ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๔


567 ผู้ชม


การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑   

ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑๔

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

          การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ  ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

          เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ. ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัด ที่ ๑. ระบุและเล่น การละเล่นของเด็กไทย

ผู้เรียนรู้อะไร

          การละเล่นของเด็กไทยที่มีกติกา และวิธีการเล่น

ผู้เรียนทำอะไรได้

          ๑. บอกชื่อและวิธีเล่นการละเล่นของเด็กไทย
          ๒. แสดงการละเล่นของเด็กไทย

ทักษะการคิด

          ทักษะการวิเคราะห์

ชิ้นงาน / ภาระงาน

          บอกชื่อการละเล่นและการแสดงการละเล่นของเด็กไทย
         

แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด

          ๑. ศึกษาข้อมูลการละเล่นของเด็กไทยหลาย ๆ ชุด
          ๒. ตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลการละเล่นของเด็กไทยก่อนให้ทดลองเล่น
          ๓. กำหนด วิเคราะห์ การแยกแยะ ข้อมูลร่วมกันโดยมีกติกาการเล่นแต่ละชุด
          ๔. หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบการละเล่น ๑ ชุด
 
         ๕. นำเสนอผลงาน บอกวิธีการเล่น กฎ กติกา ประโยชน์ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

 ความคิดรวบยอด

          การละเล่นของเด็กไทยมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ควรอนุรักษ์ไว้

สาระการเรียนรู้

          การละเล่นของเด็กไทย
          - วิธีการเล่น
          - กติกา

 แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          ๑. ศึกษาข้อมูลการละเล่นของเด็กไทยหลายๆ ชุด
          ๒. ตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลการละเล่นของเด็กไทยก่อนให้ทดลองเล่น
          ๓. กำหนดเกณฑ์การจำแนกแยกแยะ ข้อมูลร่วมกันวางกติกาในการเล่นแต่ละชุด
          ๔. หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบการละเล่นกลุ่มละ ๑ ชุด
          ๕. นำเสนอผลงาน บอกวิธีการเล่น กฎ กติกา ประโยชน์ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม

ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา

              แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง พื้นฐานด้านนาฏศิลป์                                                              เวลา  .....  ชั่วโมง

ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ.............          ...................................ผู้สอน
........................................................................................................................................................
....

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ. ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัด ที่ ๑. ระบุและเล่น การละเล่นของเด็กไทย

ความคิดรวบยอด

          การละเล่นของเด็กไทยมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ควรอนุรักษ์ไว้

จุดประสงค์การเรียนรู้

          ๑. นักเรียนบอกชื่อและวิธีเล่นการละเล่นของเด็กไทยได้
          ๒. แสดงการละเล่นของเด็กไทยได้อย่างสนุกสนาน

สาระการเรียนรู้

          การละเล่นของเด็กไทย
          - วิธีการเล่น
          - กติกา

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)

          ๑. ศึกษาข้อมูลการละเล่นของเด็กไทยหลายๆ ชุด
          ๒. ตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูลการละเล่นของเด็กไทยก่อนให้ทดลองเล่น
          ๓. กำหนดเกณฑ์การจำแนกแยกแยะ ข้อมูลร่วมกันวางกติกาในการเล่นแต่ละชุด
          ๔. หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ โดยแบ่งกลุ่มรับผิดชอบการละเล่นกลุ่มละ ๑ ชุด
          ๕. นำเสนอผลงาน บอกวิธีการเล่น กฎ กติกา ประโยชน์ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          ๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
          
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
          
๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สื่อการจัดการเรียนรู้

          ๑. การละเล่นของเด็กไทย เช่น ขี่ม้าก้านกล้วย 
          ๒. กติกาการละเล่นของเด็กไทย

  การวัดและประเมินผล

          ๑. การสังเกต
          
   - การแสดงออกของนักเรียน
             - การร่วมกิจกรรม

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3612

อัพเดทล่าสุด