ละครสร้างสรรค์ - สร้างสรรค์ละคร


5,081 ผู้ชม


ผู้จัด ดอกส้มสีทองหารือแก้บทละครดัง สั่งหั่นทิ้งฉากเลิฟซีนสยิว พร้อมขึ้นตัววิ่งเตือนเยาวชน หวั่นทำให้เกิดค่านิยมผิด ๆ ในสังคมไทย   

ละครสร้างสรรค์ - สร้างสรรค์ละคร
ที่มาภาพ : www.drama.kapook.com

ขณะนี้กระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาละครเรื่องนี้ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ดังนั้นก่อนทีละครฉายผู้บริหารช่อง 3และผู้จัดได้มีคำแนะนำ และขึ้นตัววิ่งคำเตือนชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจว่า ภาพที่จะปรากฏต่อไปนี้เป็นการแสดง ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (อ่านข่าวต่อ) เราลองมาศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของละครงและเทคนิคพื้นฐานต่าง ๆที่ผู้แสดงต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการเล่นให้สมบทบาท

เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

ความเป็นมาของละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์ (Creative Drama) คือละครที่ไม่มีรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงบนเวที เน้นไปที่ผลสำเร็จของละครมากกว่า 
องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์มีองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการแสดง ดังนี้
1.โครงเรื่อง หรือ เนื้อเรื่อง (plot) จะต้องมีการวางโครงเรื่อง หรือเลือกเอเรื่องที่ใช้ในการแสดง เป็นเนื้อเรื่องที่สนุกสนานหรือเศร้า สอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ
2. ตัวละคร (character) ตัวละครในการแสดงจะต้องมีการกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละครให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่อง และตัวละครอื่น ๆ ต้องเลือกบุคคลที่สามารถถ่ายทอด
อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครตัวนั้นได้สมจริง
3. สถานการณ์ (situation) คือ เหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้น ทำให้ตัวละครต้องพบเจอ ซึ่งเหตุการณ์จะต้องสัมพันธ์กัน มีคุณค่าในเนื้อเรื่อง เป็นสถานการณ์ที่จะช่วยฝึกให้ผู้แสดงมีจินตนาการสร้างสรรค์ในการแสดงได้
4. ความขัดแย้ง (conflict) คือ การสร้างปัญหาความขัดแย้งให้กัตัวละครแบ่งเป็นความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครเอง และความขัดแย้งภายนอกของตัวละครกับสิ่งรอบข้าง
กิจกรรมที่ใช้ในการแสดงละครสร้างสรรค์
        การนำสนอผลงานให้ออกมาน่าสนใจและประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องให้ความสำคัญต่อการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และไตรตรอง โดยใช้สติ สมาธิ และปัญญา เพื่อให้แนวทางในการดำเนินงานไม่เกิดความผิดพลาดต้องมีความเพียรพยายาม พัฒนาตนเองใรู้จักรับผิดชอบ เสียสละ และมีความพร้อมที่จะสร้างสรรค์งานละคร เมื่อเกิดความตั้งใจ ความขยันหมั่นเพียร อดทนต่อารปฏิบัติงานแล้ว ผู้แสดงละครต้องมีความรู้สึกศรัทธาต่อการสร้างสรรค์ผลงาน ซื่อสัตย์ต่อการปฏิบัติงานและซื่อสัตย์ต่อตนเอง
       การฝึกให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานทางการแสดงละครมีสมาธิได้นั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดสมาธิขึ้นและจินตนาการอารมณ์ ความรู้สึกให้เป็นไปตามบทละคร ซึ่งต้องใช้การทำสมาธิให้ตั้งมั่นกับสิ่งที่ไม่เคยได้รับรู้ สัมผัสและไม่เคยมีในประสบการณ์ชีวิตของตนเองมาก่อน เพื่อให้เกิดจินตนาการที่สอดคล้องไปกับบทละครสร้างสรรค์ขึ้นอย่างตั้งใจและมีประสิทธิภาพ จากนั้นก็สามารถถ่ายทอดเป็นผลงานที่น่าสนใจ หรือที่เรียกว่า สมบทบาท
กิจกรรมเพื่อใช้ฝึกเป็นพื้นฐานในการแสดง มีดังนี้
1. การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5
       การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส รวมทั้งการลิ้มรส ประสาทสัมผัสทั้ง 5 นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้แสดงจะต้องพัฒนาให้เกิดการรับรู้ตามสภาพต่าง ๆ เพื่อให้ไวต่อการสร้างสรรค์ผลงาน การพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 นี้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนพอสมควร
2. การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
       ในการแสดงละคร ไม่เพียงแต่อาศัยบทเจรจาเพื่อเป็นสื่อแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยใจคอ เรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของภาพต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงการแสดงที่มีชีวิตชีวาของผู้แสดง และทำให้การแสดงน่าติดตาม นอกจากนี้การเคลื่อนไหวยังช่วยสร้างบรรยากาศและช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้แสดงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
3. การใช้จังหวะ เสียง
       เสียงของผู้แสดงละครสื่อให้เห็นถึงความคิด อุปนิสัย จินตนาการ และอารมณ์ของผู้แสดงแต่ละบทบาท การใช้เสียงของนักแสดงจะมีลักษณะของความทุ้ม ความแหลม ความดัง ความเบา รวมทั้งคุณภาพของเสียงที่สอดคล้องกับจังหวะของการเคลื่อนไหวตามบทบาทและจังหวะของการพูด
4. การใช้บทบาทสมมุติและภาษา 
       การที่ผู้แสดงจะได้รับบทบาทเป็นตัวละครใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์บทละครและผู้กำกับการแสดงที่จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของผู้แสดงกับบทบาทที่จะได้รับในละครหรือเรื่องราวที่สร้างสรรค์ขึ้น จากนั้นผู้แสดงจะต้องพิจารณาถึงบทบาทและความคิดของตัวละครที่จะต้องสวมบทบาทว่า บุคลิกลักษณะความคิด อุปนิสัยใจคอของตัวละครนั้นมีส่วนคล้ายคลึงและส่วนใดแตกต่างจากตนเองบ้าง จากนั้นผู้แสดงละครจะต้องสำรวจให้เห็นถึงบุคลิก ลักษณะหน้าตา ท่าทาง
ตลอดจนการกระทำของตัวละครว่าได้กระทำสิ่งใดบ้างที่ทำให้เกิดเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆ ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบทละครนั้น ตัวละครมีความรู้สึกและอารมณ์เช่นใด ต่อเหตุการณ์นั้น ๆ จากนั้นต้องพิจารณาถึงยุคสมัยของเรื่องราวที่จะแสดงตามบทละครว่าอยู่ในยุคสมัยใด ตัวละครที่จะต้องรับบทบาทมีฐานะเป็นอย่างไร
       นอกจากนี้ผู้แสดงจะต้องสะท้อนภาพของตัวละครที่จะต้องสวมบทบาทว่า เมื่อตัวละครประสบกับสถานการณ์หนึ่งๆ นั้น ตัวละครจะมีการแก้ไขปัญหาละสถานการณ์เหล่านั้นอย่างไรบ้าง
       เมื่อพิจารณาอย่างกว้าง ๆ แล้วผู้แสดงจะต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบทบาทที่จะแสดงหากตัวละครที่จะต้องสวมบทบาทเป็นคนธรรมดา จะใช้ภาษาในการแสดงเป็นภาษาพูดหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ หากสวมบทบาทเป็นตำรวจที่จะต้องพูดคุยกับผู้บัญชาการต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ และหากต้องสวมบทบาทเป็นผู้ที่มีฐานันดรศักดิ์ ก็จำเป็นจะต้องใช้ภาษาที่เป็นราชาศัพท์
เทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในการแสดงละคร
 1. การสร้างความเชื่อ ผู้แสดงต้องสร้างความเชื่อมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงให้แก่ผู้ชม เมื่อผู้ชมได้ชมก็จะมีความรู้สึคล้อยตามและเกิดความเชื่อว่า ผู้แสดงได้รู้สึกหรือได้กระทำเหตุการณ์เหล่านั้นจริง ๆ เช่น การแสดงความเจ็บปวด ผู้แสดงละครต้องถ่ายทอดให้ผู้ชมรู้สึกได้ว่าผู้แสดงเจ็บปวดจริง ๆ โดยถ่ายทอดความเจ็บปวดผ่านการกระทำ สีหน้า และการเคลื่อนไหว
 2. การแสดงร่วมกับผู้อื่น ผู้แสดงละครจะต้องสร้างความเชื่อโดยปรับความคิดภายในจิตใจของตนเองให้รู้สึกว่าได้สวมบทบาทของตัวละครนั้น ๆ และเชื่อมโยงความคิดจินตนาการหรือมโนภาพต่าง ๆ ที่ได้จากการสร้างความเชื่อ ถ่ายทอดออกมาให้เป็นบุคลิกลักษณะ อุปนิสัยใจคอ ท่าทาง ความคิด การกระทำของตัวละคร ส่งผลให้ละครดำเนินเรื่องไปจนกระทั่งสิ้นสุดลง การแสดงละครร่วมกับผู้อื่นจะเป็นไปในลักษณะของการเชื่อมโยงบทบาทให้สัมพันธ์กันจนกระทั่งเกิดเป็นเรื่องราวขึ้นผู้แสดงละครจึงจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจและรับรู้บทบาทของตัวละครหรือบทบาทของผู้แสดงละครตัวอื่น ๆ เพื่อให้การแสดงละครร่วมกัน และถ่ายทอดละครออกมาตามแนวทางเดียวกัน

ประเด็นคำถาม
1. นักเรียนคิดว่าการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีประดยชน์ต่อการแสดงอย่างไร
2. การใช้บทบาทสมมุติและภาษามีความสำคัญต่อการแสดงอย่างไร
3. ถ้านักเรียนได้เป็นผู้แสดงนำ นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรในการแสดง

กิจกรรมเสนอแนะ
ถ้านักเรียนได้เป็นผู้จัดละคร นักเรียนจะนำเหตุการณ์ใดในปัจจุบันมาสร้างสรรค์ละคร เพราะอะไร

ที่มา : อรวรรณ  ชมวัฒนาและวีร์สุดา  บุนนาค. (2553) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน นาฏศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
ที่มาข่าว : https://www.thairath.co.th/content/ent/168905

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3687

อัพเดทล่าสุด