึกจากากรชมการแสดง
ผู้เรียนทำอะไรได้
บอกสิ่งที่ชองจากการแสดงและการร่วมแสดง รวมทั้งบอกมารยาทการเป็นผู้ชมและผู้แสดง
ทักษะการคิด
ทักษะการให้เหตุผล
ชิ้นงาน / ภาระงาน
๑. สำรวจตนเองเคยปฏิบัติ / ไม่เคยปฏิบัติ
๒. สำรวจพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการชมการแสดง
แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด
๑. รับรู้และรวบรวมข้อมูลผู้เรียน สำรวจตนเอง โดยขีดเครื่องหมายถูกตรงช่องพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติไม่เคยปฏิบัติ
๒. ค้นหาสาเหตุ การยอมรับของสังคมให้แยกพฤติกรรม ไม่ควรปฏิบัติออกให้เหลือเฉพาะข้อควรปฏิบัติ
๓. อธิบายให้เห็นความสอดคล้องของเหตุและผลในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ โดยครูพานักเรียนชมการแสดงหนังจาก วีดิทัศน์ ครูตกลงเฉพาะกับนักเรียน ๕ คนให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมขณะชมการแสดงแล้วให้เพื่อน ๆ ช่วยกันวิจารณ์อย่างมีเหตุผล
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด
ความคิดรวบยอด
การปฏิบัติตนเป็นผู้ชมที่ดีและมีสมาธิในการชม ทำให้รับรู้อรรถรสของการแสดงได้ดี
สาระการเรียนรู้
การเป็นผู้ชมที่ดี
แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๑. รับรู้และรวบรวมข้อมูลผู้เรียน สำรวจตนเอง โดยขีดเครื่องหมายถูกตรงช่องพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติไม่เคยปฏิบัติ
๒. ค้นหาสาเหตุ การยอมรับของสังคมให้แยกพฤติกรรม ไม่ควรปฏิบัติออกให้เหลือเฉพาะข้อควรปฏิบัติ
๓. อธิบายให้เห็นความสอดคล้องของเหตุและผลในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ โดยครูพานักเรียนชมการแสดงหนังจาก วีดิทัศน์ ครูตกลงเฉพาะกับนักเรียน ๕ คนให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมขณะชมการแสดงแล้วให้เพื่อน ๆ ช่วยกันวิจารณ์อย่างมีเหตุผล
ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา
แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ เวลา ..... ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ............. ...................................ผู้สอน
............................................................................................................................................................
สาระที่ ๓ นาฏศิลป์
มาตรฐาน ศ. ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ที่ ๓. บอกสิ่งที่ตนเองชอบจากการดูหรือร่วมการแสดง
ความคิดรวบยอด
การปฏิบัติตนเป็นผู้ชมที่ดีและมีสมาธิในการชม ทำให้รับรู้อรรถรสของการแสดงได้ดี
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนบอกสิ่งที่ชองจากการแสดงและการร่วมแสดง รวมทั้งบอกมารยาทการเป็นผู้ชมและผู้แสดงได้
สาระการเรียนรู้
การเป็นผู้ชมที่ดี
กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)
๑. รับรู้และรวบรวมข้อมูลผู้เรียน สำรวจตนเอง โดยขีดเครื่องหมายถูกตรงช่องพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติไม่เคยปฏิบัติ
๒. ค้นหาสาเหตุ การยอมรับของสังคมให้แยกพฤติกรรม ไม่ควรปฏิบัติออกให้เหลือเฉพาะข้อควรปฏิบัติ
๓. อธิบายให้เห็นความสอดคล้องของเหตุและผลในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ โดยครูพานักเรียนชมการแสดงหนังจาก วีดิทัศน์ ครูตกลงเฉพาะกับนักเรียน ๕ คนให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมขณะชมการแสดงแล้วให้เพื่อน ๆ ช่วยกันวิจารณ์อย่างมีเหตุผล
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สื่อการจัดการเรียนรู้
๑. บทบาทสมมติเป็นผู้ชม (นักเรียน ๕ คน ที่ครูเตรียมบทบาทให้)
๒. วีซีดีภาพยนตร์
การวัดและประเมินผล
๑. การสังเกต
- การแสดงออกของนักเรียน
- การร่วมกิจกรรม
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3611